สหประชาชาติเป็นองค์กรสำคัญในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน โดยระบุเป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของประชาชาติตามที่ระบุไว้ในคำปรารภของกฎบัตรสหประชาชาติ (United Nations Charter) ว่าจะ
นอกจากการยกร่างและลงมติยอมรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สหประชาชาติยังจัดทำอีกสนธิสัญญาระหว่างประเทศอีกหลายฉบับ เพื่อส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเฉพาะด้านต่างๆ โดยประเทศไทยให้ความยินยอมผูกพันเป็นภาคีของสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนของ สหประชาชนจำนวน 7 ฉบับ ได้แก่
ยังมีสนธิสัญญาหลักของสหประชาชาติอีกสองฉบับที่ประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคี ได้แก่ “อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance - CED)” และ “อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิก
ในครอบครัว (Convention on the Protection of the Rights of Migrants Workers and Member of their Families - CMW)”
นอกจากองค์การสหประชาชาติแล้วยังมีหน่วยงานอื่นๆ ที่ดูแลเรื่องสิทธิมนุษยชนในแต่ละด้าน เช่น “องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organisation - ILO)” ดูแลเรื่องสิทธิแรงงาน “องค์การยูเนสโก (UNESCO)” ดูแลเรื่องสิทธิในการศึกษา
สิทธิในสิ่งแวดล้อม และสิทธิเชิงสังคมวัฒนธรรมอื่นๆ ทั้งยังมีศาลระดับภูมิภาคที่ตัดสินคดีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนโดย
ยึดหลักการของสิทธิมนุษยชนตามสนธิสัญญา เช่น ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (European Court of Human Rights - ECHR) แต่ละหน่วยงานก็จะมีสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนเฉพาะทางในความดูแลเช่นกัน
สนธิสัญญาระหว่างประเทศเหล่านี้ คือสัญญาที่รัฐสมาชิกของประชาคมโลกได้ให้ไว้ต่อกันว่าจะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามที่กำหนดไว้ หมายความว่า รัฐประกาศเจตจำนงที่จะผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศว่าตนมีหน้าที่ที่จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ตามสนธิสัญญา โดยการออกกฎหมายใหม่ หรือแก้กฎหมายที่มีอยู่แล้วของรัฐให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา รวมไปถึงการดำเนินนโยบายที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพตามที่ให้สัญญาไว้กับประชาคมโลก
และแน่นอนว่าเจ้าหน้าที่รัฐเองก็จะต้องไม่เป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนเสียเอง
หน้าที่ของรัฐสามารถแบ่งได้เป็นสามรูปแบบ ดังต่อไปนี้
ดังนี้จะเห็นได้ว่า แม้ว่าจะมีสนธิสัญญาที่คุ้มครองสิทธิมนุษยชนมากมาย หากแต่กฎหมายระหว่างประเทศเหล่านี้
ก็เป็นเพียงกรอบกฎเกณฑ์ที่วางเป็นมาตรฐานกว้างๆ เท่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่หลักในการออกกฎหมายหรือดำเนินนโยบายในรายละเอียดเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับสังคมท้องถิ่นของแต่ละประเทศจริงๆ นั้นคือ “รัฐ” นั่นเอง
องค์การระหว่างประเทศนั้น ทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนและร่วมตรวจสอบว่ารัฐได้ปฏิบัติตามสนธิสัญญาตามที่ได้ให้สัญญาไว้หรือไม่ โดยกลไกเหล่านี้กระทำโดยการให้รัฐบาลและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องส่งรายงานการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสนธิสัญญามาที่ประชุมนานาชาติ รัฐอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศจะให้คำแนะนำว่าควรปรับปรุงแก้ไขต่อไปอย่างไร รวมไปถึงยังมีกลไกให้ประชาชนในรัฐสามารถส่งเอกสารร้องเรียนไปที่องค์การระหว่างประเทศ หากถูกรัฐละเมิดสิทธิเสรีภาพเสียเองได้ด้วย ในกรณีที่รัฐให้ความยินยอมเป็นพิเศษ
ดังนั้น การปฏิบัติตามสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนจึงไม่ได้เป็นเพียงเรื่องภายในของรัฐใดรัฐหนึ่ง หากแต่เป็นความสนใจของประชาคมโลก รัฐภาคี รวมถึงประเทศไทยจึงต้องพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อรักษาสัญญาด้วยการดำเนินการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้ได้มาตรฐานสากล