กฎหมายเรื่องน่ารู้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว I (เกิด ตาย หมั้น-สมรส-หย่า)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว II (บุตรบุญธรรม เทคโนโลยีเจริญพันธุ์)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว III (มรดก)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา I (ข้อความคิดทั่วไป ความสามารถของบุคคล)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา II (เรื่องเงินทองกับกฎหมาย)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอาญา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอื่นที่สำคัญ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายระหว่างประเทศ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สิทธิมนุษยชน
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และหลักการของสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในเวทีโลกที่มีผลต่อประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

กฎหมายอาญา

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

กฎหมายอาญา (ชุดที่ 1)

HARD

กฎหมายอาญา (ชุดที่ 2)

กฎหมายอาญา

เนื้อหา

กฎหมายอาญา : เมื่อชีวิตตกอยู่ในอันตราย กฎหมายจะช่วยอะไรเราได้?

     
      กฎหมายอาญา มีลักษณะเป็นกฎหมายมหาชน กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่รัฐใช้ลงโทษเอกชนที่ทำความผิดซึ่งขัดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม และด้วยความที่เป็นกฎหมายที่เป็นการลงโทษและจำกัดเสรีภาพของคน ดังนั้น จึงต้องใช้การตีความอย่างเคร่งครัดและต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้ง        

      ดังนั้น หากบุคคลได้กระทำการใด ๆ ลงไป แต่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด บุคคลก็ไม่ต้องรับโทษ และหากเวลาผ่านไปกลับมีกฎหมายออกมาแล้วบอกว่าการกระทำที่ทำไปในอดีตนั้นมีความผิด กฎหมายอาญาก็จะไม่ย้อนหลังกลับไปลงโทษบุคคลนั้น เพราะกฎหมายอาญามีหลักการอีกประการที่สำคัญก็คือ กฎหมายอาญาไม่มีผลย้อนหลัง

      กรณีที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด นั่นก็หมายความว่าหากเป็นกรณีที่เป็นคุณ กฎหมายอาญาสามารถย้อนหลังให้ได้ เช่น

โทษฐานลักทรัพย์ต้องจำคุก 5 ปี นาย ก. รับโทษไปแล้ว 2 ปี มีกฎหมายออกมาว่า โทษจำคุกฐานลักทรัพย์ให้ลดเหลือเพียง 3 ปี เช่นนี้ นาย ก. ย่อมได้รับประโยชน์จากกฎหมายใหม่นี้ และเหลือเวลารับโทษอีกเพียง ปีเดียวเท่านั้น

      กฎหมายอาญานั้นจะต้องพิจารณาถึงหลักดินแดนก่อน กล่าวคือ กฎหมายอาญาของไทยจะมีผลก็ต่อเมื่อผู้นั้นกระทำความผิดภายในราชอาณาจักรไทย รวมถึงการกระทำในท่าอากาศยานไทย เช่น

ก. ยิง ข. ขณะอยู่บนเครื่องบินของการบินไทย ขณะที่เครื่องบินจอดอยู่ที่ลาว เช่นนี้ ก. ทำความผิดในราชอาณาจักรไทยสามารถดำเนินคดีกับ ก. ได้    

      เว้นแต่ความผิดบางประการที่กฎหมายอาญาบอกว่าไทยสามารถนำมาลงโทษได้แม้ทำนอกราชอาณาจักร เช่น วางแผนก่อการร้ายประเทศไทย ขณะที่อยู่ที่ประเทศอังกฤษหรือปลอมแปลงเงินตราไทย เป็นต้น 


