กฎหมายเรื่องน่ารู้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว I (เกิด ตาย หมั้น-สมรส-หย่า)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว II (บุตรบุญธรรม เทคโนโลยีเจริญพันธุ์)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว III (มรดก)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา I (ข้อความคิดทั่วไป ความสามารถของบุคคล)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา II (เรื่องเงินทองกับกฎหมาย)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอาญา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอื่นที่สำคัญ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายระหว่างประเทศ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สิทธิมนุษยชน
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และหลักการของสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในเวทีโลกที่มีผลต่อประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

ความหมายและโครงสร้างทางสังคม

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ความหมายและโครงสร้างทางสังคม (ชุดที่ 1)

HARD

ความหมายและโครงสร้างทางสังคม (ชุดที่ 2)

ความหมายและโครงสร้างทางสังคม

เนื้อหา

"มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” 
(Human being is social animal)

      คำกล่าวนี้เป็นของ อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก ที่ได้กล่าวไว้เมื่อหลายร้อยปีก่อนคริสตกาล จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทั้งภาพเขียนสีตามผนังถ้ำ ของกินของใช้ของมนุษย์ยุคโบราณ คำจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ฯลฯ ทำให้เห็นว่ามนุษย์เรามีการอยู่อาศัยร่วมกันมาเป็นเวลาหลายพันปี
      หากถามว่าทำไมมนุษย์จำต้องมาปฏิสัมพันธ์กัน เหตุผลหลักๆ นั่นคือเพื่อความอยู่รอด ทั้งการรวมกลุ่มหาอาหาร การทำเกษตร การสืบเผ่าพันธ์ ฯลฯ และการปฏิสัมพันธ์นี้เองที่ก่อให้เกิดสังคมขึ้น


สังคม (Society) คืออะไร ?

      สังคม คือ การที่บุคคลแต่ละคน (Human) เข้ามาอยู่ร่วมกันหลายคน และมีการปฏิสัมพันธ์กัน (Social Interraction) จนเกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อาจผ่านการมีวัฒนธรรม ภาษา หรือ การดำรงชีวิตที่คล้ายกัน บางสังคมสามารถอยู่ลำพังด้วยตนเอง บางสังคมต้องมีการพึ่งพาสังคมอื่น และเมื่อสังคมก่อตัวจนมีขนาดใหญ่ขึ้น จำเป็นต้องมีสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยวคนในสังคมไว้ นั่นคือ โครงสร้างทางสังคม

โครงสร้างทางสังคม (Social Instructure)

      คือแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของสังคม ซึ่งเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวให้สังคมดำรงอยู่ได้ หรือหากจะเปรียบเทียบง่าย ๆ โครงสร้างทางสังคมเปรียบเสมือนร่างกายที่ทำหน้าที่รวมอวัยวะต่าง ๆให้อยู่ยึดเหนี่ยวกันไว้นั่นเอง

  องค์ประกอบของโครงสร้างสังคม

  • กลุ่มทางสังคม
  • สถาบันทางสังคม
  • การจัดระเบียบทางสังคม

    กลุ่มทางสังคม

      การที่คนมากกว่า 2 คน เข้ามาอยู่ร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์กัน (Social Interraction) การปฏิสัมพันธ์นั้นก่อให้เกิดความคิด ความเชื่อที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งการจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนั้น จะต้องผ่านการยอมรับจากสมาชิกในกลุ่มเสียก่อน การมีกลุ่มทางสังคมนั้น จะช่วยให้เกิดการขัดเกลาให้สมาชิกในกลุ่มมีพฤติกรรมที่ตามที่สังคมคาดหวัง เป็นส่วนหนึ่งที่ขับเคลื่อนกระบวนการจัดระเบียบสังคม เพราะกลุ่มทางสังคมมักจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของสมาชิกในกลุ่ม ดังคำกล่าวว่า “คบคนพาล พาลพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล” นั่นเอง

