เมื่อบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เข้ามาอยู่ร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์กัน ก่อให้เกิดการแบ่งปันความคิด สร้างความหมายของการกระทำต่างๆ ร่วมกัน มองเห็นแบบแผนของระเบียบทางสังคม รวมถึงความหมายในเชิงวัฒนธรรมร่วมกัน อีกทั้งยังก่อให้เกิดสถาบันทางสังคมขึ้น เพื่อให้สังคมดำเนินไปอย่างมีเสถียรภาพ แต่ก็ใช่ว่ามนุษย์ทุกคนย่อมมีความคิดในตัวเองที่แตกต่างกันไป และปรารถนาที่อยากจะทำตามอย่างที่ตัวตนต้องการ
เมื่อลองคิดย้อนกลับไปว่า จะเป็นอย่างไรหากมนุษย์ไม่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคมให้เป็นไปอย่างเข้ารูปเข้ารอย แน่นอนว่าก็คงหนีไม่พ้นความสับสนวุ่นวายในสังคม ดังนั้นจำเป็นต้องมี การจัดระเบียบทางสังคม เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขนั่นเอง
เมื่อมองสังคมแยกออกเป็นส่วนๆ จะพบว่า แต่ละส่วนของสังคมนั้นมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป เช่นเดียวกับอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ที่มีหน้าที่แตกต่างกันไป
การจัดระเบียบทางสังคมจึงเป็นกระบวนการทางสังคมที่จะช่วยคนในสังคมมีความประพฤติอยู่ในระเบียบแบบแผนที่สังคมกำหนดไว้ ประกอบไปด้วย สถานภาพ บทบาท และบรรทัดฐานทางสังคม หรือจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวเนื้อเยื่อและอวัยวะให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดประสานกัน ผลที่ตามมาคือเกิดระเบียบในสังคมมนุษย์
สถานภาพมีความสำคัญ เพราะสถานภาพเป็นตัวกำหนดสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกในสังคม
การมีสถานภาพที่แตกต่างกันออกไป ก็ส่งผลต่อการมีสิทธิและหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมันส่งผลให้เรารู้ตัวว่า
ในขณะที่อยู่ในสถานภาพนี้ เรามีบทบาทหน้าที่อะไร
แต่ทว่าในบางครั้ง บทบาทหน้าที่ของสถานภาพหนึ่ง อาจไปขัดแย้งกับบทบาทของสถานภาพหนึ่งก็เป็นไปได้
บทบาท คือ หน้าที่ที่จำเป็นต้องทำ หรือพฤติกรรมที่ถูกคาดหวังว่าจะเป็นตามแต่สถานภาพที่เป็นอยู่
อาจกล่าวได้ว่า บทบาทนั้นเป็นสิ่งที่ต้องมาคู่กับสถานภาพ สถานภาพจะกำหนดบทบาทไว้เสมอ เช่น สถานภาพนักเรียน บทบาทคือ ศึกษาเล่าเรียน
บทบาทของแต่ละคนจะเปลี่ยนไปตามสถานภาพที่ได้รับเสมอ และหากสมาชิกทุกคนทำตามบทบาทที่ตนเองได้รับอย่างเหมาะสม ย่อมทำให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้น
แต่กระนั้น บางทีบทบาทและสถานภาพก็อาจขัดแย้งกันได้เช่นกัน (Conflict of Roles) ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้น
ในกรณีที่บุคคลมีหลายสถานภาพ ณ ขณะเวลาหนึ่งแล้วต้องทำบทบาทหน้าที่ในช่วงเวลานั้น แต่บทบาทที่ว่านั้นกลับ
ขัดแย้งกันเอง
เพื่อให้เกิดความง่ายต่อความเข้าใจ ลองแยกแยะสถานภาพและบทบาทของกรณีศึกษานี้
