กฎหมายเรื่องน่ารู้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว I (เกิด ตาย หมั้น-สมรส-หย่า)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว II (บุตรบุญธรรม เทคโนโลยีเจริญพันธุ์)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว III (มรดก)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา I (ข้อความคิดทั่วไป ความสามารถของบุคคล)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา II (เรื่องเงินทองกับกฎหมาย)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอาญา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอื่นที่สำคัญ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายระหว่างประเทศ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สิทธิมนุษยชน
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และหลักการของสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในเวทีโลกที่มีผลต่อประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก (ชุดที่ 1)

HARD

พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก

      พลเมือง (Citizen) หมายถึง กำลังของเมือง  (พละ + เมือง)  ส่วนใหญ่จะหมายถึง สมาชิกในประเทศหรือสังคมเมืองที่อยู่นั้นๆ เช่น เมื่อกล่าวถึงพลเมืองประเทศไหน ย่อมหมายถึงบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศนั้นๆ เช่น พลเมืองของประเทศไทย
      ตามกฎหมายไทย บุคคลที่มีสัญชาติต่างออกไป เมื่อเข้าไปอยู่อาศัยในประเทศไทย ก็จะถูกเรียกว่า คนต่างด้าว ซึ่งจะไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมืองที่มีสัญชาติไทย
      โดยพลเมืองของแต่ละประเทศนั้น ย่อมมีสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบที่แตกต่างกัน

      ความเป็นพลเมือง (Citizenship) เกิดจากการที่มนุษย์ได้มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ในความหมายนี้
มักหมายถึงสังคมขนาดใหญ่ ระดับเมือง ระดับประเทศ และเมื่อคนมาอยู่ร่วมกันมากเข้า แน่นอนว่าตามธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีความคิด มีการกระทำที่อาจขัดแย้งกันได้ ดังนั้นจำต้องมีการจำกัดความหมายของคำว่าพลเมืองออกมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ชี้ให้เห็นจากเวลาที่พูดถึง “พลเมือง”
มักจะมีคำว่า “ดี” มาประกอบเสมอ กลายเป็นแนวคิดเรื่องพลเมืองดี (Good Citizen)

      พลเมืองดี หมายถึง พลเมืองผู้ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบพฤติกรรมที่เหมาะสม และปฏิบัติตนอย่างมีความรับผิดชอบ ความสำคัญของพลเมืองดีสำหรับสังคมนั้น พลเมืองดี ถือเป็นองค์ประกอบและเป็นทรัพยากรที่สำคัญเป็นอย่างมากของสังคม
สังคมทุกสังคมย่อมต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพ เพื่อนำมาเป็นกำลังสำคัญในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า หากประเทศใดมีพลเมืองดีเป็นจำนวนมาก ย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพของประเทศให้ง่ายขึ้นเท่านั้น
ดังนั้น ความเป็นพลเมือง (ที่ดี) จึงสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทความรับผิดชอบของคนที่มีต่อรัฐนั่นเอง


ประวัติศาสตร์ของความเป็นพลเมือง

      ยุคโบราณ ความเป็นพลเมืองนั้นเป็นสิทธิของชนชั้นปกครองหรือชนชั้นสูงเท่านั้น ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้หญิงและทาส ไม่มีสิทธิ
ความเป็นพลเมือง
ทำให้ไม่ได้รับสิทธิบางอย่างในชีวิต เช่น การเลือกตั้ง ฯลฯ
      ยุคกลาง เป็นยุคแห่งการช่วงชิงอำนาจ แนวคิดแบบพลเมืองจะให้ความสำคัญไปที่การจงรักภักดีต่อผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองมีอำนาจสูงสุด
พลเมืองไม่มีบทบาททางการเมือง เป็นเพียงผู้ใต้ปกครองเท่านั้น ดังคำพูดที่ว่า "I am the state" (l'etat c'est moi) “ข้าพเจ้าคือรัฐ”
(พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส, 1674)
      ช่วงการปฏิวัติสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1776)  และการปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1789) เกิดแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองรูปแบบใหม่เข้ามาแทนที่ ไม่ได้มีเพียงการจงรักภักดีต่อผู้ปกครองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เนื่องจากประชาชนตระหนักได้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ และควรจะได้รับสิทธิเสรีภาพเมื่ออยู่ภายใต้รัฐนั้น
      ศตวรรษที่ 19 -  20 การเกิดขึ้นของอุดมการณ์เสรีนิยมที่ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ
ความเสมอภาคของประชาชน ทุกคนเกิดมาเท่ากัน ไม่ว่าจะชนชั้นไหนหรือเพศไหน ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐ และสิทธิในการมีส่วนร่วม
ทางการเมืองกับรัฐด้วยเช่นกัน
      หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากแนวความคิด
รัฐสวัสดิการ ทำให้ประชาชนคิดว่าตนเองไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพื่อรัฐ แต่รัฐควรมีหน้าที่คุ้มครองพลเมืองด้วย ผลลัพธ์ที่ได้คือ ทัศนคติของประชาชนที่เปลี่ยนไป วามลดน้อยถอยลงของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่น้อยลง เช่น
การเข้าไปเลือกตั้งน้อยลงของประชาชนในยุโรปและอเมริกา (สถาบันพระปกเกล้า, 2554)

