กฎหมายเรื่องน่ารู้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว I (เกิด ตาย หมั้น-สมรส-หย่า)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว II (บุตรบุญธรรม เทคโนโลยีเจริญพันธุ์)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว III (มรดก)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา I (ข้อความคิดทั่วไป ความสามารถของบุคคล)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา II (เรื่องเงินทองกับกฎหมาย)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอาญา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอื่นที่สำคัญ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายระหว่างประเทศ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สิทธิมนุษยชน
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และหลักการของสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในเวทีโลกที่มีผลต่อประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

วัฒนธรรมไทยกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

วัฒนธรรมไทยกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย (ชุดที่ 1)

HARD

วัฒนธรรมไทยกับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

วัฒนธรรมไทยกับ
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย

      วัฒนธรรม เป็นสิ่งที่แสดงถึงระเบียบแบบแผนในการดำรงชีวิตของคนในสังคมที่มีการสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต เช่น มารยาท ศิลปะประเพณี การแต่งกาย พิธีกรรม เป็นต้น

      เราอาจแบ่งวัฒนธรรมออกเป็นสามแบบ คือ วัฒนธรรมหลัก วัฒนธรรมรอง (หรืออนุวัฒนธรรมที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า subculture) และวัฒนธรรมสากล (หรือที่เรียกว่า global culture)

      วัฒนธรรมหลัก หรือวัฒนธรรมของชาติ มักได้รับการยอมรับสนับสนุนโดยรัฐบาลกลาง ในประเทศไทย เรามีวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบของภาษา ดนตรี อาหาร การประพฤติปฏิบัติตน และส่วนประกอบอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน
      บางครั้ง การเชิดชูวัฒนธรรมหลักอาจนำมาสู่การลดทอนความสำคัญของวัฒนธรรมรองอันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นหรือกลุ่ม เช่น การละเลยความสำคัญของผู้นับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธ การที่เยาวชนรังเกียจหรืออายที่จะพูดภาษาท้องถิ่น


ปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการ
ก่อตัวของวัฒนธรรมไทยมีหลายประการ

  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์  
    สังคมภาคกลางของประเทศไทยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอุดมสมบูรณ์ ผู้คนมักตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำลำคลอง จึงทำให้มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับแม่น้ำที่หลากหลาย เช่น ประเพณีลอยกระทง ประเพณีการแข่งเรือ
  • การประกอบอาชีพเกษตรกรรม  
    ในอดีต สังคมไทยทำเกษตรกรรมเป็นหลัก จึงทำให้ลักษณะสังคมและวัฒนธรรมมีความเกี่ยวข้องกับการทำเกษตรกรรม เช่น ประเพณีขอฝน ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนมีลักษณะพึ่งพาอาศัยกันและกัน
  • คติความเชื่อทางศาสนา
    ความเชื่อตามศาสนาพุทธและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามท้องถิ่นนั้นมีผลต่อความเชื่อของผู้คน ทำให้เกิดค่านิยมสำคัญ เช่น ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ทำให้มีวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับผู้อาวุโส
  • การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม
    สังคมไทยมีการติดต่อสื่อสารกับสังคมอื่นและรับอิทธิพลมากมาย ทั้งอินเดีย จีน และตะวันตก โดยมีการดัดแปลงให้เข้ากับสภาพสังคม ทั้งอาหาร การแต่งกาย เครื่องใช้ ประเพณี