      การแบ่งประเภทของกลุ่มทางสังคม สามารถแบ่งได้ตามความสัมพันธ์ของคนในสังคม คือ กลุ่มปฐมภูมิ และ กลุ่มทุติยภูมิ

กลุ่มปฐมภูมิ (Primary Group) เป็นกลุ่มสังคมกลุ่มแรกๆ ที่มนุษย์สังกัด มักมีขนาดเล็ก มีความสัมพันธ์กับแบบส่วนตัว และผูกพันธ์กันอย่างยาวนาน มีหน้าที่สำคัญในการขัดเกลาทางสังคม เช่น ครอบครัว เพื่อน เป็นต้น
กลุ่มทุติยภูมิ (Secondary group) เป็นกลุ่มทางสังคมขนาดใหญ่ มีความสัมพันธ์แบบเป็นทางการตามสถานภาพ และบทบาทของแต่ละคน การเกิดขึ้นของกลุ่มไม่ได้เกิดจากความผูกพัน หรือความสนิทสนมคุ้นเคย เช่น พนักงานในองค์กรต่าง ๆ 

      มนุษย์เราสามารถมีหลายกลุ่มในเวลาเดียวกันได้ ทั้งนี้อยู่ที่มุมมองว่าเรากำลังพูดถึง เป็นอยู่ และแบ่งแยกเรากับอะไร เช่น

เมื่อมีเด็กนักเรียนย้ายเข้ามาใหม่ ณ ขณะนั้น เราจึงรู้สึกว่าตนเองอยู่ในกลุ่มเพื่อนร่วมห้องเดียวกัน และคนที่มาใหม่นั้นแปลกถิ่น แต่ในขณะเดียวกันหากเขามีเพศกำเนิดเช่นเดียวกับเรา เราอาจรู้สึกว่าเขาเป็นคนกลุ่มเดียวกับเราโดยการแบ่งด้วยเพศนั่นเอง

    สถาบันทางสังคม

      เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกัน และมีปฏิสัมพันธ์กัน จึงเกิดการรวมกลุ่มและจำเป็นที่ต้องมีกระบวนการขัดเกลาทางสังคม จึงนำมาซึ่งสถาบันทางสังคมที่ประกอบไปด้วย แบบแผนของค่านิยม บรรทัดฐาน และองค์กรต่าง ๆ เพื่อกำหนด “แบบแผนพฤติกรรมของสังคม” ที่เป็นมาตรฐานขึ้นมา มีหน้าที่ทำให้สังคมคงสภาพอยู่ได้ สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานของสังคมและทำให้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน
      แบบแผนเหล่านี้ช่วยจัดการให้ความสัมพันธ์ในสังคมดำเนินไปได้อย่างราบรื่นเป็นธรรมชาติ โดยปกติแล้วเราจึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาเหตุผลของมาตรฐานเหล่านั้นทุกครั้ง มนุษย์ได้สร้างสถาบันขึ้นมาเพื่อตอบสนองความจำเป็น ความต้องการ ในวิถีทางที่สังคมยอมรับ รวมทั้งมีกระบวนการในการจัดระเบียบสังคม และควบคุมมนุษย์เองด้วย หากเปรียบโครงสร้างทางสังคมเป็นร่างกาย สถาบันทางสังคมเป็นเปรียบเสมือนอวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งอวัยวะแต่ละอย่างก็จะมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่างกันออกไป แต่ท้ายที่สุดแล้วอวัยวะเหล่านี้จะต้องทำงานอย่างสอดประสานกัน เพื่อให้ร่างกาย (โครงสร้างทางสังคม) ดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุขนั่นเอง
      ประเภทของสถาบันทางสังคม ประกอบด้วย 5 สถาบันหลัก คือ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันเศรษฐกิจ สถาบันศาสนา และสถาบันการเมืองการปกครอง

