กฎหมายเรื่องน่ารู้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว I (เกิด ตาย หมั้น-สมรส-หย่า)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว II (บุตรบุญธรรม เทคโนโลยีเจริญพันธุ์)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว III (มรดก)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา I (ข้อความคิดทั่วไป ความสามารถของบุคคล)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา II (เรื่องเงินทองกับกฎหมาย)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอาญา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอื่นที่สำคัญ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายระหว่างประเทศ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สิทธิมนุษยชน
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และหลักการของสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในเวทีโลกที่มีผลต่อประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

รูปแบบและโครงสร้างอำนาจรัฐ

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

รูปแบบและโครงสร้างอำนาจรัฐ (ชุดที่ 1)

HARD

รูปแบบและโครงสร้างอำนาจรัฐ (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

รูปแบบและโครงสร้าง
อำนาจรัฐ 
“ประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ?”

      คำถามที่หลายคนเคยได้ยินในวิชาประวัติศาสตร์ไทย บ้างก็ว่าราชธานีแห่งแรกของไทย เริ่มต้นที่กรุงสุโขทัย ตามด้วยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ ตามลำดับ บ้างก็ว่าไทยมีประวัติศาสตร์อันยาวนานมาแต่ดั้งเดิม เริ่มต้นชนชาติไทยอยู่ในแผ่นดินนี้มาตั้งแต่ในสมัยอาณาจักรทวารวดีบ้าง ละโว้ ศรีวิชัย หริภุญชัย กระจายกันตามภูมิภาคต่างๆ บ้าง หรือสรุปได้ว่าประวัติศาสตร์ไทยมีมายาวนานนับพันปี

      แต่รู้หรือไม่ว่า ที่จริงแล้วคำว่า “ไทย” เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 แต่เดิมก่อนหน้านั้นเรามีชื่อเรียกกันว่า “สยาม” และรู้หรือไม่ว่า รัฐสยามจริง ๆ เพิ่งเกิดขึ้นมาเพียงแค่ร้อยกว่าปีเท่านั้น เผลอๆ เกิดทีหลังสหรัฐอเมริกาเสียอีก


ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?

      นั่นก็เพราะ แนวคิดเรื่อง รัฐสมัยใหม่ (Modern State) อันเป็นแนวคิดว่าด้วยเรื่องเขตแดนของประเทศต่างๆ นั้นเพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานนัก แต่เดิมแนวคิดเรื่อง รัฐชาติ นั้นยังไม่ปรากฏชัดเจน การอ้างอิงตนเองว่าเป็นคนที่ไหน จึงเป็นการอ้างจากพื้นที่ เมืองที่ตัวเองอาศัยอยู่ เช่น เป็นคนจากกรุงศรีฯ เป็นคนบางระจัน เป็นต้น ดังนั้น เส้นแบ่งเขตแดนในหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ที่พบในยุคปัจจุบัน คือการแบ่งเขตแดนที่เกิดจินตนาการจากคนในยุคสมัยปัจจุบันเท่านั้น เราไม่สามารถบอกได้เลยว่า อาณาจักรสุโขทัย มีพื้นที่ที่แท้จริงเท่าไหร่กันแน่ เนื่องจากผู้คนและผู้ปกครองในสมัยนั้นไม่ได้สนใจเรื่องพรมแดนนั่นเอง

      คำว่า ประเทศ (country) ชาติ (nation) และรัฐ (state) คำทั้ง 3  ในวงการวิชาการนั้น ความหมายแต่ละคำถูกเน้นหนักไปในขอบเขตที่ต่างกัน

