วัฒนธรรมสากลนั้น เป็นหลักปฏิบัติร่วมกันของคนหลายกลุ่มหลายเชื้อชาติซึ่งสะท้อนปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ที่ทำให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับคนหลากหลาย ปรากฏการณ์ที่ประกอบสร้างคุณค่าของวัฒนธรรมสากลมักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนในโลกตะวันตกแล้วแผ่ขยายอิทธิพลมาสู่ประเทศในโลกตะวันออก ได้แก่
เราสามารถพบเห็นวัฒนธรรมสากลได้ในค่านิยมในการทำงาน เช่น การตรงต่อเวลา ความโปร่งใสและความซื่อสัตย์ ทั้งยังมีค่านิยมในการใช้ชีวิต เช่น การยึดถือคุณค่าของสิทธิมนุษยชน การแสดงออกอย่างถูกต้องทางการเมือง หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Political Correctness
หมายถึงว่า เราจะไม่พูดจาดูถูกเหยียดหยามผู้อื่นด้วยเหตุแห่งสีผิว เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม เพศ หรือแม้แต่ความพิการ และมีความพยายามหาคำอื่นๆ มาใช้เรียกแทนเพื่อถนอมน้ำใจกัน เช่น เรียกว่า คนแอฟริกันอเมริกันหรือคนผิวสี แต่ไม่เรียกว่า คนดำ
ปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์มีผลกระทบอย่างมากต่อสังคมและวัฒนธรรม ทำให้เกิดความทันสมัยเกิดความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวทั่วโลกผ่านเทคโนโลยี ด้วยแนวคิดและค่านิยมที่สร้างความเป็นเสรี ทำให้เกิดคุณค่าแบบเป็นสากล เช่น เชิดชูความเป็นธรรม ความเสมอภาค การยอมรับความ
แตกต่าง และให้คุณค่ากับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วโลกผ่านกิจกรรมที่ข้ามพรมแดนอยู่ตลอดเวลา จนทำให้พรมแดนรัฐพร่าเลือนไป ตัวอย่างที่สำคัญคือกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตที่ส่งอิทธิพลกับคนทั้งโลกอย่างรวดเร็ว
เนื่องจากปัจจุบัน เราสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างแพร่หลาย ผู้คนจึงยิ่งมีวัฒนธรรมและค่านิยมร่วมกันมากขึ้น โดยเฉพาะวัฒนธรรมสมัยนิยม (Pop Culture) เช่น ติดตามภาพยนตร์เพลงแบบเดียวกัน แบ่งปันแฟชั่นคล้ายๆ กัน บริโภคอาหารและเครื่องดื่มยี่ห้อเดียวกัน ไปจนถึงมีรสนิยมเล่นมุกตลกใกล้เคียงกัน สนใจพูดคุยประเด็นเดียวกันแม้จะอยู่คนละมุมโลก
แต่ในขณะเดียวกัน พื้นที่อันเปิดกว้างของอินเทอร์เน็ตก็ทำให้วัฒนธรรมรอง หรือ Subculture นั้นสามารถมีที่ทางของตัวเองได้ง่ายขึ้น เช่น ในประเทศไทยอาจมีคนที่สนใจภาพยนตร์สารคดีไม่มากนัก แต่เพราะมีอินเทอร์เน็ต คนที่ชื่นชอบภาพยนตร์สารคดีจึงสามารถรวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนได้ง่ายขึ้นแม้จะอยู่ไกลกันก็ตาม ดังนั้น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมต่อวัฒนธรรมสากล ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเป็นวัฒนธรรม
เสมือนจริง (Virtual Culture) คือ การที่มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารและสร้างเครือข่ายทางสังคม (Social Networking) ได้โดยไม่ต้องสนใจขอบเขตพรมแดนของรัฐชาติเช่นในอดีต ส่งผลให้เกิดการยอมรับความแตกต่าง หลากหลายในเชิงวัฒนธรรม และเกิดการแบ่งปันความรู้ในวงกว้างแบบไม่จำกัดการเข้าถึง เช่น การแพร่หลายของเทคโนโลยีแบบ Open Source ที่ไม่จำกัดว่าต้องจ่ายเงินจึงจะสามารถใช้นวัตกรรมได้ การเกิดขึ้นของวัฒนธรรม
แบ่งปัน (Sharing Culture) ที่เปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และปรับปรุงองค์ความรู้ เช่น สารานุกรมอินเทอร์เน็ตที่ชื่อว่า Wikipedia อันแตกต่างจากสารานุกรมในยุคก่อนที่จะต้องเชิญผู้เชียวชาญกลุ่มเล็กๆ มาเขียนรายละเอียดโดยไม่ถูกตรวจสอบความถูกต้องจากประชาชนคนทั่วไป
ตำราเรียนระดับมัธยมมักอธิบายว่า วัฒนธรรมไทยมีความแตกต่างกับวัฒนธรรมสากลหลายประการ กล่าวคือ
แต่สุดท้ายแล้ว วัฒนธรรมก็เป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว วัฒนธรรมแต่ละประเทศ แต่ละสังคมก็มีอิทธิพลต่อกันตามแต่การปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคม วัฒนธรรมสากลหรือวัฒนธรรมตะวันตกอาจถูกปรับปรุงจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยได้อย่างแนบสนิท ดังเช่นที่เราเห็นในวัฒนธรรมการรับประทานอาหาร วัฒนธรรมการแต่งกายและการทำงาน
นอกจากวัฒนธรรมจะมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ละวัฒนธรรมก็ยังมีคุณค่าในตัวเอง เราไม่ควรยึดติดกับความคิดว่าวัฒนธรรมใดมีความสำคัญเหนือกว่า สิ่งที่ควรทำคือการพยายามเรียนรู้ความแตกต่างของวัฒนธรรมและดำรงชีวิตอยู่อย่างเข้าอกเข้าใจคนต่างวัฒนธรรมต่างหาก