    สถาบันครอบครัว

      เป็นหน่วยแรกสุดของสถาบันทางสังคม เป็นจุดกำเนิดของสังคมมนุษย์ สถาบันครอบครัวถือเป็นแบบแผนความคิดพฤติกรรมว่าด้วยเรื่อง ครอบครัว เครือญาติ ซึ่งครอบคลุมแนวคิด ความสัมพันธ์ระหว่างเพศ การหมั้น แต่งงาน มีลูก การเป็นพี่น้อง ฯลฯ ของคนในสังคม
      ลักษณะของสถาบันครอบครัวเกิดขึ้นจากการแต่งงาน ความผูกพันธ์ทางสายเลือด หรือการมีบุตรบุญธรรม มักอยู่ภายใต้บ้านเดียวกันหรือภายในอาณาบริเวณรั้วเดียวกัน 

       ประเภทของสถาบันครอบครัว 

ครอบครัวเดี่ยว (Nuclear Family) ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก (ที่ยังไม่ได้แต่งงาน) อาศัยอยู่ร่วมกัน ปัจจุบันนี้ครอบครัวในลักษณะนี้เกิดขึ้นมา และมักพบตามสังคมเมืองเป็นส่วนใหญ่ 
ครอบครัวขยาย (Extended Family) ประกอบด้วยสมาชิกที่มากกว่าครอบครัวเดี่ยว อาจมี ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา เพิ่มขึ้นมา อาจจะอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน หรืออยู่ในอาณาบริเวณรั้วเดียวกันก็ได้ มีหน้าที่ผลิตสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้นมาในสังคม กำหนดสถานภาพให้แก่สมาชิกในครอบครัว การเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูก เป็นพี่หรือน้อง ฯลฯ ซึ่งสถานภาพที่ได้มาจากการเป็นสมาชิกในครอบครัว มักเป็นสถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ขัดเกลาทางสังคมให้แก่สมาชิก ผ่านการเลี้ยงดู อบรม ปลูกฝังระเบียบแก่สมาชิกในครอบครัว เพื่อให้สามารถมีชีวิตรอด และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติได้ อีกทั้งยังมีหน้าที่ทางเศรษฐกิจคือเป็นทั้งหน่วยผลิตและบริโภค เช่น พ่อแม่หาเงินมาเลี้ยงดูลูกให้เติบโตและทำงานต่อไปในอนาคต  

    สถาบันการศึกษา

     แบบแผนความคิดและพฤติกรรมเกี่ยวกับการอบรมให้การศึกษาแก่สมาชิกในสังคม ผลิตบุคลากรเพื่อเป็นทรัพยากรของสังคม ผ่านองค์กรและระบบการศึกษาที่เป็นทางการ โดยเป็นสถาบันหนึ่งที่ถ่ายทอดบรรทัดฐานทางสังคม ส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านวิชาการ วิชาชีพ รวมทั้งถ่ายทอดวัฒนธรรม ระเบียบสังคม จากคนรุ่นหนึ่ง ไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อผลิตพลเมืองที่มีคุณภาพแก่สังคม ครอบคลุมในเรื่องของ บทบาทครู นักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา ภารโรง ฯลฯ
     ลักษณะของสถาบันการศึกษา ความหมายอย่างกว้าง คือ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต ความหมายอย่างแคบ คือ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในสถาบันการศึกษา และสิ้นสุดเมื่อก้าวออกจากสถาบันการศึกษาแล้ว ปริมาณการศึกษาวัดจากจำนวนชั้นเรียนหรือปริมาณการสอบที่ผ่าน
     สถาบันการศึกษามีหน้าที่ถ่ายทอดทักษะความรู้ คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมความเชื่อที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับให้กับสมาชิกในสังคมรุ่นต่อรุ่น ฝึกฝนบุคลิคภาพให้กับสมาชิก การดำรงตนในวิถีที่สังคมยอมรับ เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม เพราะเป็นการขัดเกลาสมาชิกในรูปแบบที่เป็นทางการ ซึ่งผลของการขัดเกลานั้นอาจส่งผลต่อค่านิยมของสังคมในอนาคต
เช่น ในอดีตมีการสอนในเพศหญิง
รักนวลสงวนตัว แต่ปัจจุบันเป็นการสอนให้เรียนรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างปลอดภัย ไม่ได้ปิดกั้น เป็นต้น
     เนื่องจากสถาบันทางการศึกษาเป็นตัวกลางสำคัญในการถ่ายทอดความคิด ค่านิยม บรรทัดฐานทางสังคมให้แก่สมาชิก ซึ่งบางครั้งผู้มีอำนาจทางสังคม อาจเป็นผู้กำหนดบรรทัดฐานที่ว่านั้นเองได้ ว่าสมาชิกในสังคมควรจะมีความคิดแบบไหนและปลูกฝังผ่านสถาบันการศึกษา

