กฎหมายเรื่องน่ารู้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว I (เกิด ตาย หมั้น-สมรส-หย่า)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว II (บุตรบุญธรรม เทคโนโลยีเจริญพันธุ์)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว III (มรดก)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา I (ข้อความคิดทั่วไป ความสามารถของบุคคล)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา II (เรื่องเงินทองกับกฎหมาย)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอาญา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอื่นที่สำคัญ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายระหว่างประเทศ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สิทธิมนุษยชน
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และหลักการของสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในเวทีโลกที่มีผลต่อประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา I (ข้อความคิดทั่วไป ความสามารถของบุคคล)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา I (ชุดที่ 1)

HARD

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา I (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

ข้อความคิดทั่วไป : หลักอิสระในทางแพ่งและหลักเสรีภาพ
ในการทำสัญญา

      โดยทั่วไปแล้วหลักอิสระในทางแพ่งและหลักเสรีภาพในการทำสัญญานั้น เป็นสิ่งที่แยกออกจากกันยาก เพราะเป็นหลักที่กลืนกันไปจนแทบจะแยกไม่ออก

      หลักอิสระในทางแพ่ง คือ อำนาจของเอกชนในการตัดสินใจที่จะเอาตนเองเข้าไปผูกพันตนในทางกฎหมายกับบุคคลอื่นไม่ว่าจะเป็นในทางส่วนตัวหรือในทางทรัพย์สิน โดยอิสระที่มีนี้ จำต้องเคารพสิทธิของผู้อื่นและเป็นไปตามกฎหมาย เช่น ในทางส่วนตัว คือการตัดสินใจที่จะแต่งงานกับใครสักคนใช่ว่าจะตัดสินใจได้เอง ต้องถามอีกฝ่ายด้วย ส่วนในทางทรัพย์สิน คือการตัดสินใจจะทำการซื้อขายก็ต้องเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมายและผู้ขายสมัครใจที่จะขายให้ เป็นต้น
      ส่วนหลักเสรีภาพในการทำสัญญา คือ การที่เอกชนทุกคนมีอิสระและเสรีภาพในการตัดสินใจที่จะกำหนดการผูกพันตนในทางกฎหมาย โดยวิธีการแสดงเจตนาในรูปแบบของสัญญา เป็นต้น ซึ่งท้ายที่สุดแล้วกฎหมายก็จะเข้ามารองรับการกระทำที่เราทำลงไปนั้น

      อย่างไรก็ดี นิติกรรมนั้นก็จำต้องเป็นสิ่งที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น โดยหลักทั้งสองนี้ไม่อาจแยกออกจากกันได้ และเป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งในการทำนิติกรรมต่าง ๆ


ความสามารถของบุคคล : “ทำไมความสามารถของแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน?
เป็นเด็กแบบนี้ทำอะไรได้บ้าง?
ทำไมบางอย่างถึงเป็นบุคคลทั้ง ๆ ที่ไม่มีตัวตน”

      เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะรู้สึกขัดใจบ้างเมื่อเราไม่สามารถทำบางอย่างได้ตามกฎหมาย แต่เชื่อเถอะว่าสถานะแบบนี้มันจะอยู่กับเราในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้อยู่กับเราไปตลอดกาล สถานะเช่นนั้นมีขึ้นตามกฎหมายก็เพื่อที่จะปกป้องบุคคลแต่ละประเภทนั่นเอง

ผู้เยาว์

      ตามกฎหมายแล้ว ผู้เยาว์ กับ บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ นั้นเป็นคนเดียวกัน คือ คนที่มีอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ บุคคลเหล่านี้ในสายตาของกฎหมายเวลาที่จะทำนิติกรรมใดๆ ที่จะส่งผลสำคัญต่อตัวผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม หรือ บิดาและมารดาก่อน ด้วยเหตุที่ว่าผู้เยาว์นั้นยังมีอายุน้อยอยู่ อาจขาดสติ และ มิได้ไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะเข้าผูกพันตนเอง

     ดังนั้น ผู้แทนโดยชอบธรรมจึงต้องเข้ามาดูแล อย่างไรก็ดีหากผู้เยาว์ได้กระทำการดังกล่าวไปโดยลำพัง นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆียะ กล่าวคือ ผู้แทนโดยชอบธรรมสามารถบอกล้างนิติกรรมนั้นเสียเพราะเหตุที่ว่านิติกรรมนั้นไม่เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้เยาว์


