กฎหมายเรื่องน่ารู้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว I (เกิด ตาย หมั้น-สมรส-หย่า)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว II (บุตรบุญธรรม เทคโนโลยีเจริญพันธุ์)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
โครงสร้างทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก
สิทธิมนุษยชน
วัฒนธรรม
การเมืองไทย
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย

ยอดวิว 25.9k

แบบฝึกหัด

EASY

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย (ชุดที่ 1)

HARD

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย (ชุดที่ 2)

news

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย

เนื้อหา

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย

      การให้คำนิยามของคำว่า กฎหมาย อาจแตกต่างกันไปตามสำนักความคิด แต่อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปแล้วคำว่ากฎหมายอาจอธิบายได้ ดังนี้

      กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐ หรือผู้มีอำนาจสูงสุด (รัฏฐาธิปัตย์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม และมีสภาพบังคับเป็นเครื่องมือในการทำให้บุคคลในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับนั้น

กฎหมายมีลักษณะ 5 ข้อ ดังต่อไปนี้

  1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ ที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม
  2. มาจากรัฏฐาธิปัตย์ คือ ประชาชนในรัฐนั่นเอง
    โดยวิธีการนั้นมาจากการที่ประชาชนเลือกผู้แทนของตนเข้าไปทำหน้าที่ในการออกกฎหมายในรัฐสภานั่นเอง
  3. ต้องมีสภาพบังคับที่เป็นกิจจะลักษณะ เช่น
    มีบทลงโทษไว้หากมีการละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายนั้น (เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของกฎหมาย)
  4. ต้องเป็นการทั่วไป คือ ต้องใช้บังคับกับทุกคนโดยเสมอภาคไม่มีการเลือกปฏิบัติกับผู้ใด เว้นแต่มีการบัญญัติไว้เฉพาะ เช่น ฑูตมีเอกสิทธิ์ที่จะไม่ถูกดำเนินคดีโดยศาลภายในของประเทศที่ไปประจำการอยู่
  5. ต้องใช้ได้ตลอด คือ ต้องใช้บังคับได้ทุกเวลาตราบเท่าที่ยังไม่การยกเลิกกฎหมายนั้นออกไป ดังนั้น
    ต่อให้กฎหมายออกมานานแค่ไหนแต่ไม่มีการยกเลิกกฎหมายนั่นก็ยังคงมีผลอยู่นั่นเองเอง จึงมีคำกล่าวที่ว่า “กฎหมายนอนหลับ แต่ไม่ตาย”

การเกิดของกฎหมาย

      กฎหมายที่เกิดในยุคแรกๆ นั้น เกิดจากความรู้สึกของมนุษย์และการประพฤติปฏิบัติของคนในสังคม เป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่ซับซ้อนมากนัก สามารถเข้าใจกันได้ว่าสิ่งนี้ผิด และปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เราเรียกกฎหมายยุคนี้ว่า กฎหมายชาวบ้าน ต่อมาเมื่อสังคมมีการพัฒนามากขึ้น กฎหมายที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาอีกต่อไป
       จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า กฎหมายของนักกฎหมาย ขึ้นมาด้วยเหตุที่ว่า นักกฎหมายได้ใช้เหตุผลของตนเองมาปรุงแต่กฎหมายที่มีอยู่เดิมให้สามารถใช้ได้มากขึ้นนั่นเอง จนมาถึงยุคปัจจุบัน ที่ได้มีการนำกฎหมายมาบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วก็ตาม เทคโนโลยีก็มีการพัฒนาขึ้นมาก กฎหมายก็จำต้องพัฒนาตามและบางเรื่องไม่สามารถนำเหตุผลมาปรุงแต่งได้ แต่ต้องการแก้ปัญหา จึงต้องบัญญัติกฎหมายเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานั้นโดยสิ่งนั้นมิได้มีอยู่ในเหตุผลของมนุษย์มาตั้งแต่แรก เช่น กฎหมายจราจร เป็นต้น เราเรียกกฎหมายยุคนี้ว่า กฎหมายเทคนิค