  1. ประเทศ (Country) เป็นคำที่เราคุ้นหูมากที่สุด เมื่อพูดถึงประเทศ ความหมายจึงถูกครอบคลุมในรูปแบบของ เขตแดน ขอบเขตของพื้นที่ เราอาศัยอยู่ที่ไหนนานๆ นั่นหมายความว่าเราเป็นคนของประเทศนั้น ซึ่งในปัจจุบันคำว่า ประเทศ มักถูกผูกไปกับความหมายของ ชาติ เช่น คนไทย ก็หมายถึงคนที่อาศัยในประเทศไทย คนไต้หวัน ก็คือคนที่อยู่ในประเทศไต้หวัน
  2. ชาติ (Nation) หมายถึง กลุ่มคนที่มีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกัน อาจกล่าวได้ว่า ความเป็นชาติก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันจนเกิดเป็นประเทศ ความน่าฉงนของนิยามชาติ คือ แม้ใช้ชีวิตอยู่ในที่เดียวกัน แต่ถ้าไม่ได้พูดภาษาเดียวกัน หรือมีอะไรที่เหมือนกัน
    เรากลับมีความรู้สึกไม่ใช่ชาติเดียวกัน ยกตัวอย่าง ในอดีตที่ได้มีการเรียกกลุ่มคนทางตอนเหนือ หรือ ล้านนาว่า พวกลาว เนื่องด้วยการใช้ภาษาและวัฒนธรรมที่ต่างกัน ภายหลังได้มีการรวมล้านนาเป็นหัวเมืองทางตอนเหนือของสยาม แต่ชาวล้านนาก็ยังถือตนว่าเป็น คนเมือง ไม่ใช่คนไทยตามที่สยามอยากให้เป็น
  3. รัฐ (state) เป็นคำใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ หมายถึง พื้นที่ที่มีองค์ประกอบหลัก 4 ประการคือ ดินแดน ประชากร รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย ความหมายของคำว่ารัฐ ถูกเน้นไปที่ ขอบเขตของการใช้อำนาจทางการเมือง มากกว่าลักษณะวิถีชีวิต ชาติพันธุ์ของประชาชน

รู้ได้อย่างไรว่าแบบไหนคือรัฐ    

      หากเราย้อนเวลากลับไปก่อนศตวรรษที่ 17 คำว่า รัฐ เป็นคำที่แทบจะไม่มีใครรู้จัก เพราะ “รัฐสมัยใหม่” (Modern State) ได้เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนขึ้น ภายหลังจากการลงนามในสนธิสัญญาเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) เมื่อปี 1648 หรือเรียกง่ายๆ ว่า ความเป็นรัฐเพิ่งจะมามีตัวตนแน่นอนมาเพียงแค่ 300
กว่าปีเท่านั้น  ซึ่งผลพวงจากเวสต์ฟาเลียนั้น ได้สร้างองค์ประกอบที่สำคัญ อันเป็นลักษณะเด่นของรัฐขึ้นมา 4 องค์ประกอบ ให้เราเข้าใจได้ดังนี้
  1. ดินแดน : ที่ชัดเจนแน่นอน เพราะเป็นสิ่งที่กำหนดขอบเขตของการใช้อำนาจของรัฐ
  2. ประชากร : ผู้อาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องและยาวนานพอสมควรในพื้นที่ของรัฐนั้น
  3. รัฐบาล : สถาบันที่ทำหน้าที่ปกครองผู้อาศัยอยู่ภายในขอบเขตดินแดน โดยอาจมีทั้งถาวรและชั่วคราว
  4. อำนาจอธิปไตย : หรือที่เรียกว่า อำนาจในการปกครองตนเอง ปราศจากการควบคุมและแทรกแซงจากภายนอก และรวมถึงความสามารถในการมีความสัมพันธ์กับรัฐอื่นๆ อย่างเท่าเทียมกันด้วย          

      ถ้าประเทศใด มีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ประการนี้แล้ว สามารถอนุมานได้ว่าเป็น รัฐ โดยที่ไม่ต้องคำนึงถึงขนาดของพื้นที่ จำนวนประชากร หรือประวัติศาสตร์ใดๆ เรียกได้ว่า ไม่ว่าจะมีขนาดพื้นที่ใหญ่หรือเล็ก มีประชากรมากหรือน้อย ก็มีศักดิ์ศรีความเป็นรัฐเท่ากัน

