กฎหมายเรื่องน่ารู้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว I (เกิด ตาย หมั้น-สมรส-หย่า)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว II (บุตรบุญธรรม เทคโนโลยีเจริญพันธุ์)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว III (มรดก)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา I (ข้อความคิดทั่วไป ความสามารถของบุคคล)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา II (เรื่องเงินทองกับกฎหมาย)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอาญา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอื่นที่สำคัญ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายระหว่างประเทศ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สิทธิมนุษยชน
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และหลักการของสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในเวทีโลกที่มีผลต่อประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

ระบอบการปกครอง

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ระบอบการปกครอง (ชุดที่ 1)

HARD

ระบอบการปกครอง (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

ประชาธิปไตยไม่ได้มีแค่การเลือกตั้ง

“การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” (government of the people, by the people, and for the people)

      นี่คือคำกล่าวอันเลืองลั่นของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา อับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ในการให้นิยามความหมายของประชาธิปไตย ซึ่งในปัจจุบันได้รับการยอมรับ และถูกนำไปใช้อ้างอิงอย่างกว้างขวาง

      การปกครองระบอบประชาธิปไตย (Democracy) เป็นหนึ่งในการปกครองที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศให้ใช้เป็นระบอบการปกครองหลักของโลกยุคปัจจุบัน โดยความจริงแล้วระบอบการปกครองที่รู้จักและยังใช้อยู่ขณะนี้แบ่งได้เป็น 2 แบบ นั่นก็คือ แบบประชาธิปไตย และคู่ตรงข้ามคือ แบบเผด็จการ ซึ่งวิธีแยกง่ายๆคือ มองไปที่อำนาจอธิปไตยว่าอยู่ที่ใคร หากอยู่ที่ตัวบุคคลเดียว หรือกลุ่มคน คือ เผด็จการ แต่หากอยู่ที่ประชาชน เรียกว่า ประชาธิปไตย

          ความหมายของประชาธิปไตยคือ “อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน” โดยที่ประชาชนจะใช้อำนาจนั้น ทำหน้าที่บริหารประเทศโดยตรง หรือที่เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) แต่ในปัจจุบันเราไม่สามารถให้ประชาชนทุกคนเข้ามาอยู่ในสภาได้ ดังนั้นจึงเกิดแนวคิด ประชาธิปไตยทางอ้อม (Indirect Democracy) ขึ้น โดยให้ประชาชนเลือกผู้แทนของตนไปใช้อำนาจในการบริหารประเทศต่อไป


หลักการสำคัญ

  1. การแบ่งแยกอำนาจ แบ่งออกเป็น 3 อำนาจ คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ เพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
  2. อำนาจอธิปไตยโดยปวงชน โดยที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง นอกเหนือจากการเลือกตั้ง อาทิ การลงประชามติ การแสดงความเห็นคัดค้านรัฐบาล เป็นต้น
  3. หลักสิทธิและเสรีภาพ ในการจะทำอะไรก็ได้ตามกฏหมาย และไม่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นเช่นกัน
  4. หลักความเสมอภาค เชื่อว่าทุกคนมีความเท่าเทียมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหมือนกัน
  5. หลักนิติธรรม คือการยึดถือกฏหมายที่ชอบธรรม เป็นสำคัญในการปกครองประเทศ

      ในการจำแนกรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย สามารถจำแนกผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยแบ่งออกมา ได้ 2 แบบ คือ

ประชาธิปไตยทางตรง โดยที่ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศในสภาได้ด้วยตัวเอง
ประชาธิปไตยทางอ้อม หรือระบบตัวแทน โดยประชาชนลงคะแนนจะเลือกตัวแทนของตนเข้าไปมีส่วนร่วมในสภา

      ในที่นี้จะขอกล่าวถึงประชาธิปไตยทางอ้อม ซึ่งเป็นระบบการเมืองในยุคปัจจุบัน สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก 3 แบบคือแบบรัฐสภา แบบประธานาธิบดี และแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี


แบบรัฐสภา (Parliamentary System)

