รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และในปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10)
แห่งราชวงศ์จักรี
ในอดีตการปกครองของรัฐไทยนั้นอยู่ในรูปแบบของ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือพระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาดในการจัดการทุกอย่างบนแผ่นดินนี้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากการปฏิวัติของคณะราษฏร มาเป็น
ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ดังนั้นหมายความว่า พระมหาษัตริย์ได้เปลี่ยนสถานะจากเหนือกฏหมาย มาอยู่ภายใต้กฏหมายเช่นเดียวกันกับประชาชน แต่ก็มีบทบาทบางอย่างที่แตกต่างไปจากประชาชนเช่นเดียวกัน ซึ่งก็แล้วแต่ที่รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจไว้
จากข้อความนี้ จะเห็นได้ว่า แม้อำนาจอธิปไตยจะเป็นของประชาชน แต่พระมหากษัตริย์ได้ทรงใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทย ผ่านทางอำนาจทั้งสามได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ ผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหาร ผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการ ผ่านทางศาล
พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งในฐานะประมุขของประเทศ
ที่อยู่เหนือการเมือง ไม่ใช่ผู้นำในการบริหารประเทศ ดังนั้นพระองค์จึงไม่ใช่ผู้ออกกฏหมาย ออกนโยบาย หรือพิพากษาคดีด้วยพระองค์เอง แต่เป็นการใช้อำนาจผ่าน 3 สถาบันหลักที่กล่าวมานั่นเอง
พระมหากษัตริย์มีอำนาจในการลงพระปรมาภิไธย
เห็นด้วยในบทบัญญัติกฏหมาย ที่ผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา ก่อนที่จะประกาศให้มีผลบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา หรือการลงความเห็นไม่เห็นด้วย เพื่อยับยั้งร่างพระราชบัญญัติ ประหนึ่งการออกกฏหมายเป็นการออกในนาม
ของพระมหาษัตริย์ รวมถึงการแต่งตั้งประธานรัฐสภาอีกด้วย
ผ่านการลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี รวมถึงการมีพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน พระราชกำหนด พระราชกฤษฏีกา
โดยมีนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี เป็นผู้กราบบังคมทูลฯ และรับสนองพระบรมราชโองการนั้น โดยถือว่า การบริหาร
บ้านเมืองเป็นการกระทำในนามของพระมหากษัตริย์
เป็นการใช้อำนาจผ่านผู้พิพากษา ดังนั้นการได้มาซึ่ง
ผู้พิพากษา จะมาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ (และสามารถสั่งพ้นจากตำแหน่งได้ด้วยเช่นกัน) เนื่องจาก
ผู้พิพากษาจะทำหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยคดีต่างๆ ให้เป็นไปอย่างยุติธรรรม ตามกฏหมายในปรมาภิไธยของ
พระมหากษัตริย์ เปรียบเสมือนผู้พิพากษาได้ใช้อำนาจแทนพระมหากษัตริย์นั่นเอง
นอกจากนี้แล้ว สถานะของพระมหากษัตริย์ ยังถูกกำกับไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญเช่นกัน อาทิ ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิด หรือกล่าวหาฟ้องร้องไม่ได้เช่นกัน พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย ดังนั้นพระองค์จึงมีพระราชอำนาจในการประกาศกฏอัยการศึก
หรือแม้แต่การประกาศสงคราม ทำสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก เมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก ในการทำนุบำรุงพระศาสนา และพระราชอำนาจอื่นๆ ตามพระราชอัธยาศัย พระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรี และคณะองคมนตรีอีกไม่เกิน 18 คน แต่งตั้ง
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ รวมถึงสมุหราชองครักษ์
แม้ว่าพระมหากษัตริย์ไทยจะอยู่ในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่พระราชอำนาจบางอย่างก็อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องอาศัยกฏหมาย เราอาจเรียกว่า พระราชอำนาจทางสังคม ซึ่งไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่เกิดจากความจงรักภักดีของประชาชน ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า
“พระบารมี” เช่น
นอกจากนี้ ยังมีสถานะของพระมหากษัตริย์ที่ไม่ได้กล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญที่นอกเหนือจากการเป็นประมุขของรัฐ อาทิ ทรงเป็นสัญลักษณ์ของชาติ ที่แสดงความเป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกันของประชาชน พระราชกรณียกิจของ
พระมหากษัตริย์ ล้วนเกี่ยวข้องกับตัวแทนที่สะท้อนความเป็นชาติร่วมกันของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นพระราชพิธีต่างๆ อาทิ แรกนาขวัญ เป็นต้น ทรงเป็นผู้แทนของรัฐในเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต้อนรับบรรดาประมุขของประเทศต่างๆ และคณะทูต รวมถึงการเป็นตัวแทนในการเจริญสัมพันธไมตรีผ่านการเสด็จเยือนประเทศต่างๆ เป็นต้น