      นอกจากนี้ เรายังสามารถแบ่งรูปแบบของรัฐออกไปได้อีก 2 รูปแบบ คือ          

  1. รัฐเดี่ยว (unitary state) หรือรัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงรัฐบาลเดียวที่มีอำนาจในการบริหารประเทศ เช่น ราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน ฯลฯ         
  2. รัฐรวม (compound state) ก็คือมีรัฐรวมกันตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป มีรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นกระจายอำนาจกันบริหารประเทศ แยกย่อยไปอีกเป็น สหพันธรัฐ (federation state) ที่รวมตัวกันภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างสหรัฐอเมริกา (United State) หรือสหราชอาณาจักร (United Kingdom) สมาพันธรัฐ (confederation state) ที่รวมกันภายใต้สนธิสัญญา เช่น สมาพันธรัฐอเมริกาภายหลังได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษ ในช่วง 10 ปีแรก หรือ สมาพันธรัฐเยอรมัน ช่วงปี 1815 – 1866 

      ส่วนในปัจจุบัน ประเทศที่ปกครองแบบสมาพันธรัฐในปัจจุบันไม่มีแล้ว แต่ สหภาพยุโรป (EU) ก็มีลักษณะใกล้เคียงกับสมาพันธรัฐอยู่บ้าง 


ย้อนมองไทย : รัฐสยามเกิดขึ้นหลังสหรัฐอเมริกาจริงหรือไม่          

      แนวคิดเรื่องรัฐสยาม เริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.4) มีการเอ่ยถึง “อาณาจักรสยาม” บ้างในราชสาส์นที่ส่งไปยังประเทศตะวันตก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า รัฐสยามเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) ที่ได้มีการปฏิรูประบบการเมือง ดึงอำนาจเข้าสู่เมืองหลวง รวมอาณาจักรต่างๆ ที่เคยเป็นอิสระเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสยาม อย่างล้านนาทางเหนือ รัฐปาตานีทางใต้ กำหนดเส้นเขตแดนประเทศให้ชัดเจนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

      ในขณะที่ฝั่งอเมริกา การก่อรูปของอเมริกาเริ่มเกิดขึ้นค่อนข้างชัดเจนหลังสงครามปฏิวัติอเมริกาขึ้นเพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ที่ได้สิ้นสุดลงใน พ.ศ.2326 (ค.ศ. 1783) ดังนั้น หากเรานำแนวคิดรัฐสมัยใหม่ (Modern State) มาพิจารณา จะได้ข้อสรุปที่ค่อนข้างชัดเจนว่า รัฐไทย ในความหมายของรัฐชาติสมัยใหม่ (modern state nation) เกิดขึ้นภายหลังการก่อตั้งสหรัฐอเมริกา เพราะเมื่อเปรียบเทียบจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์แล้วสหรัฐอเมริกาก่อตั้งเมื่อราวศตวรรษที่ 2300 ในขณะที่รัฐไทยเริ่มก่อรูปขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 2400 หรือในอีก 100 ปีถัดมานั่นเอง          

      การจัดระเบียบการปกครองสรุปใจความสำคัญการบริหารราชการของไทย แบ่งออกเป็น ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นการบริหารราชการส่วนกลาง ใช้หลักการรวมอำนาจ กล่าวคือ ส่วนกลางมีอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการ รวมถึงการแต่งตั้ง สรรหาเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย กระทรวง ทบวง กรมการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการแบ่งอำนาจ หมายถึง ส่วนกลางจะมอบอำนาจในการทำกิจการบางอย่างให้เกือบทั้งหมด ยกเว้นการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วย จังหวัด อำเภอการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ใช้หลักการกระจายอำนาจ โดยส่วนกลางได้กระจายอำนาจให้ ในรูปแบบของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการตัดสินใจ และงานบุคคลากรทั้งหมด

      ผู้นำท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพฯ พัทยา)       