จากข้อความข้างต้นเราจะเห็น สถานภาพ ที่หลากหลายของดาบตำรวจมานพ นั่นคือการเป็นทั้งตำรวจ พ่อของลูก หลานของน้า ลูกค้าของร้านขายผัก และจากสถานภาพนี้ทำให้เราเห็น บทบาท ที่แตกต่างกันของดาบฯ มานพเช่นเดียวกัน นั่นคือ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ดูแลปกป้องบุตร ให้ความเคารพญาติผู้ใหญ่ และลูกค้าที่มีปฏิสัมพันธ์อันดี และเมื่อมองลึกลงไปอีก เราจะเห็น บทบาทที่ขัดแย้งกัน ของดาบฯ มานพ นั่นคือการเป็นทั้งตำรวจ (รักษาความสงบ ปราบปรามผู้กระทำผิด) และเป็นพ่อ (ดูแลปกป้องลูก) บ่อยครั้งที่การที่บุคคลมีหลายสถานภาพอาจจะก่อให้เกิดความสับสน และความเครียดในการประพฤติตนตามบทบาทที่สถานภาพนั้นให้ไว้
อย่างไรก็ตามในกรณีของดาบฯ มานพ ควรจะต้องยึดหลักที่สังคมโดยรวมเห็นว่าถูกต้อง ในเมื่อลูกชายกระทำความผิดต่อสังคมก็ต้องจับกุมดำเนินคดี ตามบทบาทของตำรวจมากกว่าการเข้าข้างลูกตามบทบาทของพ่อ
มาตรฐานในการประพฤติปฏิบัติของคนในสังคมหนึ่ง ซึ่งสังคมคาดหวังให้ปฏิบัติตาม ช่วยให้เรารู้ว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร อะไรเป็นสิ่งควรทำ ไม่ควรทำ ซึ่งคนในสังคมจะช่วยกันกำหนดขึ้น เพื่อเป็นแนวทางให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติตาม อาจอยู่ในรูปแบบที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ ในสังคมที่มีผู้ปฏิบัติตามบรรทัดฐาน สังคมนั้นก็จะเป็นระเบียบ คนที่ปฏิบัติตามบรรทัดฐานจะได้รางวัล คนละเมิดก็จะถูกลงโทษ
โดยสามารถจัดประเภทบรรทัดฐานทางสังคมได้ 3 ประเภท คือ วิถีประชา จารีต และกฏหมาย
ในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นถูกจัดระเบียบอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่เราไม่สามารถมองเห็นมันได้ แต่เราสามารถรับรู้และปฏิบัติตามไปโดยปกติ
เพื่อความเข้าใจ มาลองแยกแยะความต่างระหว่าง วิถีประชา จารีต และกฏหมายกัน
จากเรื่องราวข้างต้น ทำให้มองเห็นกระบวนการจัดระเบียบสังคมดังนี้
กระนั้น การที่จะเรียนรู้บรรทัดฐานของสังคมได้ ก็ต้องมาจากการเรียนรู้ของมนุษย์ ไม่มีใครเกิดมาแล้วจะสามารถรู้เลยว่าต้องทำตัวอย่างไร ถ้าไม่มีใครสอน
การขัดเกลาทางสังคม จึงเปรียบเสมือนกระบวนการที่จะหล่อหลอมความคิด วัฒนธรรม บรรทัดฐาน
เพื่อช่วยให้คนสามารถใช้ชีวิตในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมได้อย่างปกติ ผ่านกลไกต่างๆ ทางสังคม
ซึ่งการขัดเกลาทางสังคมนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต
การขัดเกลาทางตรง เป็นการขัดเกลาผ่าน
การสอนสั่ง หรือการพูดคุยกันโดยตรง เช่น การเรียนการอบรมสั่งสอน การพูดคุย ผู้ถูกขัดเกลารู้ตัวว่ากำลังถูกสอนอยู่
การขัดเกลาทางอ้อม ไม่มีการปฏิสัมพันธ์กันโดยตรงระหว่างบุคคล โดยมากอาจเกิดจากการเลียนแบบ การรับรู้ด้วยตนเอง เช่น
การอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ ซึ่งผู้ถูกขัดเกลาจะรับรู้กระบวนการนี้โดยไม่รู้ตัว และค่อยซึมซับไป กระบวนนี้อาจจะช้ากว่าการขัดเกลาโดยตรง
การขัดเกลาทางสังคมสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต หากให้จำแนกหน่วยที่ทำหน้าที่
ในการขัดเกลา และมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้โลกทางสังคมของสมาชิกในสังคม สามารถแบ่งได้ดังนี้
อย่างที่บอกไปแล้วว่าการขัดเกลาทางสังคม ทำให้คนสามารถดำงรงชีวิตได้อย่าง “ปกติ” ในสังคม เพราะเป็นการปลูกฝังระเบียบ สิ่งที่สังคมเห็นว่าดีงาม บทบาทหน้าที่ตามสถานภาพ ความคาดหวังของสังคม รวมถึงทักษะความรู้อันเป็นประโยชน์ไปที่บุคคล หากปราศจากการขัดเกลาเราจะไม่สามารถอยู่ในสังคมได้ ยกตัวอย่างเช่น