      ต้นแบบคือ ประเทศอังกฤษ เป็นการปกครองที่มีรัฐสภาเป็นศูนย์กลางของอำนาจ ประชาชนจะต้องเลือกตั้งผู้แทนเข้าไปในรัฐสภาก่อน และรัฐสภาจึงทำการเลือกรัฐบาลต่อไป โดยในระบบรัฐสภานี้ ผู้นำรัฐบาลจะไม่ใช่ประมุขของรัฐ
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คือการเลือกตั้งของไทย โดยที่ประชาชนเลือกผู้แทน (ส.ส.) เลือกรัฐบาล (นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี) โดยที่ประมุขของรัฐ อาจเป็น พระมหากษัตริย์ หรือประธานาธิบดีก็ได้

   หลักการสำคัญ

  1. อำนาจสูงสุดเป็นของรัฐสภา
  2. ไม่มีการแบ่งแยกอำนาจบริหาร ออกจากฝ่ายนิติบัญญัติออกจากกัน รัฐบาลจะบริหารงานภายใต้การกำกับของรัฐสภา
  3. อำนาจตุลาการ เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร แต่ก็ทำหน้าที่โดยไม่ขัดกับกฏหมายที่ออกโดยรัฐสภา

แบบประธานาธิบดี (Presidential System)

      ระบอบนี้ริเริ่มมากจากประเทศสหรัฐอเมริกา หัวใจสำคัญคือ ประธานาธิบดีจะเป็นอิสระจากรัฐสภา ตัวประธานาธิบดีจะเป็นประมุขของรัฐและผู้นำรัฐบาลด้วย เนื่องจากประชาชนเป็นผู้เลือกตัวประธานาธิบดีเองและตัวประธานาธิบดีจะอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระโดยไม่มี
การยุบสภา

   หลักการสำคัญ

  1. อำนาจสูงสุดในการบริหารอยู่ที่ประธานาธิบดี
  2. การแบ่งแยกอำนาจ โดยที่อำนาจนิติบัญญัติ ได้แก่ รัฐสภา อำนาจบริหาร ได้แก่ ประธานาธิบดี ประธานาธิบดีมีอำนาจเป็นอิสระจากรัฐสภา สถาบันตุลาการก็เป็นอิสระ
  3. การคานอำนาจ (Balance of Power) รัฐสภามีอำนาจในการร่างกฏหมาย แต่ประธานาธิบดี มีหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในฐานะประมุขของประเทศเสมือนพระมหากษัตริย์ที่ลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ

      ความแตกต่างระหว่างระบบรัฐสภาและระบบประธานาธิบดีจะแตกต่างกัน 2 ประการหลักคือ

ระบอบรัฐสภาจำรวมศูนย์อำนาจที่รัฐสภา ส่วนระบอบประธานาธิบดีมีการแยก และคานอำนาจของนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
ระบอบรัฐสภาจะแยกตำแหน่งประมุข ออกจากตำแหน่งผู้นำรัฐบาล ส่วนระบอบประธานาธิบดีควบสองตำแหน่งนี้ไว้ด้วยกัน

      หลายคนมักสับสนในกรณีที่ในประเทศมีรัฐสภาและมีประธานาธิบดีเป็นประมุข เช่น อินเดีย สิงคโปร์ กรณีนี้ให้มองไปที่ตัวรัฐบาลว่าเป็นแบบไหน มีนายกรัฐมนตรีหรือไม่? อำนาจในการบริหารประเทศอยู่ที่ใคร? เช่น หากอำนาจในการบริหารอยู่ที่นายกรัฐมนตรี แปลว่าเป็นการปกครองแบบรัฐสภา เป็นต้น


แบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-Presidential System) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ระบอบกึ่งรัฐสภา (Semi-Parliamentary System) 

      ระบบลูกผสมระหว่างรัฐสภาและประธานาธิบดี ซึ่งในความจริงแล้ว ก็คือระบอบประธานาธิบดีที่ได้รับการอัพเกรดมาแล้วนั่นเอง ระบอบนี้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศส ประธานาธิบดีจะมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ส่วนคณะรัฐมนตรีจะมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี


   หลักการสำคัญ          

  1. ประธานาธิบดียังคงมีอำนาจสูงสุด และเป็นอิสระจากรัฐสภา           
  2. ในขณะที่ นายกรัฐมนตรี (ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี) ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อสภา รัฐสภาสามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้           
  3. แยกอำนาจทางการเมืองและอำนาจในการบริหาร กล่าวคือ ประธานาธิบดีมีอำนาจในทางการเมือง และนายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการบริหาร  แต่อำนาจในการลงนามตัดสินใจยังคงอยู่ที่ประธานาธิบดี         