      จากหลักฐานที่ปรากฏ อาจเริ่มต้นอภิปรายการบริหารราชการแผ่นดินของไทยได้ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ได้กล่าวว่า ยุคนั้นได้มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก และให้ราษฏรต่างช่วยกัน “ถือบ้านถือเมือง” โดยไม่ทราบว่าใครเป็นเจ้าเมืองที่แท้จริงในเขตต่างๆ ล่วงมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แบ่งแยกการบริหารออกเป็น ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร โดยมี สมุหนายก ควบคุมกิจการพลเรือน ซึ่งประกอบไปด้วย กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง กรมนา (หรือเรียกว่า จตุสดมภ์) และหัวเมืองฝ่ายเหนือ ส่วนฝ่ายทหารมีสมุหกลาโหม เป็นผู้ดูแล รวมทั้งทำหน้าที่ควบคุมหัวเมืองฝ่ายใต้ด้วย          

      ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงแรกยังคงยึดหลักการบริหารราชการแบบกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ทรงปฏิรูปการบริหารราชการ ยกเลิกตำแหน่งเสนาบดีทั้ง 2 และจัตุสดมภ์ ให้การบริหารเป็นรูปแบบกระทรวงต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 12 กระทรวง ยกเลิกระบบหัวเมืองแบบเดิม จัดตั้ง มณฑล เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ขึ้นมา


 การจัดระเบียบการปกครอง

      การบริหารราชการแผ่นดินของไทยในปัจจุบัน จะมีอยู่ 3 แนวคิดใหญ่คือ การรวมอำนาจ การแบ่งอำนาจ และการกระจายอำนาจ ซึ่งการบริหารราชการส่วนกลางของไทยในปัจจุบัน อ้างอิงตาม พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2553)  ได้ระบุการจัดระเบียบการปกครองของไทยออกเป็น 3 ส่วน คือ           

   การบริหารราชการส่วนกลาง                

      ใช้หลักการรวมอำนาจ (Centralization) โดยให้อำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการ ในการจัดทำบริการสาธารณะ บังคับบัญชา สรรหา แต่งตั้ง อยู่ที่ส่วนกลางทั้งหมด ซึ่งส่วนกลางที่ว่านี้ ประกอบไปด้วยสำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหาร ทำหน้าที่เกี่ยวกับการราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี ที่อยู่นอกเหนือจากอำนาจของกระทรวง ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 19 กระทรวง อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทำหน้าที่ในการวางแผนดำเนินงาน กำหนดนโยบาย ต่างๆ สำหรับการบริหารประเทศ ทบวง หน่วยบริหารที่มีสถานะยังไม่ถึงกับเป็นกระทรวงได้ กรม หน่วยบริหารย่อยสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือกระทรวง หรือทบวง มีอธิบดีเป็นผู้บริหารส่วนราชการอื่นที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง มีฐานะเทียบเท่ากรม มีทั้งสิ้น 9 หน่วยงาน เช่น  สำนักราชวัง สำนักเลขาธิการ ราชบัณฑิตยสถาน ฯลฯ               

      ข้อดีของการบริหารราชการส่วนกลาง คือ เกิดเอกภาพในการบริหารงาน เนื่องจากมีการใช้แบบแผนเดียวกันในการบริหาร และบังคับใช้ทั่วประเทศ งบประมาณที่ใช้ในการจัดทำบริหารสาธารณะต่างๆ มีมากกว่าส่วนอื่น ทำให้สะดวกต่อการดำเนินงาน เจ้าหน้าที่จากส่วนกลางมักมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสูงกว่าท้องถิ่น ทำให้การปฏิบัติงานมีมาตรฐานแบบเดียวกัน           
      ข้อจำกัดของการบริหารราชการส่วนกลาง คือ ความล่าช้าในการทำงาน เนื่องจากเป็นการบังคับบัญชาหลายขั้นตอนจากเจ้าหน้าที่ส่วนกลาง มีความเข้าใจในบริบทของท้องถิ่นน้อยกว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ทำให้การจัดทำบริการสาธารณะอาจไม่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ ขัดต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเนื่องจากไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ         