การพิจารณาว่าบุคคลใดมีความผิดในทางอาญาหรือไม่นั้น

จะพิจารณาดังต่อไปนี้

  1. มีการกระทำ หรือองค์ประกอบภายนอก หรือไม่กระทำในทางกฎหมายอาญานั้น คือ การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึกในการกระทำนั้น เช่น ยิงปืนใส่ ก. ก็ต้องรู้ว่าตนเองถือปืนและเหนี่ยวไกไปยัง ก.         
  2. มีเจตนาในการกระทำความผิดนั้น หรือ องค์ประกอบภายใน คือ เจตนาที่จะกระทำเช่นนั้นต่อบุคคลนั้นจริง ๆ เช่น
    A จะยิง ก. ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า A ทำเช่นนั้น เพื่อจะฆ่า ก. จริง ๆ ไม่ใช่ว่า A ถูกสะกดจิต หรือ ละเมอ (เป็นการกระทำโดยไม่รู้สำนึก) ไปยิง ก.
    เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นแม้จะมีการกระทำในทางข้อเท็จจริง แต่ไม่ได้มีเจตนาที่จะเอาชีวิตของ ก. เช่นนี้ A ก็จะไม่มีความผิดฐานฆ่าคนตาย ซึ่งการกระทำบางครั้งอาจเป็นการกระทำโดยไม่เจตนาก็เป็นได้ เช่น
    ก. ใช้มีดแทง ข. โดยมุ่งทำร้ายร่างกาย ข. แต่ปรากฏว่าแผลนั้นกลับติดเชื้อ และ ข. เสียชีวิตลงในที่สุด เช่นนี้ ข. ก็มีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา
    เพราะไม่ได้มีเจตนาจะฆ่าให้ตายแต่แรก เพียงแค่จะทำร้ายเท่านั้น หรือบางครั้งอาจเป็นการกระทำโดยประมาท คือหากได้ใช้ความระมัดระวังแม้เพียงน้อยนิดตามวิสัยวิญญูชนทั่วไป ก็จะไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้น เช่น
    ก. ขับรถด้วยความเร็ว ข. กำลังจะข้ามถนน แต่ ก. หยุดรถไม่ทันจึงชน ข. จนถึงแก่ชีวิต
    เช่นนี้ เห็นได้ว่า ก. มิได้มีเจตนาที่จะชน ข.แต่อย่างใด หากเพียงแค่ ก. ขับรถตามความเร็วที่กฎหมายกำหนด ก. ก็จะหยุดรถทันและไม่ชน ข. จนถึงแก่ความตาย เป็นต้น         
  3. มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดและต้องรับโทษ เช่น ผู้ใดฆ่าผู้อื่นต้องระวางโทษฐานฆ่าคนตาย ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปต้องระวางโทษฐานลักทรัพย์ เป็นต้น 
  4. ไม่มีเหตุยกเว้นความผิดตามกฎหมาย  
    a. เหตุป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ก. ถือมีดเข้ามาจะแทง ข. ดังนั้นเพื่อป้องกันตนเอง ข. จึงเอามีดแทงสวน ก.ไป อย่างนี้เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและพอสมควรแก่เหตุ ข. ก็จะไม่มีความผิดที่แทง ก. เพราะอ้างเหตุป้องกันจำเป็นได้
    b. มีจารีตประเพณีให้ทำได้ เช่น การแข่งขันชกมวย แม้จะเป็นการทำร้ายร่างกายกันแต่ก็ไม่ผิดกฎหมาย เพราะเป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงการทำร้ายร่างกายได้ และมีกีฬานี้อยู่มานานแล้ว
    c. เป็นการกระทำที่ผู้เสียหายยินยอมโดยการยินยอมนี้ต้องไม่ใช่เรื่องที่ขัดต่อความเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น ยอมให้เพื่อน
    เข้าไปหา ที่บ้าน เช่นนี้เพื่อนไม่มีความผิดฐานบุกรุก แต่ถ้ายอมให้คนอื่นฆ่าตนเอง เช่นนี้ทำไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่ขัดต่อสำนึกของวิญญูชนทั่วไป 
  5. ไม่มีเหตุยกเว้นโทษ

    a. กระทำโดยจำเป็น เช่น ก. เอาปืนจ่อ ข. แล้วบอกว่าจะยิงถ้า ข.ไม่ยอมทำร้าย ค.
    เช่นนี้ ข. ย่อมเป็นผู้ที่ตกอยู่ในภยันตรายอันถึงแก่ชีวิตของตนเเล้ว หาก ข. ทำร้าย ค.
    ไป เช่นนี้ ข. ย่อมมีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ค.แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้
    b. กระทำไปเพราะความมึนเมา ทั้งนี้ต้องเป็นความมึนเมาที่เกิดจากความไม่ตั้งใจเท่านั้น ไม่ใช่ว่า
    เสพยาเพื่อที่จะได้ฆ่าคนแล้วไม่รู้สึกผิด เช่นนี้กฎหมายจะไม่ยกโทษให้

การกระทำความผิดทางอาญา         

      การกระทำความผิดในทางอาญานั้น อาจแยกพิจารณาได้ เช่นนี้       

  1. การคิด คือ ยังไม่ได้กระทำ ขั้นนี้ยังไม่มีความผิดทางกฎหมายอาญา
  2. การตกลงใจ คือ คิดแล้วว่าจะทำแต่ยังไม่ได้ทำ จึงยังไม่มีความผิด   
  3. การตระเตรียมการ ขั้นนี้โดยทั่วไป ความผิดยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงยังไม่มีความผิด แต่ความผิดทางอาญาบางประการแม้อยู่ในขั้นนี้ก็มีความผิดแล้ว เช่น ความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ เป็นต้น
  4. การพยายามกระทำความผิด คือ มีการกระทำแล้ว แต่ผลไม่ได้เกิดแบบที่ตั้งใจไว้แต่แรก เช่น ตั้งใจจะยิงให้ตาย แต่อีกฝ่ายแค่บาดเจ็บ เท่านั้น เช่นนี้ผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา   
  5. การกระทำความผิดสำเร็จ คือ กระทำการลงไปแล้ว และผลเป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ เช่น ตั้งใจจะยิงให้ตายแล้วก็ตายจริง เป็นต้น