ระบบกฎหมาย

      ระบบกฎหมายที่สำคัญของโลกปัจจุบันมี 2 ระบบ คือ

Common Law คือ ระบบกฎหมายจารีตประเพณี โดยระบบนี้บางคนเรียกว่า ระบบกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่แบบนั้น กฎหมายก็เป็นลายลักษณ์อักษร เพียงแต่สิ่งที่เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาพิพากษา คือ คำตัดสินของศาล หาใช่ตัวบทกฎหมายเหมือนกับประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร ประเทศที่ใช้ระบบนี้ เช่น อเมริกา อังกฤษ แคนาดา เป็นต้น
Civil Law คือ ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรอันมีที่มาจากกฎหมายโรมัน โดยในการพิจารณาพิพากษาคดีจะถือเอาตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ ประเทศที่ใช้ระบบนี้ เช่น ไทย เยอรมนี ฝรั่งเศส เป็นต้น

ลำดับการใช้กฎหมายของไทย 

      ลำดับการใช้กฎหมายของไทยนั้น ปรากฏอยู่ในมาตรา 4 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยจะนำมาใช้ในกรณีที่เกิดช่องว่างทางกฎหมาย อันเป็นเครื่องมือให้ศาลหากฎหมายมาใช้พิจารณาคดีเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับคู่กรณีได้ เพราะศาลไม่อาจอ้างว่าไม่มีกฎหมายมาปรับใช้กับคดีเพื่อที่จะไม่ตัดสินคดีได้ โดยลำดับในการใช้มีดังต่อไปนี้

  1. ให้ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน
  2. นำจารีตประเพณีมาปรับใช้หากไม่มีกฎหมาย
    ลายลักษณ์อักษร โดยต้องเป็นจารีตที่มีลักษณะทั่วไป ปฏิบัติกันมาช้านานและถ้าไม่ทำตามจะรู้สึกผิด
    ไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
  3. นำกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้ คือ ศาลต้องไปหาเจตนารมณ์เบื้องหลังบทกฎหมายนั้นๆ แล้วนำมาปรับใช้ เช่น นำบทบัญญัติเรื่องหลุมขยะ มาปรับใช้กับหลุมกากสารเคมี เป็นต้น
  4. นำหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้ คือ นำเอาหลักพื้นฐานของกฎหมายนั้นๆมาใช้ เช่น หลักสัญญาต้องเป็นสัญญา หลักกฎหมายปิดปาก หรือหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน เป็นต้น

วิวัฒนาการกฎหมายในประเทศไทย

      การวิวัฒนาการของกฎหมายในประเทศไทยนั้น อาจแบ่งได้เป็น 2 ยุคที่สำคัญ คือ ยุคกฎหมายไทยเดิมและยุคกฎหมายไทยสมัยใหม่ ทั้งนี้ จุดแบ่งดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนแน่นอนเท่าใดนัก เนื่องจากนักประวัติศาสตร์กฎหมายหลายท่านมีความเห็นแตกต่างกัน กล่าวคือ บางท่านเห็นว่าควรเริ่มนับจาสมัยรัชกาลที่ 4 นับแต่มีการปฏิรูปประเทศ แต่บางท่านเห็นว่าควรเริ่มนับแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการปฏิรูปกฎหมายและปฏิรูปการศาล ด้วยเหตุนี้จุดแบ่งทีควรจะเป็นในการใช้แบ่งยุคสมัยทางกฎหมาย ก็คือการที่กฎหมายไทยยุคดังเดิมถูกยกเลิก มีการชำระกฎหมายและยกร่างประมวลกฎหมายตามแบบตะวันตก
      ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการจัดทำประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ในสมัยรัชกาลที่ 5 สามารถใช้เป็นจุดแบ่งทางประวัติศาสตร์กฎหมายของไทย เพราะเป็นยุคที่กฎหมายดั้งเดิมของไทยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
กฎหมายไทยเดิมยุคแรกอาจเริ่มอธิบายได้จากยุคสุโขทัยที่ปรากฏถึงวิธีการพิจารณาคดีและจารีตประเพณี ซึ่งปรากฏอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชั้นสำคัญ คือ หลักศิลาจารึก โดยสาระสำคัญที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก เช่น หลักสิทธิเสรีภาพของประชาชน คือ สิทธิในทรัพย์สินที่ตนหามาได้ ที่ปรากฏว่า “ใครใคร่จักค้าช้ำงค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือน ค้าทองค้า”
      กรรมสิทธิ์
ที่ปรากฏว่า “สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างไว้ได้แก่มัน”
      และการสืบมรดก ที่ปรากฏว่า “ลูกเจ้าลูกขุนผู้ใดแล้ล้มตายหายกว่า เหย้าเรือน (บ้าน) พ่อเชื้อ เข้าเสื้อคำมัน (ทองคำ) มันช้างขอ ลูกเมียเยียเข้า (ยุ้งข้าว) ไพร่ฟ้าข้าไท ป่าหมากป่าพลู พ่อเชื้อมันไว้แก่ลูกมันสิ้น...”