ข้อจำกัดของระบอบประชาธิปไตย         

  1. มีความล่าช้าในการตัดสินใจ เพราะมีกระบวนการมาก         
  2. เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมาก อาทิ การเลือกตั้งผู้แทนหรือการเลือกลงประชามติ เป็นต้น         
  3. ประชาชนอาจใช้สิทธิและเสรีภาพนอกเหนือจาก
    กรอบของกฏหมาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในรัฐ
  4. ประชาธิปไตยไม่ได้มีแค่การเลือกตั้งความเข้าใจสับสนอย่างหนึ่งของคนคือ ขอเพียงแค่มีการเลือกตั้ง ก็เป็นประชาธิปไตยแล้ว

      จริงอยู่ที่ “การเลือกตั้ง” นั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการแสดงถึงอำนาจของประชาชนในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะเป็นการที่ประชาชนได้ใช้อำนาจของตนนั้น เลือกผู้แทนตัวเอง เข้าไปนั่งในสภาเเพื่อบริหารประเทศ แต่ทว่าหากมองในมุมกว้างจะพบว่า ลำพังเพียงแค่การเลือกตั้งนั้นก็ไม่สามารถบอกได้ว่ามันคือประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ

      ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือประเทศเกาหลีเหนือ หรืออีกชื่อคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี ที่หลายๆคนทราบดีว่าเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จที่เหลืออยู่เพียงประเทศเดียวของโลก ยังมีการจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยการเลือกตั้งที่ว่านั้น มีผู้สมัครเพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากท่านคิมนั่นเอง และแน่นอนผลที่ออกมาก็คือ 100% ของคะแนนก็ตกเป็นของท่านคิม เราสามารถเรียกการเลือกตั้งแบบนี้ว่าเป็นประชาธิปไตยได้หรือ ?          

      สรุปให้เห็นว่า เราไม่สามารถนับว่าการปกครองที่มีการเลือกตั้งเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยได้ หากขาดการให้สิทธิในการแสดงความคิดเห็น การวิพากษ์วิจารณ์ และรับฟังเสียงสะท้อนจากประชาชน อาจกล่าวได้ว่า หัวใจสำคัญของประชาธิปไตย นั่นคือ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนนั่นเอง 


ใครว่าเผด็จการไม่มีรัฐธรรมนูญ

      เมื่อมีการปกครองที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจอย่างประชาธิปไตย แน่นอนว่าก็ต้องมีระบอบการปกครองขั้วตรงข้ามของมันเช่นกัน อย่างที่รู้กันว่าหากเป็นประชาธิปไตยอำนาจจะอยู่คนจำนวนมาก แต่หากเมื่อไหร่กระจุกตัวอยู่ที่กลุ่มเดียวแล้ว เราจะเรียกการปกครองแบบนี้ว่า “ระบอบเผด็จการ” นั่นเอง

      การปกครองระบอบเผด็จการเป็นระบอบการปกครองที่อำนาจในการบริหารประเทศอยู่ที่คนคนเดียว หรือคณะบุคคลกลุ่มเดียว ไม่มีการเปลี่ยนมือให้กับคนนอกกลุ่ม และกลุ่มคนเหล่านั้นสามารถใช้อำนาจนั้นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้ (โดยเฉพาะประเด็นทางการเมือง) หากใครฝ่าฝืน มักจะถูกลงโทษ

   หลักการสำคัญของระบอบเผด็จการ

  1. ให้ความสำคัญไปที่อำนาจของรัฐ ผู้นำ มากกว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
  2. ลัทธิเผด็จการเชื่อว่าคนไม่เท่าเทียมกันมาตั้งแต่แรก ทั้งชาติกำเนิด การศึกษา ส่งผลให้ระบอบนี้มักจะแบ่งคนออกเป็น 2 กลุ่มคือ ชนชั้นนำที่เกิดมาเพียบพร้อม และ ประชาชนทั่วไป
  3. ประชาชนทั่วไปนั้น ไร้ความสามารถในการปกครอง ดังนั้นรัฐจึงต้องเป็นผู้ทำหน้าที่จัดระเบียบเหล่านั้น ให้การปกครองบ้านเมืองดำเนินไปอย่างสำเร็จลุล่วง ประชาชนมีหน้าที่เพียงทำตามที่รัฐบอกเท่านั้น
  4. ความเห็นที่แตกต่างของประชาชน จะทำให้บ้านเมืองขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และนำมาซึ่งความวุ่นวายในภายหลัง