    สถาบันเศรษฐกิจ

     แบบแผนความคิดพฤติกรรมเกี่ยวกับการผลิต การบริโภค การแจกจ่ายกระจายสินค้าและบริการต่างๆ ของสมาชิกในสังคม เพื่อที่จะสามารถจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในการตอบสนองความต้องการที่ไม่จำกัด ครอบคลุมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ผลิต-บริโภค ซึ่งการเกิดขึ้นของสถาบันทางเศรษฐกิจช่วยจัดสรรทรัพยากร ทำให้สมาชิกเข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ ได้มากขึ้น
      ลักษณะของสถาบันเศรษฐกิจนั้นมีองค์ประกอบย่อยที่เรียกว่า หน่วยเศรษฐกิจ โดยหน่วยเศรษฐกิจที่ว่านี้จะมีบทบาทคล้ายกับบุคคล เมื่อเปรียบเทียบกับสถาบันอื่น ซึ่งบทบาทเหล่านั้นจะมีอิทธิพลต่อตลาด และระบบเศรษฐกิจโดยรวมที่แตกต่างกันออกไป
      หน่วยครัวเรือน เป็นหน่วยเศรษฐกิจขนาดเล็ก แต่เป็นได้ทั้งหน่วยผลิตและบริโภค เช่น ครอบครัว หรือบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่แล้วรายได้จากหน่วยนี้จะมาจากการทำงาน เมื่อมีรายได้ก็จะนำเงินที่ได้ไปซื้อสินค้าจะหน่วยธุรกิจเพื่อบริโภคต่อไป
      หน่วยธุรกิจ ทำหน้าที่ในการผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดการผลิตนั้นอาจมาจากบุคคลในหน่วยครัวเรือน ซึ่งบุคคลจะได้ค่าตอบแทนจากหน่วยธุรกิจ เพื่อนำไปซื้อผลผลิตจากหน่วยธุรกิจมาบริโภคต่อไป
      หน่วยรัฐบาล ทำหน้าที่ในการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นสินค้าสาธารณะ เช่น สาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยไม่แสวงหากำไร

    สถาบันศาสนา

      ศาสนา เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการหาที่พึ่งในยามที่ตนเองรู้สึกอ้างว่าง โดดเดี่ยว หรือการไม่สามารถหาคำตอบให้กับปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือสิ่งที่ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้ จึงเกิดการรวมตัวกันขึ้น เพื่อก่อให้เกิดความรู้สึกอุ่นใจในการมีชีวิต รวมถึงการแสวงหาคำตอบในสิ่งที่ไม่สามามารถอธิบายได้
      สถาบันทางศาสนาจึงเหมือนแบบแผนความคิดพฤติกรรมว่าด้วยเรื่องของความคิด ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า มีผลทางด้านจิตใจ เน้นการตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจของสมาชิกในสังคม ครอบคลุมในเรื่องของหลักการประพฤติของฆารวาส การประพฤติของนักบวช เรื่องราวของศาสดา คำสอน ความเชื่ออันเป็นจุดมุ่งหมายในโลกหลังความตาย รวมถึงพิธีกรรมต่าง ๆ
      ลักษณะของสถาบันทางศาสนา ประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่นับถือศาสนาต่าง ๆ รวมถึงลัทธิ ความเชื่อ เช่น สภาคริสตจักร วัดธรรมกาย เป็นต้น มีการกำหนดหลักคำสอน แนวการปฏิบัติของสมาชิก อาจสะท้อนผ่านพระคัมภีร์ หรือพิธีกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น มีผู้นำทางจิตใจคนสำคัญในสถาบัน เช่น เจ้าอาวาส บาทหลวง ศาสดาของแต่ละศาสนา มีหน้าที่สนองความต้องการที่จะแสดงออกของมนุษย์ที่ไม่สามารถแสดงได้ในเวลาปกติ สนองความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคม เพราะมีความเชื่อร่วมกัน ขัดเกลาความประพฤติของสมาชิกในสังคมด้านศีลธรรม เสริมสร้างความมั่นคงทางด้านจิตใจ