      ต่อมา เมื่ออาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง อาณาจักรอยุธยาก็เข้ามาแทนที่โดยเป็นอาณาจักรที่มีความยิ่งใหญ่ขึ้น มีความรุ่งเรืองมากขึ้น แต่มีลักษณะประเพณีทางการปกครองที่แตกต่างกัน ดังนั้น ลักษณะกฎหมายที่ปรากฏจึงมีความแตกต่างไปด้วย กล่าวคือ ในสมัยสุโขทัย กฎหมายจะอิงตามหลักพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่และมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก แต่ในสมัยอยุธยานั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียและมีการปกครองแบบเทวราชา คือ กษัตริย์เป็นสมมติเทพ อย่างไรก็ดี การใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์ ก็ต้องอยู่ภายใต้หลักการสำคัญคือ ทศพิธราชธรรม และ ประพฤติธรรม 4 ประการ

      ทั้งนี้เอกสารสำคัญที่แสดงถึงวิวัฒนาการทางด้านกฎหมาย สังคม และวัฒนธรรมที่สำคัญนับแต่สมัยอยุธยามาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก่อนที่จะมีการชำระกฎหมายและจัดทำประมวลกฎหมายแบบตะวันตกและถือว่าเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย ก็คือ กฎหมายตราสามดวง ซึ่งถูกใช้นับแต่ยุคอยุธยาและส่งต่อกันเรื่อยมา แม้บ้านเมืองจะถูกเปลี่ยนผ่านหรือถูกรุกรานอย่างไร ก็จะมีการส่งต่อหลักเกณฑ์ที่อยู่ในกฎหมายตราสามดวงเรื่อยมา จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 1 คือ คดีอำแดงป้อม แล้วเกิดเหตุอันไม่เป็นธรรมขึ้น ผู้ถูกหย่าจึงทูลเกล้าถวายฎีกาต่อพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 พระองค์ท่านเห็นว่าไม่เป็นธรรม จึงมีรับสั่งจัดตั้งคณะกรรมการชำระกฎหมายตราสามดวงขึ้น ให้ทำการรวบรวมเอกสารทางกฎหมายทีหลงเหลืออยู่มาตรวจสอบหาความถูกต้อง เพื่อทำการชำระกฎหมายให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน

      ต่อมาในยุคล่าอาณานิคม ประเทศไทยก็เป็นเป้าหมายของประเทศตะวันตกเช่นกัน และความไม่ทันสมัยของกฎหมายไทย ก็เป็นเหตุผลประการหนึ่งที่ชาติตะวันตกใช้เป็นเครื่องมือในการเอารัดเอาเปรียบประเทศไทย เช่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับอังกฤษ อันทำให้ไทยเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตไป
      ด้วยเหตุที่อังกฤษอ้างว่ากฎหมายไทยเป็นกฎหมายบ้านป่าเมืองเถื่อน เป็นกฎหมายที่ไร้อารยะ อังกฤษไม่ต้องการให้คนอังกฤษหรือคนภายใต้บังคับของอังกฤษถูกลงโทษหรือดำเนินคดีโดยกฎหมายของไทย ซึ่งต่อมาก็มีอีกหลายประเทศที่เข้าทำสนธิสัญญาที่มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้กับไทยเช่นกัน