รูปแบบของเผด็จการ

         
      ระบอบผเด็จการสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ      
          

   เผด็จการทหาร (military dictatorship)

   
      อำนาจอยู่ที่คณะผู้นำฝ่ายทหาร โดยปกติการเกิดขึ้นของเผด็จการทหาร มักเกิดขึ้นเมื่อมีการรัฐประหารเพื่อล้มรัฐบาลเดิม ที่ถูกมองว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงของรัฐ โดยมักอ้างจุดประสงค์เรื่องการทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ มักจะใช้กฏอัยการศึก หรือใช้กฏหมายเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้ฝ่ายตน ตัวอย่างเผด็จการทหารในประเทศไทย เช่น ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ถึงสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ( พ.ศ. 2502-2516) หรือการปกครองของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 
          
      หลักการสำคัญ
  1. ให้ความสำคัญกับคณะผู้นำในกองทัพ
  2. การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะในด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่อาจยังคงให้เสรีภาพทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

   เผด็จการฟาสซิสต์


      ระบอบนี้มีต้นกำเนิดช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2465-248 ในประเทศอิตาลี โดยเบนิโต
มุโสนินี และในพรรคนาซีในเยอรมนี โดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ระบอบนี้ยึดถือว่าอำนาจในการปกครองจะอยู่ที่ผู้นำเพียงคนเดียว
      ระบอบฟาสซิสต์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ และชนชาติ มากกว่าความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ มีการสนับสนุนระบบนายทุน และชนนั้นนำ ดังนั้นจึงอยู่ตรงข้ามกับระบบคอมมิวนิสต์
          
      หลักการสำคัญ
  1. ยึดมั่นในตัวของผู้นำ ประชาชนต้องอยู่ภายใต้การปกครองของผู้นำที่เด็ดขาดเพียงคนเดียวมีความชาตินิยม
    เชื้อชาตินิยมอย่างสุดโต่ง เชื่อในความรุนแรง
  2. ฟาสซิสต์จะแบ่งคนออกเป็น 2 พวกคือ มิตร และศัตรู และศัตรูย่อมต้องถูกทำลาย สงครามจึงเป็นสิ่งชอบธรรม
     

   เผด็จการคอมมิวนิสต์

         
      เป็นผลพวงมาจากแนวคิดของ  Karl Marx นักคิดชาวเยอรมัน ผู้เชื่อว่าความไม่เท่าเทียมทางสังคมนั้น เกิดจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางชนชั้น นายทุนเป็นผู้ได้เปรียบ ในขณะที่กรรมาชีพเป็นผู้เสียเปรียบตลอดกาล จึงมีแนวคิดว่าควรยกเลิกระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินออกไป กำจัดระบบชนชั้น เพื่อให้ทุกคนเท่าเทียมกัน ต่อมาแนวคิดนี้ถูกนำไปปรับเปลี่ยนมาใช้ในทางการเมือง ทั้งในรัสเซีย โดยมีผู้นำคือ วลาดิเมียร์ เลนิน และ โจเซฟ สตาลิน เป็นผู้สืบทอดอำนาจ ในรูปแบบของการปกครองประเทศโดยพรรคบอลเซวิค และในจีนโดยมีผู้นำคือ เหมาเจ๋อตุง ผ่านการปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน 
            
      หลักการสำคัญ
  1. มีพรรคการเมืองใหญ่พรรคเดียวที่ผูกขาดการทำหน้าที่ปกครองประเทศ 
  2. ควบการเลือกตั้ง โดยการจำกัดเสนอชื่อบุคคลที่มีสิทธิเข้ารับการเลือกตั้ง (ส่วนใหญ่เป็นคนของพรรค)
  3. รัฐบาลสามารถควบคุมกิจกรรมและการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกด้าน
  4. รัฐบาลจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินทุกอย่างในแผ่นดิน
  5. มักควบคู่ไปกับการใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

      ปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยังปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์อยู่ แต่ทว่าได้มีการปรับเปลี่ยนลดระดับอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จลงในบางด้าน แต่ยังคงแนวคิดของระบบคอมมิวนิสต์ไว้ เช่น ประเทศจีน ที่ลดการวางแผนจากส่วนกลาง หันมาสนับสนุนเศรษฐกิจแบบตลาด ส่งออกการลงทุนไปยังประเทศอื่น ภายใต้การสนับสนุนของรัฐ เป็นต้น แต่ในทางการเมือง อำนาจในการบริหารประเทศยังอยู่ที่พรรคคอมมิวนิสต์เช่นเดิม       

ข้อดีของระบอบเผด็จการ


  1. การกระบวนการทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการตัดสินใจของรัฐบาล ไม่จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนมติเห็นชอบที่มากมายอย่างระบอบประชาธิปไตย
  2. เกิดความสงบในสังคม เนื่องจากมีการควบคุมที่เข้มงวดจากรัฐบาล

ข้อจำกัดของระบอบเผด็จการ

  1. ภาพลักษณ์ของระบอบเผด็จการนั้นดูไม่ดีในสายตาประชาคมโลก ส่งผลให้การติดต่อในด้านความสัมพันธ์กับรัฐอื่นดำเนินไปได้อย่างยากลำบาก
  2. ประชาชนบางส่วนถูกริดรอนสิทธิและเสรีภาพบางประการไป เช่น การมีส่วนร่วมทางการเมือง การเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
  3. ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ผู้มีอำนาจจะไม่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ เพราะขาดกระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ เนื่องมาจากประชาชนถูกกีดกันการเมือง
  4. มักมีปัญหาในเรื่องการใช้ความรุนแรง และการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อผู้เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล 

ใครว่าเผด็จการไม่มีรัฐธรรมนูญ


        รัฐธรรมนูญ คือ กฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ หลักกฏหมายใดจะขัดกับรัฐธรรมนูญไม่ได้ นี่เป็นข้อบัญญัติหนึ่งที่หลายคนทราบเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญ และความเข้าใจที่หลายคนคิดคือ การมีรัฐธรรมนูญ แปลว่า ประเทศนั้นมีการปกครองอย่างเป็นประชาธิปไตย ?
        ซึ่งนั่นไม่ใช่ความเข้าใจที่ถูกต้องทั้งหมดเสียทีเดียว รัฐธรรมนูญเป็นข้อกฏหมายสูงสุดที่ให้การรับรองว่า ประชาชนใต้กฏหมายสามารถทำอะไร ไม่สามารถทำอะไรได้ แต่ก็อย่าลืมคิดว่า ในเมื่อรัฐธรรมนูญให้ประชาชนทำอะไรได้ รัฐธรรมนูญก็สามารถกำหนดให้รัฐบาล ทำอะไรได้-ไม่ได้เช่นเดียวกัน
         แนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจคือ รัฐธรรมนูญถูกใช้เป็นเครื่องมือรับรองอำนาจของเผด็จการ อย่างประเทศจีน หรือเกาหลีเหนือ ต่างก็มีรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญเหล่านี้ก็จะถูกเขียนมาเพื่อให้อำนาจแก่ผู้นำประเทศ จึงไม่แปลกที่ในบางประเทศ หากเกิดการปฏิวัติ หรือรัฐประหารขึ้น แล้วจะต้องมีการฉีกรัฐธรรมนูญฉบับเดิม และเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
         ทั้งนี้ การมีรัฐธรรมนูญนั้นบางครั้งเป็นไปเพียงเพื่อเพื่อลดแรงกดดันจากภายนอก และไว้ใช้อ้างกับประชาชนว่า อย่างน้อยก็มีรัฐธรรมนูญรับรองว่า การใช้อำนาจของผู้นำประเทศนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ดังนั้นความชอบธรรมในการใช้กฏหมายที่แท้จริงของรัฐนั้น ไม่ได้อยู่ที่ว่ามีรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่าใครเป็นคนได้ประโยชน์จากการอยู่ใต้รัฐธรรมนูญมากกว่า