สถานการณ์การเมืองไทยปัจจุบันนั้น อยู่บนความพยายามจะผลักดันเปลี่ยนแปลงประเทศสู่ระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตยดังเช่นที่เกิดขึ้นในช่วงของ 10 ปีที่ผ่านมา
ในหัวข้อนี้เราจะมาสำรวจช่วงเวลาทางการเมืองของไทย
3 ช่วงเวลาใหญ่ๆ เพื่อให้เห็นพัฒนาการและเหตุการณ์สำคัญของการเมืองไทยก่อนที่จะมาเป็นอยู่ในปัจจุบัน ช่วงเวลาทางการเมืองของไทยอาจแบ่งได้เป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ คือ
ช่วง พ.ศ. 2475 - 2490 ประชาธิปไตยโดยชนชั้นนำช่วง พ.ศ. 2516 - 2535
การลุกฮือของมวลชนช่วง พ.ศ. 2540 - ปัจจุบัน
ช่วงตื่นตัวทางประชาธิปไตยไปจนถึงความวิปริตของประชาธิปไตย
จุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยในประเทศไทยเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า คณะราษฎร
สาเหตุที่คณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
อันนำไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีดังนี้
เมื่อคณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว คณะราษฎรมุ่งที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยอยู่บนฐานของหลัก 6 ประการ อันได้แก่
การเมืองไทยในยุคประชาธิปไตยในช่วงแรก จึงตกอยู่ภายใต้การนำของคณะราษฎรที่เข้ามามีอำนาจแทน
พระมหากษัตริย์และขุนนางในระบอบเดิม ซึ่งสมาชิก
คณะราษฎรที่มีความสำคัญ คือ นายปรีดี พนมยงค์
และจอมพล ป. พิบูลสงคราม แม้ทั้งสองจะเป็นสมาชิก
คณะราษฎรเหมือนกัน แต่ก็มีความขัดแย้งกันในเรื่องแนวคิด
ในส่วนของนายปรีดี พนมยงค์นั้น สนับสนุนให้การปกครองต้องตั้งอยู่บนฐานของกฎหมาย ส่วนจอมพล ป.
พิบูลสงครามนั้นมีความเห็นแตกต่างกันไป ภายหลังเหตุการณ์กบฏบวรเดชนั้น ทำให้จอมพล ป. พิบูลสงครามเห็นว่าการรักษาความสงบเป็นปัญหาใหญ่ยิ่งที่สุด ดังนั้น ทหารซึ่งมีไว้เพื่อชาติสถานเดียว จึงต้องเป็นศูนย์กลางของการเมือง แนวคิดของจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงมีแนวโน้มไปในทางเผด็จการทหาร (อ่านต่อใน ประวัติศาสตร์การเมืองไทยร่วมสมัย, คริส เบเคอร์และผาสุก พงษ์ไพจิตร)
การเมืองไทยดำเนินไปภายใต้อิทธิพลของคณะราษฎรจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2490 เมื่อมีการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2490 โดย พลโทผิน ชุณหะวัน เพื่อยึดอำนาจการปกครองจากพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในช่วงเวลาถัดมาอิทธิพลของกลุ่มคณะราษฎรในทางการเมืองก็เริ่มลดลง เกิดพรรคการเมืองต่างๆ ขึ้นมามีบทบาทแทนกลุ่มคณะราษฎร
ช่วงเวลา พ.ศ. 2516 - 2535 เป็นช่วงเวลาของการเข้ามามีบทบาทของประชาชนในทางการเมืองโดยผ่านการลุกฮือของมวลชน การจะเล่าเรื่องนี้ขออธิบายผ่านเหตุการณ์ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน
ซึ่งเป็นการออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวของประชาชนเป็นครั้งแรก โดยมีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนออกมาชุมนุมเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร ซึ่งการชุมนุมขยายตัวออกไปเป็นวงกว้างและเป็นเหตุให้รัฐบาลมีคำสั่งให้ใช้กำลังเข้า
ปราบปรามการชุมนุมในวันที่ 14 - 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก ในท้ายที่สุด จอมพลถนอม กิตติขจร
ได้ขอลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ภายหลังจากเหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่รัฐบาลใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง
ก็ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอ เพราะพรรครัฐบาลขาดเสียงข้างมากสนับสนุน ประกอบกับการประสบกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเนื่องจากในขณะนั้นโลกกำลังตกอยู่ในช่วงสงครามเย็น
เนื่องมาจากผลของเหตุการณ์ในวันที่ 14 ตุลาคม
พ.ศ. 2516 ทำให้กลุ่มนักศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มที่มีบทบาทมากในการเคลื่อนไหว เริ่มมีอิทธิพลต่อสังคม และในขณะนั้นสถานการณ์โลกได้มีการขยายตัวของแนวคิดคอมมิวนิสต์ซึ่งได้เผยแพร่มาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชัยชนะของขบวนการคอมมิวนิสต์ในลาวและเวียดนาม ทำให้หลายฝ่ายหวาดกลัวและเกรงว่าคอมมิวนิสต์จะเป็นภัย อีกทั้งยังมีความคิดว่าประเทศไทยจะเป็นเป้าหมายต่อไปของคอมมิวนิสต์
ซึ่งนักศึกษาในขณะนั้นนิยมศึกษาแนวคิดของลัทธิสังคมนิยม และมีส่วนร่วมในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้แรงงานและชาวนาในการเรียกร้องต่อรัฐบาล จึงเป็นที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นกำลังช่วยเหลือฝ่ายคอมมิวนิสต์ ทำให้สังคมเกิด
ความหวาดกลัวภัยคอมมิวนิสต์ขึ้นไปทั่ว นำไปสู่การร่วมกลุ่มเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ และสร้างความหวาดกลัวจากภัยคอมมิวนิสต์ จนเกิดคำกล่าวที่ว่า ฆ่าคอมมิวนิสต์ ไม่บาป
สถานการณ์เข้าสู่ความตึงเครียดเมื่อจอมพลถนอม
กิตติขจรเดินทางกลับมาสู่ประเทศไทยโดยบวชเป็นสามเณร ซึ่งมีประชาชนจำนวนมากต่อต้านการกลับมาของจอมพล ถนอม กิตติขจร โดยมีกลุ่มนิสิติและนักศึกษา และสหภาพแรงงาน มีการติดโปสเตอร์และแสดงละครล้อการเมืองเพื่อยืนยันจุดยืนและเรียกความสนใจให้มาร่วมชุมนุม แต่ก็ไม่ได้รับผลตอบรับเท่ากับช่วง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
ในคืนวันที่ 5 ตุลาคมต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 กำลังฝ่ายต่อต้านนักศึกษาเคลื่อนขบวนไปยังบริเวณท้องสนามหลวงช่วงหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเริ่มมีการปะทะกันด้วยอาวุธปืนเบา สถานการณ์บานปลายเมื่อมีการยิงระเบิด M79 เข้าไปในสนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ การสังหารหมู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงเริ่มต้นขึ้น
เหตุการณ์ทั้งหมดมายุติลงเมื่อเวลา 18.00 น.