      การที่ไทยเสียสิทธิทางการศาลให้แก่ศาลตะวันตกหลายประเทศ แม้จะทำให้ไทยเสียเปรียบเป็นอย่างมาก แต่เป็นจุดเปลี่ยนที่นำมาซึ่งการปฏิรูปประเทศในด้านการปกครอง กฎหมายและการศาล เศรษฐกิจ คมนาคม การศึกษา และขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน สมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรงทำการปฏิรูปการศาลจัดตั้งกระทรวงยุติธรรม ยกเลิกธรรมเนียมหมอบคลาน เลิกทาส ยกเลิกระบบไพร่ ยกเลิกการพิจารณาความโดยใช้จารีตนครบาล ประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 และเริ่มจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2440 มาแล้วเสร็จสมบูณ์เมื่อ พ.ศ.2477

      โดยระบบกฎหมายของไทยที่นำมาเป็นต้นแบบในการปฏิรูปกฎหมายคือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษรหรือ Civil Law นั่นเอง แม้ในตอนแรกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าจอมอยู่หัวกับพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรดฤทธิ์ จะมีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องของระบบกฎหมายที่ไทยควรนำมาใช้เป็นแบบอย่าง กล่าวคือ
กรมหมื่นฯ เห็นว่าควรใช้ระบบกฎหมายแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือ Common Law เพราะพระองค์ได้รับการศึกษามาจากประเทศอังกฤษซึ่งใช้ระบบกฎหมายดังกล่าว
แต่รัชกาลที่ 5 ทรงให้เหตุผลว่าระบบกฎหมายดังกล่าวจำต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนานกว่าการใช้ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรเพราะต้องอาศัยคำพิพากษาของศาลในการพิจารณาความ การปฏิรูปกฎหมายอาจล่าช้าออกไปและทำให้ไทยถูกชาติตะวันตกรุกราน จึงเสนอให้ใช้กฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร โดยการศึกษากฎหมายต่างประเทศแล้วนำมาประมวลเป็นกฎหมายของไทยจะเหมาะสมกับสถานการณ์และป้องกันภัยรุกรานได้ดีกว่า ดังนั้น ประเทศไทยจึงรับเอาระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรมาเป็นต้นแบบในการปฏิรูปกฎหมายของไทยนั่นเอง


ระบบศาลไทย

      ศาลไทยนั้นใช้ระบบศาลคู่ คือมีทั้งไต่สวนและกล่าวหา แยกระบบของผู้พิพากษาและแยกองค์กรศาลปกครองออกจากระบบศาลยุติธรรม

  1. ศาลยุติธรรม จะใช้ระบบกล่าวหา หลักคือ
    "ผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นนำสืบ" ผู้พิพากษาเป็นคนกลางที่ทำหน้าที่ตัดสินคดีความ ให้โจทก์และจำเลยต่อสู้กันเอง (โจทก์จะเป็นให้อัยการฟ้อง หรือผู้เสียหายฟ้องด้วยตนเอง หรือแต่งตั้งทนายก็ได้) แตกต่างกับทางอเมริกาแค่นิดเดียว คือทางอเมริกาจะใช้กฎหมายของแต่ละรัฐ และจะมีลูกขุนร่วมเข้ามาในการพิจารณาตัดสินคดีด้วย
    ซึ่งของไทยไม่มีลูกขุน อีกทั้งทางอเมริกาและยุโรปบางประเทศใช้ระบบศาลเดี่ยว คือ ให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีประเภทอื่น ๆ
  2. ศาลปกครอง ใช้ระบบไต่สวน ศาลเป็นผู้ค้นหาความจริงด้วยตนเอง
  3. ศาลรัฐธรรมนูญ คือศาลที่มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดกฎหมายและข้อบังคับอื่นๆ ว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ อย่างไร
  4. ศาลทหาร พูดง่ายๆก็คือ เป็นศาลที่มีอำนาจของตนเอง มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีที่ทหารกองประจำการกระทำผิด ตามกฎหมายพระธรรมนูญศาลทหาร