    สถาบันการเมืองการปกครอง

      พฤติกรรมว่าด้วยเรื่องของ การรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม รวมถึงแนวทางการปกครองประชาชนให้ดำเนินชีวิตโดยไม่ขัดต่อหลักของบ้านเมือง การบรรลุเป้าหมาย การตัดสินใจร่วมกันของผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครอง ครอบคลุมในเรื่องของการเมือง การเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมในการปกครองรูปแบบต่าง ๆ
      ลักษณะสำคัญจะประกอบด้วย กลุ่มพรรคการเมือง สภาผู้แทนราษฏร วุฒิสภา คณะรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐในระดับต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ เป็นสถาบันที่อยู่ไกลตัวของสมาชิกในสังคมมากที่สุด กล่าวคือ สมาชิกในสังคมอาจมีส่วนร่วมน้อย แต่เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพของสมาชิกมากที่สุดเช่นกัน
      โดยสถาบันนี้จะมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย รวมทั้งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของสมาชิกในสังคม สร้างระเบียบกฎเกณฑ์ แบบแผนความประพฤติของคนในสังคม อาจอยู่ในรูปของการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้สมาชิกในสังคมไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของกันและกัน อำนวยความสะดวกและการบริการแก่ประชาชน ทั้งในเรื่องของสวัสดิการทางสังคม สาธารณูปโภค การศึกษาขั้นพื้นฐาน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศนั้นถือว่าเป็นสังคมที่มีขนาดใหญ่ และจำเป็นต้องมีการปฏิสัมพันธ์พึ่งพาอาศัยกับประเทศอื่น ๆ (สังคมอื่น) ด้วยเช่นกัน


      เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งกับสถาบันทางสังคมทั้งสิ้น ถ้าถามว่าในแต่ละวันเราเกี่ยวข้องกับสถาบันอะไรบ้าง ก็คงหนีไม่พ้น 5 สถาบันหลักนี้ ลองคิดย้อนไปตั้งแต่ตื่นนอน เมื่อเราตื่นขึ้นมา เราก็อยู่ในบ้านอันเป็นสถาบันครอบครัวแล้ว หลังจากอาบน้ำรับประทานอาหารเรียบร้อย ก็เดินทางไปเรียนที่สถาบันการศึกษา ก่อนเข้าเรียนย่อมมีการไหว้พระสวดมนตร์ (สถาบันทางศาสนา) เมื่อเลิกเรียนอาจแวะไปชอปปิ้งเดินซื้อของตามตลาดหรือห้างร้าน อันเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจ ซึ่งกิจวัตรประจำวันทั้งหมดของเรานั้นอยู่ภายใต้การดูแลของสถาบันการเมืองการปกครองที่คอยรักษาความสงบเรียบร้อยอยู่  

      ทั้งนี้ทั้งนั้น สถาบันต่าง ๆ ก็มีหน้าที่ในการทำงานของตัวเองไป แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้การทำหน้าที่ของสถาบันเหล่านี้ประสานสอดคล้องกัน จนเราไม่รู้สึกว่ามันมากหรือน้อยเกินไป นั่นก็คือ การจัดระเบียบทางสังคม ที่คอยกำหนดว่า สถานภาพ บทบาท และบรรทัดฐานหน้าที่ ของคนที่อยู่ภายในสถาบันนี้ต้องทำอย่างไร ซึ่งจะขอกล่าวถึงในส่วนถัดไป

ทีมผู้จัดทำ