ประวัติศาสตร์สิทธิมนุษยชน
ในรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญไทยในอดีต บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยไว้เป็นหมวดหมู่ชัดเจน
ตั้งแต่ฉบับปี 2489 ในส่วนเนื้อหาของสิทธินั้นก็มีการปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม ตัดออกและแก้ไขไปอย่างหลากหลายในทุกๆ ครั้งที่มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ความเปลี่ยนแปลงอันน่าสนใจที่เกิดขึ้นกับรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ 2560
คือมีการโยกย้ายประเด็นด้านสิทธิไปอยู่ในหมวดหน้าที่ของรัฐ และแนวนโยบายแห่งรัฐได้มีการตัดสิทธิบางประการออก เช่น สิทธิคนพิการ
คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้อธิบายว่าการเขียนไว้ในหมวดหน้าที่เช่นนี้ เป็นการรับประกันว่ารัฐจะดำเนินมาตรการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพอย่างชัดเจนมากขึ้น และเมื่อเป็นหน้าที่ของรัฐแล้ว ก็ย่อมเกิดสิทธิแก่ประชาชนอยู่ดี แทนที่จะปล่อยให้ประชาชนไปเรียกร้องสิทธิเอาเอง
การเขียนให้เป็นหน้าที่ของรัฐนั้นทำให้เกิดการพัฒนามากขึ้น
กระนั้น การเขียนเช่นนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการลดทอนพลังของแนวคิดสิทธิตามธรรมชาติที่ว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นมีอยู่ก่อนกฎหมายของรัฐ เหลือเพียงการรับรองว่าสิทธิเหล่านี้จะดำรงอยู่ได้ ก็ต่อเมื่อรัฐได้จัดหาให้ตามหน้าที่ที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญเท่านั้น ทั้งที่แนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนดั้งเดิมนั้นเกิดจากข้อเรียกร้องอย่างมีส่วนร่วมของประชาชน มิใช่เป็นการรอรับความช่วยเหลือจากรัฐ โดยประชาชนไม่สามารถกำหนดรายละเอียดของการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพดังกล่าวได้
บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องเรื่อง
สิทธิมนุษยชนในรัฐธรรมนูญไทย
หมวด 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยไว้ดังนี้
มาตรา 25 บุคคลมีสิทธิเสรีภาพตราบเท่าที่ไม่ได้
ถูกห้ามหรือจำกัดไว้ในกฎหมาย และไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น บุคคลสามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นข้อต่อสู้เมื่อถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้และมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยามาตรา 26 การตรากฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ หรือต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระ หรือจำกัดสิทธิเสรีภาพเกินสมควรแก่เหตุ และไม่กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กฎหมายนั้นต้องระบุเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิเสรีภาพไว้ด้วยมาตรา 27 สิทธิความเท่าเทียมและสิทธิที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ เป็นมาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพ หรือเพื่อคุ้มครองกลุ่มบุคคลผู้เปราะบางต่อการถูกละเมิดสิทธินั้น ไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ (มาตรการเช่นนี้ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Affirmative Action เช่น มาตรการกำหนดโควตาของนักศึกษาพิการในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย)มาตรา 28 เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สิทธิที่จะไม่ถูกจับกุม คุมขัง หรือค้นตัวตามอำเภอใจ สิทธิที่จะไม่ถูกทรมานมาตรา 29 สิทธิที่จะไม่ต้องรับโทษอาญา
หากกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ สิทธิที่จะได้รับ
การสันนิษฐานว่าไม่มีความผิดจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดมาตรา 30 สิทธิที่จะไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน ยกเว้นอาศัยอำนาจตามกฎหมายหรืออยู่ในภาวะสงคราม
การตรวจสอบความถูกต้องด้วยรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่กฎหมายของรัฐละเมิดสิทธิมนุษยชนมาตรา 31 เสรีภาพในการถือศาสนาและการปฏิบัติตามพิธีกรรมศาสนามาตรา 32 สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัวมาตรา 33 เสรีภาพในเคหสถานมาตรา 34 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วยวิธีการต่างๆ เสรีภาพทางวิชาการมาตรา 35 เสรีภาพของสื่อมวลชนในการเสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็น การสั่งปิดกิจการของสื่อมวลชนจะกระทำมิได้ การตรวจสอบข้อความของสื่อมวลชนก่อนหน้าการตีพิมพ์จะกระทำไม่ได้
เจ้าของกิจการสื่อต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย
รัฐไม่สามารถให้เงินอุดหนุนกิจการสื่อมวลชนของเอกชนได้มาตรา 36 เสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใดๆมาตรา 37 สิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะและชดใช้ค่าทดแทนให้มาตรา 38 เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่มาตรา 39 การเนรเทศบุคคลสัญชาติไทย หรือการห้ามมิให้ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักร หรือการถอนสัญชาติของบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทยโดยการเกิด จะกระทำไม่ได้มาตรา 40 เสรีภาพในการประกอบอาชีพมาตรา 41 สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในครอบครองของรัฐ สิทธิในการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานรัฐ และสิทธิในการฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดมาตรา 42 เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคมหรือหมู่คณะอื่นมาตรา 43 สิทธิของบุคคลและสิทธิชุมมชนในการจัดการวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ จัดสวัสดิการ และการเข้าชื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐมาตรา 44 เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธมาตรา 45 เสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองมาตรา 46 สิทธิผู้บริโภคมาตรา 47 สิทธิได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐมาตรา 48 สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตรมาตรา 49 บุคคลจะใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมิได้ นอกจากนี้ ในหมวด 5 กำหนดเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหลายประเด็นมีความเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
มาตรา 54 หน้าที่ในการจัดการศึกษา โดยต้องจัดให้เรียนฟรีเป็นเวลา 12 ปีตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับมาตรา 55 หน้าที่ในการให้บริการสาธารณสุขมาตรา 56 หน้าที่ในการดำเนินการให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานมาตรา 57 หน้าที่ในการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรม ทรัพยากรมาตรา 58 หน้าที่จัดให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและเกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการต่างๆมาตรา 59 หน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาธารณะมาตรา 60 หน้าที่ในการรักษาคลื่นความถี่และสิทธิการใช้วงโคจรดาวเทียมมาตรา 61 หน้าที่ในการจัดให้มีกลไกการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ในหมวด 6 แนวนโยบายรัฐ ก็ยังมีนโยบายหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนด้วย ได้แก่
มาตรา 68 รัฐพึงจัดระบบการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติมาตรา 74 รัฐพึงส่งเสริมการทำงาน และคุ้มครองสวัสดิการแรงงาน