ความเป็นไทย

     “ความเป็นไทย” ที่ปรากฏในวัฒนธรรมหลักของชาติ (หรืออาจเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นวัฒนธรรมทางการ) นั้นนําเสนอแบบแผนที่เป็นภาพนิ่งตายตัวของความเป็นเอกราช ความมีศีลธรรม ความมีระเบียบแบบแผนที่ดีงาม ถูกต้องตามมาตรฐาน อันสะท้อนให้เห็นถึงความภาคภูมิใจใน ศักดิ์ศรี ความมีคุณธรรม มีน้ำใจไมตรี ต้อนรับขับสู้ ความมีมารยาท ความพิถีพิถัน ซึ่งเป็นคุณค่าที่ดีงามในสังคมไทยอันตั้งอยู่บนวิธีคิดของพระพุทธศาสนา ตัวอย่างคือ
การพยายามอธิบายว่าเมืองไทยนั้นเป็น “สยามเมืองยิ้ม”
      แต่หากเมื่อพิจารณาลงลึกถึงลักษณะของสังคมไทยจะพบว่า นอกจากวัฒนธรรมแบบทางการที่รับอิทธิพลมาจาก วัฒนธรรมหลวง ของชนชั้นสูง ที่แสดงให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม  ยังมี วัฒนธรรมราษฎร ของคนทั่วไปในประเทศที่มีความหลากหลายมากกว่า เช่น วัฒนธรรมล้านนา อีสาน ลาว ขอม มุสลิม จีน ชวา - มลายู กลุ่มชนชายขอบทางวัฒนธรรม เช่น ชาวกะเหรี่ยง ชาวม้ง ทั้งหมดนี้ต่างมีวิถีชีวิต ความเชื่อ ภาษา และขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน ในแง่นี้อาจกล่าวได้ว่า ลักษณะเด่นอีกประการของวัฒนธรรมไทยคือ ความสามารถในการผสมผสานความแตกต่างนั่นเอง


 การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม

      การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราอย่างมาก คือในยุคเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ความสมัยใหม่ (modernisation) ช่วงรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นต้น โดยที่รัฐไทยพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการปกครอง เศรษฐกิจ ไปจนถึงวัฒนธรรมประเพณี เพื่อให้เข้ากับการติดต่อสื่อสารกับโลกตะวันตก ซึ่งเข้ามาในภูมิภาคเพื่อล่าอาณานิคมและแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
      ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในราชสำนักก่อนแล้วค่อยๆ ขยายสู่ประชาชน คือ การยกเลิกการหมอบคลานเมื่อเข้าเฝ้า การให้ข้าราชการสวมเสื้อเพื่อเข้าเฝ้า ยกเลิกวิธีพิจารณาความแบบจารีตนครบาลเพราะเป็นวิธีที่โหดร้าย มีการประยุกต์การแต่งกายของชายหญิงให้เป็นไปอย่างสากล การให้สิทธิผู้หญิงในการศึกษา 
การเลือกคู่สมรส ซึ่งเหล่านี้ เป็นผลมาจากการเปิดประเทศกับตะวันตก รวมถึงการส่งราชนิกูลและข้าราชบริพารไปศึกษาต่อต่างประเทศด้วย

      โดยสรุปแล้ว วัฒนธรรมไทยได้ถูกปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เมื่อเริ่มเปิดประเทศเพื่อรับอิทธิพลของชาติต่างๆ ที่มาติดต่อเกี่ยวข้อง ดังนี้

  • ด้านการเมืองการปกครอง ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตย มีการบริหารรัฐแบบราชการ
  • ด้านศาสนา ยังคงนับถือพระพุทธศาสนาเป็นหลัก  แต่การตีความศาสนาเริ่มมีการใช้การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลเข้ามาช่วยมากขึ้น เปิดกว้างต่อประเพณีของศาสนาอื่นๆ มากขึ้น รวมไปถึงมีผู้ที่ไม่นับถือศาสนามากขึ้นด้วย
  • ด้านภาษา ภาษาไทยยังคงเป็นภาษาหลัก แต่มีการนำคำจากภาษาอื่นมาใช้ผสมมากขึ้น รวมถึงการเรียนภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆ เพิ่มเติมกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน เนื่องจากมีการทำงานติดต่อสื่อสารกับต่างชาติมากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงองค์ความรู้ต่างๆ ก็ไม่ได้อยู่ในภาษาไทยเพียงอย่างเดียว
  • ด้านการแต่งกาย เปลี่ยนไปแต่งกายแบบสากล หากแต่ก็มีการปรับให้เข้ากับของดั้งเดิม เช่น การใช้ผ้าไทยมาตัดเป็นชุดสากลเพื่อสวมใส่
  • ด้านวิถีการดำเนินชีวิต รับอิทธิพลต่างๆ ของตะวันตกมาอยู่ในชีวิตมากขึ้น ทั้งเทคโนโลยี วัฒนธรรมการรับประทานอาหาร การใช้เวลาว่าง

แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

      การอนุรักษ์วัฒนธรรม คือ การจัดการด้านการพิทักษ์รักษามรดกของสังคมที่ได้มีการสืบทอดมาจากอดีต เพื่อให้คนรุ่นหลังได้มีโอกาสทำความเข้าใจ ได้เห็นคุณค่า และมีความภาคภูมิใจต่อวัฒนธรรมของตน  
      เนื่องจากปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้น การอนุรักษ์วัฒนธรรมจึงมีความจำเป็นอย่างมาก การอนุรักษ์มิใช่เป็นการแช่แข็งให้วัฒนธรรมนั้นอยู่กับที่ แต่เป็นการทำความเข้าใจและปรับปรุงให้วัฒนธรรมนั้นๆ สามารถปรับใช้กับยุคสมัยได้อย่างเหมาะสม แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมอาจทำได้โดยการศึกษาค้นคว้าวิจัย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจวัฒนธรรมอย่างถ่องแท้ สร้างองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ทำให้คนรุ่นหลังมาศึกษาเรียนรู้ได้ง่าย รวมไปถึงการฟื้นฟูและส่งเสริมวัฒนธรรมดั้งเดิมให้บุคคลได้รับการเรียนรู้ โดยเฉพาะวัฒนธรรมที่กำลังจะเสื่อมหรือเลือนหายไป

      การขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ใช้อนุรักษ์วัฒนธรรมได้ และนำมาซึ่งการจัดสรรงบประมาณเพื่อดูแลมรดกทางวัฒนธรรม และยังเป็นการดึงดูดให้ผู้คนมีความสนใจวัฒนธรรมที่ถูกขึ้นทะเบียนมากขึ้น

      อีกตัวอย่างหนึ่งของการจัดองค์ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมให้สามารถเรียนรู้ได้ในพิพิธภัณฑ์หรือคลังความรู้ ซึ่งหากนำลูกเล่นของเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริม ก็จะทำให้วัฒนธรรมดูมีความน่าสนใจน่าเรียนรู้มากขึ้น เช่น ในกรณีของมิวเซียมสยามที่พยายามประยุกต์เทคนิคการนำเสนอต่างๆ รวมไปถึงการส่งเสริมให้นำวัฒนธรรมดั้งเดิมมาประยุกต์ใช้กับวัฒนธรรมสมัยใหม่ ก็เป็นสิ่งที่ควรสนับสนุน ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความคิดเปิดกว้างของผู้กำหนดนโยบายทางวัฒนธรรม  หากสามารถทำให้คนรุ่นใหม่เห็นคุณค่า หรือเห็นว่าวัฒนธรรมดั้งเดิมก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับโลกยุคปัจจุบันได้ ก็จะทำให้วัฒนธรรมสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ง่ายขึ้น

      ในแง่ของวัฒนธรรมท้องถิ่น อาจต้องเริ่มจากการค้นหาอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่บุคคลในชุมชนมีความผูกพัน หรือรู้สึกภูมิใจเป็นเจ้าของ รัฐอาจเข้าไปช่วยเหลือในแง่การฟื้นฟูหรือพัฒนาต่อยอดอัตลักษณ์เหล่านั้นให้ดำรงอยู่ โดยอาจทำในรูปแบบของสินค้าท้องถิ่น (OTOP) หรือการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมก็ได้

      นอกจากนี้ ควรมีการส่งเสริมสิทธิในการเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายด้วย เพื่อให้เป็นทัศนคติติดตัวนักศึกษา