คุณลักษณะของพลเมืองดีของสังคมไทยและสังคมโลก

      การกำหนดคุณลักษณะของพลเมืองที่ดีนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้กำหนดมาตรฐานที่แตกต่างกันออกไป แต่ในที่นี้จะขอยกแนวคิดคุณลักษณะของพลเมืองที่ดี ของนายแพทย์ประเวศ วะสี ขึ้นมาอธิบาย ดังนี้

  1. คุณลักษณะด้านปัญญา
    เป็นผู้ดำรงตนอยู่ใต้หลักเหตุและผล แยกแยะสิ่งผิดชอบชั่วดีอย่างมีวิจารณญาณ เคารพกฏหมายและปฏิบัติตามข้อระเบียบ รสวมไปถึงกติกาของสังคม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เกิดขึ้นและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้
  2. คุณลักษณะด้านจิตใจ
    ดำรงอยู่ภายใต้หลักคุณธรรมและจริยธรรรม อาจผ่านการยึดหลักศีลธรรมทางศาสนา ปฏิบัติตนทั้งทางกาย วาจา และใจอย่างตรงไปตรงมา
  3. คุณลักษณะด้านสังคม
    รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง สังคม ชุมชน ประเทศชาติ เคารพสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น มีจิตสำนึกต่อส่วนรวม มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ
    ต่อประเทศ เช่น มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองอย่างการเลือกตั้ง หรือการลงประชาพิจารณ์
  4. คุณลักษณะด้านร่างกาย
    ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตนเองให้แข็งแรงสมบูรณ์ พัฒนาทักษะของตนเอง ทั้งความรู้ทางวิชาการ ความรู้ทางวิชาชีพให้เต็มที่ตามสมรรถภาพ และศักยภาพที่ตนเองมี เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ

การเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลกโดยยึดหลักการประชาธิปไตย

รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและเคารพเสียงส่วนมาก
มีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
รู้หน้าที่ บทบาท และสิทธิของตนเอง
ปฏิบัติตนโดยไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวมเสมอ
ซื่อสัตย์สุจริต มีความละอายและเกรงกลัว
ในการกระทำผิด

      คุณสมบัติ “ความเป็นพลเมือง” นั้นเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาวิถีทางแห่งประชาธิปไตย
ไม่ใช่เพียงแค่การมีรัฐธรรมนูญหรือการเลือกตั้งเท่านั้น
แต่ประชาชนของรัฐนั้นจะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพทั้งของตนเองและผู้อื่น เคารพกติกาบ้านเมือง มีจิตสาธารณะ
ยอมรับความแตกต่าง เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันโดยไม่แตกแยก


พลเมืองดีของสังคม ภายใต้ความหมายของ Active Citizen

      Active Citizen เป็นคำที่กำลังถูกยกขึ้นมาเอ่ยถึง การเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมโลกมากขึ้น เพราะเวลาที่เราพูดถึงความเป็นพลเมืองที่ดีในปัจจุบัน เราไม่ได้หมายความแค่การเป็นพลเมืองที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม หรือการเคารพกฏหมายแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

      แต่เดิม ความหมายของคำว่า “พลเมืองดี” นั้น
มักจะถูกจำกัดอยู่เพียงแค่การเป็น Passive Citizen
คือ ประชาชนที่ปฏิบัติตามกฏหมายของรัฐ และดำรงอยู่ในระเบียบวินัย
แน่นอนว่าการเป็นพลเมืองเช่นนี้ย่อมทำให้สังคมสงบสุข เนื่องจากทุกคนอยู่ในกรอบที่ควรจะเป็น  

