วัฒนธรรม ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “culture” มาจากภาษาละติน คือ cultura ซึ่งแตกมาจากคำว่า colere ที่หมายถึง การเพาะปลูกและบำรุงให้เจริญงอกงาม (cultivate)
ในภาษาไทยแปลคำนี้ว่า วัฒนธรรม โดยมีรากศัพท์ภาษาบาลีและสันกฤตคือ
พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรมไว้ 2 นัย คือ
สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ และ วิถีชีวิตของหมู่คณะ
พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ที่ได้นิยามว่า วัฒนธรรม หมายถึง “ลักษณะที่แสดงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีงามของประชาชน”
พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ ฉบับใหม่ปี พ.ศ. 2553 กำหนดนิยามไว้ว่า “วิถีการดําเนินชีวิต ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม จารีต ประเพณี พิธีกรรม และภูมิปัญญา ซึ่งกลุ่มชนและสังคมได้ร่วมสร้างสรรค์ สั่งสม ปลูกฝัง สืบทอด เรียนรู้ ปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม ทั้งด้านจิตใจและวัตถุ อย่างสันติสุขและยั่งยืน”
วัฒนธรรมจึงแสดงถึงขีดความสามารถของมนุษย์ในการศึกษาเรียนรู้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ สำหรับการปรับตัว แก้ปัญหา พัฒนาวิถีการดำเนินชีวิต และตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งทางกาย เช่น การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และทางใจ เช่น ศาสนา ประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ เป็นต้น
นอกจากนี้ เรย์มอนด์ วิลเลียมส์ (Raymond Williams) นักวิชาการด้านวัฒนธรรมศึกษาชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียง ได้ให้ความหมายไว้ว่า วัฒนธรรม คือ รูปแบบของวิถีชีวิตที่แสดงออกให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม ซึ่งในแต่ละสังคมก็มีความแตกต่างของรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้คนมากมายซึ่งเกี่ยวโยงเรื่องของกลุ่มคน ชนชั้น ภาษา ชาติพันธุ์ เพศสภาวะ และอื่นๆ โดยคำนึงถึง
จากความหมายนี้ วัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันโดยตรงกับชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีพื้นเพ รากเหง้า หรือการบ่มเพาะมาเช่นใดก็ตาม ความหมายในที่นี้จึงขยายขอบเขตขอบวัฒนธรรมให้หลุดพ้นจากการผูกขาดหรือจำกัดความหมายไว้กับคุณค่าความดีงามหรือความเจริญงอกงามของสังคม
ดังนั้น วัฒนธรรมจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ของชนชั้นสูงแต่ยังมีวัฒนธรรมของชนชั้นอื่นๆ วัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม และมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดวิถีชีวิตของคนในยุคโลกาภิวัตน์ไปสู่วัฒนธรรมของสังคมอื่นๆ และทำให้เกิดการตั้งคำถามเพื่อเข้าใจวัฒนธรรมของตนเองมากขึ้นด้วย
มุมมองต่อวัฒนธรรมในยุคปัจจุบันจึงควรตั้งต้นที่ความเข้าใจว่า วัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เกิดจากการแบ่งปันกันระหว่างคนในสังคม รวมไปถึงการสื่อสาร อีกทั้งยังสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมได้ ส่งผลให้วัฒนธรรมมีความแตกต่างหลากหลาย
ไม่อาจแยกออกจากวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้ และไม่ควรถูกตีกรอบอธิบายด้วยวัฒนธรรมเพียงประเภทใดประเภทหนึ่งเท่านั้น
เนื่องจากวัฒนธรรมมีความหลากหลาย การจัดประเภทของวัฒนธรรมจึงอาจมีได้หลายแนวทาง ขึ้นอยู่กับว่าเราจะพยายามทำความเข้าใจวัฒนธรรมในมิติใด
กรมศิลปากร จำแนกวัฒนธรรมออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ง่ายๆ คือ วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ และวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ ซึ่งในวัฒนธรรมเดียวกันอาจมีทั้งสองลักษณะ เช่น ในการเล่นหมากรุก ตัวหมากรุกนั้นเป็นวัตถุ แต่กติกาและมารยาทของการเล่นหมากรุกนั้นเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ
ส่วนคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ แบ่งวัฒนธรรมออกเป็น 4 ประเภท คือ
เมื่อเรามองลึกลงไปในแต่ละวัฒนธรรม จะพบว่ามีองค์ประกอบที่สำคัญของวัฒนธรรม 4 ประการ ดังนี้
วัฒนธรรมมีความสำคัญต่อสังคมมนุษย์ เนื่องจากวัฒนธรรมต่างๆ ทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวให้รอดชีวิตจากภัยธรรมชาติ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมและสืบต่อเผ่าพันธุ์ได้ มนุษย์สร้างสรรค์วัฒนธรรมต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางสังคม อันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
วัฒนธรรมเกิดขึ้นได้เนื่องจากมนุษย์มีความสามารถในการเรียนรู้ และถ่ายทอดมรดกองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่นได้ ซึ่งแต่ละวัฒนธรรมก็จะถูกสร้างสรรค์ขึ้นอย่างเหมาะสมกับสภาพสังคมนั้นๆ
ดังนั้น บนโลกนี้จึงมีวัฒนธรรมอันเฉพาะตัวของแต่ละสังคมที่หลากหลายมากมาย และอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสภาพแวดล้อม ยุคสมัย และปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์