ทายาทตามพินัยกรรม เป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดก เพราะ ถูกระบุชื่อไว้ในพินัยกรรม
ซึ่งอาจเป็นผู้ที่มีหรือไม่มีความสัมพันธ์กับ
เจ้ามรดกก็ได้
ทายาทโดยธรรม เป็นทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกเพราะเป็นเครือญาติกับเจ้ามรดก
ซึ่งมีทั้งหมด 6 ลำดับ ดังต่อไปนี้
- ผู้สืบสันดาน หรือ บุตรนั่นเอง
- บิดา มารดา
- พี่น้องร่วมบิดาและมารดา
- พี่น้องร่วมเฉพาะบิดาหรือมารดา
- ปู่ ย่า ตา ยาย
- ลุง ป้า น้า อา
ถูกกำจัดไม่ให้รับมรดก
เป็นกรณีที่ทายาทเสียสิทธิโดยผลของกฎหมาย เพราะเหตุที่ทายาทนั้นได้ทำการยักย้ายทรัพย์มรดก หรือปิดบังทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกต่อทายาทคนอื่น การกำจัดมิให้รับมรดกนั้น ไม่ได้หมายความว่า ผู้ถูกกำจัดจะไม่ได้รับเฉพาะทรัพย์สินที่ยักยอกหรือปิดบัง แต่หมายถึงถูกกำจัดในส่วนแห่งมรดกที่ทายาทนั้นจะได้รับ คือถ้าส่วนที่ทายาทยักย้ายหรือปิดบัง เท่าหรือมากกว่า ส่วนที่ทายาทมีสิทธิจะได้รับ ทายาทนั้นก็จะถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกเลย แต่ถ้าส่วนที่ยักย้ายหรือปิด น้อยกว่า ส่วนที่ทายาทนั้นมีสิทธิจะได้รับ ก็ต้องถูกกำจัดเพียงเท่าที่ส่วนที่ยักย้ายหรือปิดบัง
สละมรดกด้วยตนเอง
คือ การทำเป็นหนังสือมอบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีที่ผู้ใดจะเป็นผู้เขียนหรือพิมพ์หนังสือก็ได้ แต่ต้องลงชื่อของผู้สละมรดก ถ้าลงชื่อไม่ได้ก็อาจทำอย่างอื่นตามความหมายของคำว่า “พนักงานเจ้าหน้าที่” ความหมายเดียวกับเรื่องการตัดมิให้รับมรดก หรือ การสละมรดกที่ทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาระงับข้อพิพาทอันหนึ่งอันใดที่มีอยู่ หรือมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน และต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อตัวแทนของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ
ไม่ได้เข้าถือเอาทรัพย์มรดก หรือไม่ได้ฟ้องเอาตามอายุความที่สามารถฟ้องได้
แบบธรรมดา จะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ แต่ต้องมีพยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรมอย่างน้อย 2 คน
แบบเขียนเองทั้งฉบับ ต้องเขียนด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับเท่านั้น
แบบเอกสารฝ่ายเมืองทำโดยไปแสดงเจตนาในการจัดการเรื่องต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจแล้วเจ้าหน้าที่จะบันทึกถ้อยคำ พร้อมให้พยานอย่างน้อย 2 คน ลงลายมือชื่อ แล้วเก็บรักษาพินัยกรรมฉบับนั้นไว้ที่อำเภอ
แบบเอกสารลับ
แบบทำด้วยวาจา ทำได้เฉพาะในพฤติการณ์พิเศษเท่านั้นที่ไม่อาจทำพินัยกรรมด้วยวิธีอื่นได้แล้ว
แม้ว่ากองมรดกจะตกทอดแก่ทายาทแล้วก็ตาม ก็อาจมีปัญหาขัดข้องในการจัดสรรแบ่งปันมรดก หรือติดตามทวงถามหนี้สินที่บุคคลอื่นเป็นหนี้เจ้ามรดกอยู่ หรือจะไปโอนที่ดินเป็นของตน เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินก็จะปฏิเสธบ้าง ลูกหนี้เจ้ามรดกปฏิเสธบ้าง หรือแม้จะไปเบิกเงินธนาคาร ๆ ก็ปฏิเสธบ้างว่าต้องนำเอาคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้จัดการมรดกมาให้ดูมาแสดงเสียก่อนว่าผู้มาติดต่อนั้น ศาลได้แต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว มิฉะนั้นไม่ดำเนินการให้
มรดกของพระภิกษุ
คำว่า ภิกษุ มิได้หมายความเฉพาะบุคคลที่ได้อุปสมบทในพุทธศาสนา แต่รวมความถึงแม่ชีและสามเณรหรือพระจีนซึ่งเป็นนักพรต
เมื่อบุคคลใดจะยกทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท กฎหมายได้กำหนดทายาทไว้ 2 แบบ คือ แบบแรกเรียกว่า "ทายาทโดยธรรม" ได้แก่ คู่สมรส ลูกหลาน และญาติที่กฎหมายจัดไว้ 6 ลำดับซึ่งจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ กับทายาทซึ่งมีสิทธิตามพินัยกรรมที่เรียกว่า "ผู้รับพินัยกรรม" ซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
แต่ที่เกี่ยวข้องกับพระภิกษุคือ ห้ามพระภิกษุมาฟ้องหรือเรียกร้องมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมเว้นแต่จะสึกออกมาเสียก่อนและเรียกร้องภายในเวลาตามที่กฎหมายกำหนด นั่นคือ จากความกฎหมายที่ยกมานี้ พระภิกษุสามารถรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม หรือในฐานะผู้รับพินัยกรรมก็ได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ขอให้สึกออกมาฟ้องเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามกฎหมาย คือ 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย หรือเมื่อทายาทโดยชอบธรรมรู้หรือควรรู้ว่าเจ้ามรดกตายแล้ว
ถ้าพระภิกษุเป็นทายาทเพียงคนเดียวที่มีสิทธิได้รับมรดก มรดกย่อมตกทอดมายังพระภิกษุทันทีที่เจ้ามรดกตาย หากบุคคลอื่นเบียดบังเอาทรัพย์มรดกนั้นไป พระภิกษุในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ มีสิทธิติดตามเรียกร้องเอาทรัพย์นั้นคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้นได้
"ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณะเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างมีชีวิตหรือโดยพินัยกรรม"
กฎหมายได้เขียนไว้ชัดเจนว่า ในระหว่างที่บุคคลใดยังบวชเป็นพระอยู่ หากมีญาติโยมที่ศรัทธาและได้ถวายข้าวของ ทรัพย์สินเงินทองใดๆ ให้แก่พระภิกษุรูปนั้น ย่อมเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของท่าน เมื่อพระภิกษุรูปนั้นมรณภาพลงไปเมื่อใด ทรัพย์สินที่ท่านได้รับมาในระหว่างอุปสมบทดังกล่าว ก็จะตกเป็นสมบัติของวัดที่พระภิกษุรูปนั้นจำพรรษาอยู่ทันที แต่มีข้อยกเว้นว่า ทรัพย์สินจะไม่ตกเป็นสมบัติของวัด ถ้าขณะยังมีชีวิตพระภิกษุรูปนั้นได้จำหน่ายจ่ายโอน หรือยกทรัพย์สินชิ้นใดให้คนหนึ่งคนใดไปเสียก่อน หรือว่าพระภิกษุรูปนั้นได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินใดให้แก่คนที่ท่านระบุชื่อไว้ในพินัยกรรม ก็ต้องเป็นไปตามนั้น วัดจะมาเรียกร้องสมบัติดังกล่าวไม่ได้
ก่อนบวชถ้าพระภิกษุรูปใดมีทรัพย์สินอยู่อย่างไร กฎหมายเขียนไว้ชัดว่าไม่ตกเป็นสมบัติของวัด ดังนั้น บุคคลที่มีสิทธิได้รับทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนบวชของท่าน ก็คือทายาทของท่าน พ่อแม่ ภรรยา บุตร ก็ไปแบ่งกันตามสัดส่วน
แต่ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านก็สามารถทำการจ่ายโอน หรือทำพินัยกรรมยกให้ใครโดยเฉพาะก็ได้เช่นกัน แม้พระภิกษุมีคู่สมรสและการบวชนั้นไม่ทำให้การสมรสนั้นขาดกัน และจะถือว่าเป็นการทิ้งร้างกันยังมิได้ก็ตาม ทรัพย์ที่ได้มาเพราะเขาทำบุญให้พระภิกษุย่อมไม่ถือว่าเป็นสินสมรสตาม ดังนั้นคู่สมรสจะแบ่งทรัพย์สินนี้กึ่งหนึ่งตามไม่ได้
ถ้าพระภิกษุธุดงค์ไปในที่ต่างๆ แล้วมรณภาพลง ทรัพย์สินของพระภิกษุตกเป็นสมบัติของวัดที่พระภิกษุรูปนั้นสังกัด ถ้าบุคคลนั้นอุปสมบทแล้วสึกจากสมณะเพศ แล้วอุปสมบทใหม่หลายโบสถ์ ดังนี้ทรัพย์สินก่อนอุปสมบทครั้งสุดท้าย ซึ่งแม้จะได้มาระหว่างอุปสมบทครั้งก่อน ๆ คงตกได้แก่ทายาทของพระภิกษุ