   การบริหารราชการส่วนภูมิภาค           

      เป็นการปกครองที่พัฒนามาจากอดีตที่พระมหากษัตริย์ส่งขุนนางออกไปปกครองหัวเมืองต่างๆ การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ใช้หลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentration) หมายถึง ส่วนกลางจะมอบอำนาจในการทำกิจการบางอย่างให้กับส่วนภูมิภาคไปปฏิบัติ ทั้งในระดับของการตัดสินใจ และวิธีการดำเนินงาน แต่อำนาจในการสรรหา แต่งตั้ง การบริหารงานบุคคล ยังคงเป็นของส่วนกลางเช่นเดิม ดังนั้นการแบ่งอำนาจจะไม่เหมือนกับการกระจายอำนาจ ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนถัดไป               
      จังหวัดมีทั้งสิ้น 76 จังหวัด ไม่รวมกรุงเทพมหานคร (เพราะเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ) มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหารอำเภอ เป็นหน่วยย่อยของจังหวัด โดยใน 1 จังหวัดก็จะมีหลายอำเภอ มีนายอำเภอเป็นผู้บริหาร และหากพื้นที่ไหนมีพื้นที่มาก แต่มีประชากรน้อยเกินกว่าจะตั้งเป็นอำเภอ ก็จะได้รับการจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอแทน               

      ข้อดีของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค คือ แบ่งเบาภาระในการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนกลาง ระบบขั้นตอนในการตัดสินใจเร็วขึ้น เนื่องจากลดขั้นตอนที่จะต้องส่งข้อมูลไปให้ส่วนกลาง และรอส่วนกลางพิจารณากลับ ผู้บริหารในพื้นที่สามารถตัดสินใจได้เลย เจ้าหน้าที่มีความใกล้ชิดกับพื้นที่มากขึ้น ทำให้การตัดสินใจสามารถตอบสนองความต้องการของพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น 
      ข้อจำกัดของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค คือ การบังคับบัญชายังอยู่ที่ส่วนกลาง โดยเฉพาะการแต่งตั้ง ถอดถอนเจ้าหน้าที่ ทำให้ไม่มีการเลือกตั้งผู้นำในพื้นที่ นอกจากนี้อำนาจบางอย่าง ผู้นำในพื้นที่ไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจเอง ต้องรอคำสั่งจากส่วนกลางเช่นเดิม ทำให้อาจแก้ไขสถานการณ์บางอย่างไม่ทันการณ์ ข้าราชการส่วนภูมิภาคยังคงมาจากการแต่งตั้งจากส่วนกลาง ซึ่งบางครั้งอาจไม่ใช่คนในพื้นที่ ทำให้ไม่เข้าใจสภาพปัญหา สังคม และวัฒนธรรมของพื้นที่

   การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น


      เป็นการบริหารราชการในรูปแบบการกระจายอำนาจ (Decentralization) โดยรัฐส่วนกลางได้กระจายอำนาจในการปกครองให้กับรัฐบาลท้องถิ่น ในรูปแบบขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อจัดทำบริการสาธารณะที่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ โดยการได้มาของผู้นำในส่วนท้องถิ่นนั้น จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในพื้นที่เองทั้งหมด                     
      การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีนายก อบจ. เป็นผู้บริหารเทศบาล แบ่งเป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร แต่ละเทศบาลก็จะมี นายกเทศบาลแต่ละระดับ เป็นผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กำกับดูแลโดย นายก อบต.องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีอยู่ด้วยกัน 2 พื้นที่ คือ กรุงเทพฯ และพัทยา
      ในกรุงเทพฯ ถูกกำกับโดยผู้ว่าราชการจังหวัด แต่เป็นผู้ว่าฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง ในขณะที่พัทยา คือ นายกเมืองพัทยา ที่มาจากการเลือกตั้งเช่นกัน               