Feral Children หรือเด็กที่ถูกทอดทิ้ง เด็กเหล่านี้คือเด็กที่เติบโตมาโดยปราศจากการขัดเกลาทางสังคม เนื่องมาจากไม่มี “มนุษย์” คอยเลี้ยงดู หรือ Lobo Wolf Girl เด็กหญิงในฝูงหมาป่า และ Genie เด็กสาวที่เติบโตมากับเก้าอี้
ยังมีอีกหลายกรณีที่ไม่ได้ถูกยกตัวอย่าง สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันของเด็กเหล่านี้คือ พวกเขาไม่ได้เติบโตมากับการเลี้ยงดูจากสถาบันครอบครัว หรือใดๆ ทั้งสิ้น ตรงกันข้าม บางคนเติบโตในป่ากับฝูงสัตว์ บางคนถูกขังไว้ให้มีชีวิตร่วมกับสัตว์ในบ้านของตัวเอง สถาพแวดล้อมเช่นนี้ก็เป็นกระบวนการขัดเกลาทางอ้อม ที่พวกเขาเรียนรู้และซึมซับมาจากพฤติกรรมของสัตว์ในรูปแบบต่างๆ บางคนมีการแสดงท่าทางแบบลิง บางคนคุยกับคนไม่รู้เรื่องแต่คุยกับนกได้ หรือ Genie แม้ไม่ได้เติบโตกับสัตว์แต่พฤติกรรมการเดินของเธอคล้ายกระต่าย และไม่สามารถสื่อสารกับมนุษย์ได้ เด็กกลุ่มนี้เป็นตัวอย่างที่สามารถเปรียบให้เห็นชัดเจนว่า หากขาดกระบวนการขัดเกลาทางสังคมไปแล้ว การดำรงชีวิตจะผิดปกติไปอย่างไร
ทว่าในแต่ละสังคมนั้น ย่อมมีค่านิยม บรรทัดฐาน และวัฒนธรรมที่ต่างกัน ดังนั้น กระบวนการในการขัดเกลาทางสังคมย่อมมีความแตกต่างกัน ส่งผลให้ผลลัพทธ์ของการขัดเกลาแตกต่างกันด้วย เช่น วัฒนธรรมการยืนตรงก่อนภาพยนตร์จะฉายในโรงภาพยนต์ของคนไทย ในขณะที่ คนไทยแทบจะลุกขึ้นยืนโดยอัตโนมัติ แต่ชาวต่างชาติบางกลุ่มกลับสงสัยว่าทำไมต้องยืน เพราะในบางประเทศนั้นไม่ได้มีการขัดเกลาทางสังคมเกี่ยวกับการแสดงความเคารพพระมหากษัตริย์เหมือนเช่นในประเทศไทย เมื่อเราพบเห็นคนไม่ยืนในโรงภาพยนต์ เราจึงรู้สึกว่าคนกลุ่มนั้น “ผิดปกติ”
ด้วยเหมือนกัน
โครงสร้างทางสังคม ทำให้คนสามารถมองเห็นแบบแผนในการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น แม้จะจับต้องไม่ได้ แต่ก็สามารถรับรู้ได้ ในขณะที่ การจัดระเบียบทางสังคม เป็นกระบวนการที่ทำให้ผู้คนรู้ว่า ควรทำ หรือไม่ควรทำอะไรในสังคมนั้น เพื่อให้สังคมดำเนินไปอย่าง
ปกติสุข ซึ่งกระบวนการที่ว่านั้นก็ต้องถูกสอนและถูกปลูกฝังกันอยู่ตลอดเวลา อาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ซึ่งนั่นก็คือ การขัดเกลาทางสังคมนั่นเอง
สรุปง่ายๆ สังคมก็เหมือนตัวเรา การที่เราจะดำรงชีวิตอยู่ได้เริ่มต้นจากการมีเซลล์ต่างๆ (มนุษย์) เข้ามาอยู่ร่วมกัน (Social Interraction) เป็นเนื้อเยื่อ (กลุ่มทางสังคม)
เมื่อเนื้อเยื่อมีจำนวนมากขึ้น ก็ต้องมีการจัดให้เข้ารูปเข้ารอยเป็นอวัยวะ (สถาบันทางสังคม) อวัยวะเหล่านี้จะอยู่ภายใต้ร่างกาย (โครงสร้างทางสังคม) โดยทำงานตามหน้าที่และแบบแผนการทำงานของตนเอง เพื่อให้เซลล์ต่างๆ ไหลเวียนไปในร่างกายอย่างปกติ (การจัดระเบียบทางสังคม) แต่ต้องเป็นการทำงานที่สอดประสานกัน ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างอยากจะทำอะไรตามใจ จำเป็นต้องมีกระบวนการที่ทำให้รู้ว่าอะไรทำได้-ไม่ได้ (การขัดเกลาทางสังคม) ที่เป็นเช่นนั้นก็เพื่อให้ร่างกาย ซึ่งเป็นหลักใหญ่ในการยึดเหนี่ยวอวัยวะเหล่านั้นให้ดำรงอยู่ได้ และอยู่ในสภาพที่ปกติดีนั่นเอง