คนไร้ความสามารถ

      บุคคลที่จะอยู่ภายใต้คำนิยามว่า ไร้ความสามารถ ก็คือผู้ที่วิกลจริตถึงขั้นที่ไม่อาจจัดการการงานอันใดด้วยตนเองได้จึงต้องมีผู้อนุบาลมาคอยดูแล โดยการที่บุคคลจะมีสถานะเป็นคนไร้ความสามารถนั้น ผู้ที่มีอำนาจในการบอกว่าใครเป็นบุคคลไร้ความสามารถและใครเป็นผู้อนุบาลได้นั้นก็คือศาลเท่านั้น และเนื่องด้วยบุคคลไร้ความสามารถไม่สามารถจัดการสิ่งใดได้ด้วยตนเองได้เลย หากบุคคลดังกล่าวได้ทำนิติกรรมลงไปโดยปราศจากความยินยอมของผู้อนุบาลแล้วล่ะก็นิติกรรมดังกล่าวก็จะตกเป็นโมฆียะ และอาจถูกบอกล้างได้ในภายหลัง
      ทั้งนี้การทำนิติกรรมดังกล่าวต้องถูกกระทำลงในขณะที่บุคคลนั้นมีจริตวิกลและคู่สัญญารู้ว่าผู้นั้นวิกลจริต เช่น

ก. เป็นบุคคลไร้ความสามาถที่ศาลมีคำสั่งแล้วว่าให้อยู่ในความอนุบาลของ ข. วันหนึ่ง ก. ได้ซื้อไอโฟนจาก ค. โดยตกลงไปตอนที่ ก. มีจริตวิกล และ ค. ก็เข้าทำสัญญาด้วยทั้งๆ ที่รู้ถึงความบกพร่องของ ก.

      เช่นนี้ ข. ผู้อนุบาลของ ค. ย่อมบอกล้างนิติกรรมซื้อขายไอโฟนนี้ได้ ในทางตรงกันข้าม หากขณะที่ทำนิติกรรมดังกล่าว ข. มิได้มีจริตวิกล หรือ ค. ไม่ได้รู้ถึงความบกพร่องของ ก. เลย เช่นนี้ นิติกรรมดังกล่าวย่อมไม่ตกเป็นโมฆียะ


บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ

      บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ หมายถึง ผู้ที่มีร่างกายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่ายเป็นอาจิณ หรือติดสุรายาเมาจนไม่สามารถทำงานได้จึงต้องมีผู้พิทักษ์มาช่วยดูแลในการทำนิติกรรม ซึ่งผู้ที่สามารถสั่งว่าใครเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถและใครจะเป็นผู้พิทักษ์ได้นั้นเป็นหน้าที่ของศาลเช่นเดียวกับกรณีของบุคคลไร้ความสามารถ ซึ่งในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ของบุคคลเหล่านี้ หากเป็นนิติกรรมสำคัญ เช่น นิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สิน ความยินยอมของผู้พิทักษ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ หากทำนิติกรรมสำคัญไปเองนิติกรรมนั้นย่อมไม่มีผลสมบูรณ์


นิติบุคคล

      ตามกฎหมายแล้วนิติบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่กฎหมายทำการสมมติขึ้นมาให้มีสิทธิหน้าที่เสมือนว่าเป็นบุคคลธรรมดา โดยนิติบุคคลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. นิติบุคคลจัดตั้งตามกฎหมายเอกชน เช่น บริษัทห้างหุ้นส่วน โดยสภาพบุคคลจะเริ่มตั้งแต่เมื่อมีการจดทะเบียนจัดตั้งและสิ้นสุดลงเมื่อมีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลหรือตกเป็นบุคคลล้มละลาย
  2. นิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายมหาชน เช่น กระทรวงกรม วัด (ต้องเป็นวัดที่ได้รับวิสุงคามสีมาเท่านั้น) มหาวิทยาลัยและองค์กรส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ
    ซึ่งสถานะขององค์กรเหล่านี้มักจะปรากฏอยู่ตามกฎหมายจัดตั้ง กล่าวคือได้รับสถานะบุคคลจากกฎหมายนั่นเอง