      หากจะเปรียบเทียบให้เข้าใจ สมมุติว่า
รัฐเปรียบเสมือนโรงเรียน ในโรงเรียนนั้นจะมีพลเมือง
นั่นก็คือนักเรียน  Passive Citizen คือนักเรียนที่อยู่ในระเบียบวินัย ไม่มีส่วนร่วมใดๆ กับการจัดการโรงเรียน ไม่ได้รู้สึกว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนนั้น  เพียงแค่มาเรียน ทำตามระเบียบของโรงเรียนและจบออกไปอย่างสวยงาม

          ดังนั้น Active Citizen จึงเป็นการสร้างสำนึกความเป็นพลเมืองที่อยู่บนฐานของ “เราเป็นเจ้าของสังคม” สังคมเป็นของเรา ทำให้เราในฐานะพลเมืองของสังคมนั้นต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ ทำให้สังคมที่เราอยู่นั้นพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น

      ถ้าจะเปรียบเป็นโรงเรียนอีก ก็คือ เป็นนักเรียนที่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ของโรงเรียน
มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ทางตรงก็อย่างเช่น การเป็นสภานักเรียน การทำกิจกรรมสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน หรือทางอ้อมอย่างการเข้ามาร่วมเลือกตั้งสภานักเรียน การรักษาความสะอาดสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้มีความน่าอยู่ ประพฤติตนตามระเบียบและกฏเกณฑ์ เพียงเท่านี้ก็ถือว่า เราได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนได้แล้วเช่นกัน

      งานวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจของสถาบันพระปกเกล้าในปี 2554 พบว่า คุณสมบัติของการเป็นพลเมืองที่ประชาชนคนไทยให้ความสำคัญสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่

  1. การทำงานแบบสุจริต 
  2. ความภาคภูมิใจในการเป็นคนไทย
  3. การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
  4. การเต็มใจที่จะเสียภาษี
  5. การปฏิบัติตามกฏหมาย

      ทั้งหมดนี้ สะท้อนให้เห็นว่าคุณสมบัติของพลเมืองในความคิดของคนไทยกับคุณสมบัติของพลเมืองแบบ Active Citizen ยังมีความแตกต่างกันอยู่ในแง่ของการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและการทำเพื่อสังคม

      หากมองในภาพใหญ่ แน่นอนว่ารัฐทุกรัฐย่อมอยากให้ประชาชนอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐอยู่เป็นทุน เนื่องจากรัฐจะทำอะไรก็ได้ โดยไม่มีคนมาขัด เรามีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแค่ไหน ก็ทำไปเท่าที่ได้ แต่คำถามที่ตามมาคือ
หากการตัดสินใจของรัฐเกิดการผิดพลาดขึ้น แล้วส่งผลเสียต่อสังคมหรือประชาชนในพื้นที่จากการตัดสินใจของรัฐ
(เช่น ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน) แล้ว ใครจะเป็นผู้ตั้งคำถามต่อการกระทำของรัฐเช่นนี้ ใครจะเป็นผู้ร่วมกันแก้ไขปัญหาหรือรักษาสิทธิของตนเองที่ถูกละเมิด  

       หัวใจสำคัญของ Active Citizen คือ พลเมืองต้องมีความรู้สึกเป็นเจ้าของสังคม ฉะนั้น หากพลเมืองเป็นเพียงพลเมืองที่ทำตามรัฐทั้งหมด ก็จะเป็นเพียงแค่ประชาชนใต้การปกครอง นอกจากนี้แล้ว ไม่ได้เพียงแค่ปฏิบัติตัวเองให้เป็นพลเมืองดีแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่ยังต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้อื่นเป็นพลเมืองดีด้วยเช่นกัน การนำตัวเองเข้าไปอยู่ในสังคมส่วนรวม จะช่วยในการต่อยอดและพัฒนาความคิด สร้างความสัมพันธ์กับสังคม และสุดท้ายหากทุกคนยังคงนิ่งเฉย ทำหน้าที่ไปวันๆ ก็จะไม่เกิดพลังพลเมืองที่จะสร้างสรรค์สังคมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต

(สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Active Citizen ได้ที่ “ห้องเรียนประชาธิปไตยไม่ได้อยู่แต่ในวิชาหน้าที่พลเมือง” คุยกับ ผศ. อรรถพล อนันตวรสกุล)