กฎหมายเรื่องน่ารู้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว I (เกิด ตาย หมั้น-สมรส-หย่า)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว II (บุตรบุญธรรม เทคโนโลยีเจริญพันธุ์)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว III (มรดก)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา I (ข้อความคิดทั่วไป ความสามารถของบุคคล)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา II (เรื่องเงินทองกับกฎหมาย)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอาญา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอื่นที่สำคัญ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายระหว่างประเทศ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สิทธิมนุษยชน
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และหลักการของสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในเวทีโลกที่มีผลต่อประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

ความร่วมร่วมมือและการรวมตัวระหว่างประเทศ

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ความร่วมมือและการรวมตัวระหว่างประเทศ (ชุดที่ 1)

HARD

ความร่วมร่วมมือและการรวมตัวระหว่างประเทศ (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

ความร่วมร่วมมือและการรวมตัวระหว่างประเทศ

      ในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ มุ่งที่จะรักษาสันติภาพและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจร่วมกัน ประเทศไทยเป็นสมาชิกของสังคมระหว่างประเทศ จึงต้องมีความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ
      จุดมุ่งหมายสำคัญของความร่วมมือและการรวมตัวระหว่างประเทศนั้นก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติและ
ผลประโยชน์ร่วมกันกับประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสันติภาพ ด้านวัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยวิธีการทางการเมืองระหว่างประเทศ การทหาร การค้า
และการทูต

      ลักษณะของความร่วมมือและการรวมตัวระหว่างประเทศในปัจจุบัน มักจะเป็นลักษณะของการเข้าเป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศ ดังนี้

  1. ด้านการรักษาสันติภาพ
  2. ด้านการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจ
  3. ด้านความก้าวหน้าทางการศึกษาและวัฒนธรรม

ด้านการรักษาสันติภาพ      

      ผลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ทำให้มนุษย์ตระหนักถึงความเลวร้ายของสงคราม ซึ่งนำมาแต่
ความสูญเสีย ทำให้มนุษย์ค้นหาวิธีที่จะหลีกเลี่ยงสงคราม
มิให้เกิดขึ้นอีก การนำสันติภาพมาสู่สังคมระหว่างประเทศได้จะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ   

      องค์การสหประชาชาติ จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างเสริมสันติภาพและขจัดความขัดแย้งระหว่างประเทศ
โดยมุ่งแก้ปัญหาพิพาทระหว่างประเทศร่วมกันของชาติสมาชิกเพื่อรักษาสันติภาพอันถาวร โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติลำดับที่ 5

      ภารกิจหลักขององค์การสหประชาชาติ คือ การรักษาสันติภาพและความมั่นคง ความพยายามส่งเสริมและกำกับดูแลสิทธิมนุษยชน การให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ

      นอกจากองค์การสหประชาชาติแล้ว ในระดับภูมิภาคก็มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกในภูมิภาคนั้นๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือกันและความเป็นปึกแผ่นของภาคีสมาชิก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคนี้
ได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN)


ด้านการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจ

      ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันมีความเชื่อมโยงกัน โลกทั้งใบคือตลาดที่ใหญ่ที่สุด ประเทศต่างๆ จึงมีความร่วมมือกันเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่ตนต้องการ โดยการเเลกเปลี่ยน ซื้อ ขาย โดยสันติวิธี รวมไปถึงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับประเทศสมาชิกเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ

      องค์การระหว่างประเทศที่มีความเกี่ยวข้องในทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่

  1. ธนาคารโลก (World Bank)
    เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ได้จัดตั้งขึ้นมาโดยวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ทำการฟื้นฟูประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยการให้กู้เงินเพื่อบูรณะซ่อมแซมและพัฒนาประเทศ ต่อมาได้ขยายบทบาทออกไปเป็นการสนับสนุนการลงทุน โดยมุ่งเน้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
  2. องค์การการค้าโลก (World Trade Organization, WTO)
    เป็นองค์การระหว่างประเทศที่ตั้งเพื่อส่งเสริมการค้าเสรีและขจัดอุปสรรคทางการค้า โดยเป็นเวทีในการเจรจาและต่อรอง รวมถึงเป็นผู้รักษากฎเกณฑ์เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศด้วย
  3. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund ,IMF)
    เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ เสริมสร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับประเทศสมาชิก
    ที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน
  4. ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank, ADB)
    เป็นสถาบันการเงินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาของประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก
  5. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
    นอกจากมีบทบาทในทางการรักษาสันติภาพแล้ว อาเซียนยังมีบทบาทในฐานะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ โดยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area : AFTA)

ด้านความก้าวหน้าทางการศึกษาและวัฒนธรรม

      การศึกษามีความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ประเทศต่างๆ ควรได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ข่าวสารต่างๆ รวมทั้งด้านวัฒนธรรม องค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทในเรื่องการ
ส่งเสริมความก้าวหน้าทางการศึกษาและวัฒนธรรม คือ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ
ยูเนสโก (UNESCO)

      การจัดตั้งยูเนสโกนั้นอยู่บนความคิดที่ว่า “สงครามเริ่มต้นที่จิตใจของมนุษย์ฉันใด ความหวงแหนสันติภาพก็ต้องสร้างขึ้นในจิตใจของมนุษย์ด้วยฉันนั้น”
(since wars begin in the minds of men,
it is in the minds of men that the defenses of peace must be constructed)
กล่าวคือ
เมื่อความรุนแรงเริ่มต้นจากภายในตัวของมนุษย์การจะสร้างสันติภาพได้ก็ต้องเริ่มจากภายในตัวมนุษย์เช่นกัน การพัฒนาจิตใจของมนุษย์จึงมีความสำคัญ โดยบทบาทของยูเนสโก
จึงเป็นการส่งเสริมสันติภาพผ่านการส่งเสริมความร่วมมือทางภูมิปัญญา และจิตสำนึกของความเป็นมนุษยชาติ ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืน เพราะทุกประเทศมีความเจริญทางด้านการศึกษาและวัฒนธรรมที่เท่ากัน

      การรวมตัวระหว่างประเทศใน 2 ด้านหลังนั้นเป็นไปเพื่อส่งเสริมสันติภาพ เพราะการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ด้วย
การศึกษาและวัฒนธรรม และการส่งเสริมทางเศรษฐกิจนั้น เป็นการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่กำลังพัฒนา ทำให้ประเทศที่กำลังพัฒนาหลุดพ้นจากความยากจน และมีประชากรที่มีคุณภาพ