เมื่อพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหารในวันนั้น
ภายหลังจากเหตุการณ์นี้นิสิตและนักศึกษาที่รอดจากการสังหารหมู่ได้หนีเข้าป่าไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งทำให้สมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม
การรัฐประหารอีกครั้งหนึ่งโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งต่อมาพลเอกสุจินดา คราประยูรได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรี ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนที่ในคราวนี้ไม่ใช่เพียงแต่นักศึกษาเท่านั้น แต่รวมถึงประชาชนทั่วไป เช่น พนักงานบริษัทเอกชน ข้าราชการ
ด้วยความกังวลว่าจะเป็นการสืบทอดอำนาจของรสช. กับการรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดาดังกล่าว นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่างๆ ของประชาชน โดยมี
ข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และเสนอว่าผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง
หลังการชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อเข้าเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเริ่มระดมทหารเข้ามารักษาการในกรุงเทพมหานคร และเริ่มมีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหารในบริเวณราชดำเนินกลาง ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเรื่อยๆ และเกิดการปะทะขึ้น มีประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์เดือนพฤษภายุติลงเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงรับสั่งให้
พลเอกสุจินดา คราประยูร เข้าเฝ้าและพระราชทาน
พระราชดำรัสแก่คณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และในคืนนั้นพลเอกสุจินดา คราประยูร จึงลาออกจากตำแหน่ง
ช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 - 2535 สะท้อนให้เห็นภาพของการสร้างพื้นที่ทางการเมืองของประชาชนเกิดจากการชุมนุมทางการเมือง
ภายหลังจากเหตุการณ์ที่มีกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูประบบการเมือง โดยปฏิเสธนายกรัฐมนตรีซึ่งไม่ใช่สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรอย่างพลเอกสุจินดา คราประยูร นำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540 ทำให้เกิดความคาดหวังว่าระบอบประชาธิปไตยไทยจะเดินต่อไปได้โดยไม่สะดุดล้มลงอย่างที่เป็นมาในช่วงก่อน อย่างไรก็ตาม
รัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้เอื้อให้เกิดรัฐบาลที่เข้มแข็งและพรรคการเมืองใหญ่ที่เข้มแข็งขึ้นด้วย ซึ่งหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้ และมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 นำมาซึ่งชัยชนะของพรรคไทยรักไทยที่มี พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค โดยได้คะแนนเสียงใกล้เคียงกับจำนวนกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดของ
สภาผู้แทนราษฎร
การก้าวขึ้นมามีอำนาจของ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร นั้นนำมาสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มการเมืองซึ่งต่อต้านและให้การสนับสนุน จนนำไปสู่วิกถตการณ์การเมืองไทย
พ.ศ. 2548 - 2553 ซึ่งบั่นทอนเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทย จนนำไปสู่เหตุการณ์การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ส่งผลให้ฝ่ายทหารในนามคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) (ภายหลังเปลี่ยนเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)) นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
เข้าควบคุมอำนาจการปกครองและมีบทบาททางการเมือง และนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2550
สถานการณ์การเมืองไทยดำเนินไปโดยไร้เสถียรภาพตลอดตั้งแต่ พ.ศ. 2550 - 2557 จนกระทั่งรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง
ถูกรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องมาจาก วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556 - 2557 ซึ่งเกิดโดยกลุ่ม กปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) นำโดยนายสุเทพ
เทือกสุบรรณทำการประท้วงขับไล่รัฐบาล ซึ่งสถานการณ์ในขณะนั้น มีความต้องการของประชาชนบางกลุ่มที่ต้องการให้ทหารออกมาทำการรัฐประหาร
ตลอดเวลา 80 กว่าปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประเทศไทยมีการกบฏทั้งสิ้น 13 ครั้ง มีการรัฐประหารทั้งสิ้น
13 ครั้ง มีรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น 20 ฉบับ มีนายกทั้งสิ้น 28 คน โดยนายกที่มาจากการรัฐประหาร 11 คน ตัวเลขเหล่านี้สะท้อนความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศไทย
ได้ในระดับหนึ่ง
การผลัดเปลี่ยนอำนาจการปกครองจึงอยู่กับฝ่ายทหารเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าจะมีรัฐบาลพลเรือนหลายชุดผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาบริหารประเทศตามครรลองของประชาธิปไตย
แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น การปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย จึงเป็นไปแบบล้มลุก
คลุกคลานมาโดยตลอด จำนวนของการรัฐประหารยิ่งมากเท่าไรยิ่งแสดงความอ่อนแอของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมากเท่านั้น และแม้ว่าเหตุผลของการรัฐประหารนั้นจะอ้างเรื่องของความสงบเรียบร้อยหรือความสามัคคีของส่วนรวมก็ตาม แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลอันชอบธรรมของการทำการรัฐประหาร เพราะโดยธรรมชาติของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ความเห็นต่างทางการเมืองเป็นเรื่องปกติของการเมืองในระบอบประชาธิปไตย