ผู้กระทำความผิดทางอาญา   

      เกิดได้ 3 กรณี ดังต่อไปนี้

  1. ตัวการ คือ ผู้ที่ลงมือทำความผิดโดยตรง         
  2. ผู้ใช้ คือ ผู้ที่ก่อให้คนอื่นกระทำความผิด ไม่ว่าจะเป็นการจ้างวานหรือยุยง อาจลงโทษได้ กรณี คือ หากความผิดกระทำลงไปแล้วต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการ แต่ถ้าทำไม่สำเร็จความผิดจะเหลือแค่ ใน 3  ของโทษที่ระวางไว้ในความผิดแต่ละฐานนั้น ๆ          
  3. ผู้สนับสนุน คือ ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้กระทำความผิดนั้นๆ โดยอาจรับโทษ 2 ใน หากความผิดนั้นได้กระทำลง แต่ไม่ต้องรับโทษเลยหากความผิดนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเลย ตัวอย่างเช่น
ก. ต้องการฆ่า ข. จึงจ้าง ค. ไปฆ่า โดย ค.ไปขอยืมปืนจาก A โดย  ก็ให้ยืมไปทั้งๆที่รู้ว่า ค. จะเอาไปฆ่า ข. สุดท้าย ค. ฆ่า ข. สำเร็จ

      กรณีเช่นนี้ พิจารณาได้ว่า ก. นั้นเป็นผู้ใช้ เพราะเป็นผู้ที่จ้างให้ ค.ไปฆ่า ส่วน ค. ผิดฐานตัวการ เพราะเป็นผู้ลงมือกระทำโดยตรง ส่วน  นั้นเป็นผู้สนับสนุน ด้วยเหตุที่ว่า ให้ ค. ยืมปืนไป เป็นการอำนวยความสะดวกในการฆ่าคนนั่นเอง


โทษทางอาญา     

      มีทั้งหมด สถาน เรียงจากน้อยไปหามาก ดังนี้

  1. ริบทรัพย์ คือการเอาทรัพย์นั้นมาเป็นของรัฐ
  2. ปรับ การปรับเงินตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
  3. กักขัง การกักตัวเอาไว้ในพื้นที่อื่นนอกจากเรือนจำ
  4. จำคุก การนำตัวไปขังที่เรือนจำตามเวลาที่ศาลพิพากษาไว้         
  5. ประหารชีวิ การฉีดสารพิษเข้าสู่ร่างกาย

ประเภทความผิดทางอาญา   

ความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นความผิดที่ไม่สามารถตกลงยอมความกันได้ เพราะรัฐเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำ การปราบปรามโดยความผิดประเภทนี้ รัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้เลยโดยไม่ต้องมีการร้องทุกข์ เช่น ฆ่าคนตาย ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น     
ความผิดต่อส่วนตัว เป็นความผิดที่สามารถตกลงให้ผู้เสียหายยอมความได้ และรัฐสามารถดำเนินคดีได้ก็ต่อเมื่อมีผุ้เสียหาย
มาร้องทุกข์เท่านั้น
เช่น ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ความผิดฐานหมิ่นประมาท เป็นต้น
ความผิดลหุโทษ เป็นความผิดสถานเบา คือ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ เช่น ความผิดฐานดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า

ประเภทความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่น่าสนใจ       


  1. ลักทรัพย์ เอาสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต
  2. วิ่งราวทรัพย์ ฉกฉวยซึ่งหน้า
  3. ชิงทรัพย์ ใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อเอาทรัพย์ไปในขณะนั้น
  4. ปล้นทรัพย์ ร่วมกันชิงทรัพย์ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
  5. ยักยอกทรัพย์ เบียดบังเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตนหรือเบียดบังทรัพย์ที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยมาเป็นของตนเอง
  6. กรรโชกทรัพย์ ข่มขืนใจผู้อื่นว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์ที่ตนเองต้องการ

ความผิดอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

  • ซ่องโจร คน คนขึ้นไปสมคบกันทำผิดทางอาญา        
  • ก่อการจลาจล คน 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญเพื่อทำให้บ้านเมืองวุ่นวาย      
  • อั้งยี่ คณะบุคคลปกปิดวิธีดำเนินการ และมุ่งหมายทำผิดกฎหมาย       
  • การข่มขืนกระทำชำเรา ในปัจจุบันรวมถึงการที่หญิงกระทำชาย ชายกระทำหญิง หรือ เพศเดียวกันกระทำต่อกันเองด้วย โดยมีความผิดหากนำอวัยวะเพศ อวัยวะอื่นใด หรือ อุปกรณ์ใดๆ ล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอีกฝ่ายโดยหากกระทำต่อผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ผู้ข่มขืนมีความผิดทุกกรณี แต่ถ้าเกินกว่า 15 ปี ไม่มีความผิดหากผู้นั้นยินยอมที่จะร่วมเพศด้วย 
  • หากเป็นการนำอวัยวะเพศ อวัยวะอื่นใด หรืออุปกรณ์ใดๆไปสัมผัสกับเนื้อตัวร่างกายของอีกฝ่าย จะเป็นความผิดฐานอนาจารไม่ใช่ข่มขืนกระทำชำเรา

ทีมผู้จัดทำ