      ข้อดีของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ แบ่งเบาภาระการบริหารของส่วนกลาง เกิดความทั่วถึงในการบริหารจัดการตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้บริหารเป็นคนในพื้นที่ และมีความใกล้ชิดพื้นที่สูง ทำให้สามารถจัดทำบริการสาธารณะที่สอดคล้องกับสังคม และวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้ดีส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากประชาชนมีโอกาสเลือกผู้นำในท้องถิ่น รวมถึงการสมัครเลือกตั้งได้ง่ายกว่า การเข้าส่วนกลาง

       ข้อจำกัดของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คือ ส่วนท้องถิ่นบางส่วนมีขนาดเล็กเกินไป ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองในงบประมาณในการจัดจ้างบุคคลากร แต่ภารกิจที่รับผิดชอบมีน้อย ไม่คุ้มประโยชน์บริการสาธารณะบางอย่าง ท้องถิ่นกระทำได้ แต่มีข้อจำกัด หรือไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การรักษาความสงบเรียบร้อย การก่อสร้างขนาดใหญ่ เป็นต้น

หลักการแบ่งอำนาจ (Separation of Power)


      อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ         

      นี่คือบทบัญญัติวรรคหนึ่งในมาตราที่ 3 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 20) ได้กล่าวถึงความสำคัญของอำนาจอธิปไตยในฐานะอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หลายคนอาจจะสงสัยว่า “อำนาจอธิปไตย” หมายถึงอะไร ? และการใช้อำนาจนั้นผ่านทาง 3 สถาบันคืออะไร ? ดังนั้นเราจะมาถอดหลักการ ความหมายของข้อความเหล่านี้กัน          

      อำนาจอธิปไตย (sovereignty) หมายถึง อำนาจที่ใช้ในการปกครองรัฐ ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดที่จะมีใครขัดไม่ได้ ซึ่งอำนาจอธิปไตยที่ว่านี่ ก็ย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ระบอบการปกครอง ยกตัวอย่างเช่น ในรัฐธรรมนูญของไทยที่ระบุว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย” นั่นหมายความว่า ประเทศไทยมีระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย (ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ) นั่นเอง ในขณะเดียวกัน หากประเทศไหนที่ระบุว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ ก็แปลว่า ประเทศนั้นมีระบอบการปกครองเป็น สมบูรณาญาสิทธิ์ราช นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทยในอดีตก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้น

      ตามหลักการสากล ประเทศที่ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยจะมีหลักแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย (Separation of Power ) โดยแบ่งอำนาจออกเป็น 3 แบบ คือ
         
  1. อำนาจนิติบัญญัติ         
  2. อำนาจบริหาร           
  3. อำนาจตุลาการ           

      ทั้ง 3 อำนาจนี้ จะเป็นอิสระต่อกันและจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (Checks and Balances) เพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจมากเกินไป เพราะมันอาจจะนำไปสู่การใช้อำนาจเกินขอบเขตและส่งผลเสียต่อประเทศได้          

      อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการออกกฏหมาย โดยสถาบันผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัตินั้น คือ “รัฐสภา” ซึ่งรัฐสภาไทยจะประกอบไปด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) จำนวน 500 คน (แบ่งเขตเลือกตั้ง 350 คน และบัญชีรายชื่อ 150 คน) สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 200 คน (โดยการเลือกสรรกันเองในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ)รวมแล้วมีสมาชิกทั้งสิ้น 700 คน ซึ่งมีประธานสภาผู้แทนราษฏรเป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธาน รัฐสภามีหน้าที่ในการตรากฏหมาย โดยกฏหมายที่ออกมานั้นเรียกว่า พระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นกฏหมายลำดับรองจากรัฐธรรมนูญ เป็นตัวแทนของประชาชนในการเห็นชอบกฏหมายต่างๆ นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร ผ่านการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ อันส่งผลให้คณะรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งได้ด้วยเช่นกัน         

       อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการกำหนดนโยบาย และบังคับใช้กฏหมาย สถาบันผู้ใช้อำนาจบริหารคือ “คณะรัฐมนตรี” ซึ่งประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี ที่มาจากการเลือกของสภาผู้แทนราษฏรที่เลือกสมาชิกของสภาผู้แทนราษฏรด้วยกันกับรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน (นายกรัฐมนตรีเป็นผู้เลือก) คณะรัฐมนตรียังมีอำนาจในการตรากฏหมาย ได้แก่ พระราชกำหนด พระราชกฤษฏีกา กฏกระทรวง และประกาศกระทรวง รวมถึงการบริหารราชการแผ่นดิน กำกับดูแล จัดการการบริหารราชการออกเป็น ส่วนกลาง (กระทรวง ทบวง กรม) ส่วนภูมิภาค (จังหวัด อำเภอ) และ ส่วนท้องถิ่น (อบจ. อบต. เทศบาล กรุงเทพฯ และพัทยา) โดยการบริหารของคณะรัฐมนตรีนั้น จะอยู่ภายใต้การตรวจสอบจากรัฐสภา แต่ในขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ก็มีอำนาจในการยุบสภาเช่นเดียวกัน          

      อำนาจตุลาการ  เป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีต่างๆ ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้ในพระปรมาภิไธยของกษัตริย์  เพื่อก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม โดยสถาบันผู้ใช้อำนาจนี้คือ “ศาล” ในประเทศไทย  มีการใช้ระบบศาล ที่เรียกว่า “ระบบศาลคู่” นั่นคือ การให้ศาลยุติธรรมพิจารณาคดีอาญาและแพ่งเท่านั้น ส่วนคดีปกครองให้เป็นหน้าที่ของศาลปกครอง ซึ่งประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่ใช้ระบบกฏหมายแบบลายลักษณ์อักษร (Civil Law)         

  1. ศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยคดีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ เช่น ข้อกฏหมายที่อาจขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญ การทำงานขององค์กรต่างๆตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงการสั่งยุบพรรคการเมือง เป็นต้นศาลยุติธรรม ทำหน้าที่พิจารณาคดีแพ่ง และคดีอาญาทั้งหมด ที่อยู่นอกเหนืออำนาจของศาลอื่น ถือว่าเป็นศาลที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด           
  2. ศาลยุติธรรม สามารถแบ่งออกไปได้อีก 3 ชั้น คือ             
       ศาลชั้นต้น เป็นศาลลำดับแรกในการรับฟ้องคดี ประกอบด้วย ศาลจังหวัด และศาลแขวง
       ศาลอุทธรณ์ ทำหน้าที่ในการทบทวนข้อพิพากษาของศาลชั้นต้น กรณีผู้ฟ้อง-ถูกฟ้องไม่ พอใจในคำพิพากษาขั้นแรก           
       ศาลฏีกา  มีอยู่แค่ที่กรุงเทพฯ เป็นศาลขั้นสุดท้ายในการทบทวนการพิจารณาคำพิพากษา เมื่อศาลกีฏาตัดสินใจ ถือว่าคดีเป็นอันสิ้นสุด ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้อีก ศาลฏีกายังมีแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิจารณาคดีที่เกี่ยวกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเท่านั้น เช่น กรณีถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ หรือกระทำความผิดเมื่ออยู่ในหน้าที่ 
  3. ศาลปกครอง เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ผ่านพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ทำหน้าที่ วินิจฉัยคดีพิพาทที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ         
  4. ศาลทหาร ทำหน้าที่พิจารณาคดีอาญาซึ่งบุคคลผู้กระทำผิด ที่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร เช่น นายทหาร หรือผู้ต้องขังในควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหาร

      อำนาจของฝ่ายตุลาการ ถือได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับประชาชนน้อย เพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน อำนาจหน้าที่ต่างๆ ถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญค่อนข้างจำกัด แต่ทว่ามีความสำคัญเนื่องจากเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระ ไม่ตกอยู่ภายใต้การกำกับของฝ่ายไหน จึงทำให้สามารถทำหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนได้อย่างสะดวก หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นสถาบันสำคัญที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ให้ถูกละเมิดนั่นเอง