กฎหมายเรื่องน่ารู้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว I (เกิด ตาย หมั้น-สมรส-หย่า)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว II (บุตรบุญธรรม เทคโนโลยีเจริญพันธุ์)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว III (มรดก)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา I (ข้อความคิดทั่วไป ความสามารถของบุคคล)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมและสัญญา II (เรื่องเงินทองกับกฎหมาย)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอาญา
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายอื่นที่สำคัญ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายระหว่างประเทศ
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สิทธิมนุษยชน
ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และหลักการของสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในเวทีโลกที่มีผลต่อประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

ความหมายและความสำคัญของการเมือง

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ความหมายและความสำคัญของการเมือง (ชุดที่ 1)

HARD

ความหมายและความสำคัญของการเมือง (ชุดที่ 2)

news

ความหมายและความสำคัญของการเมือง

เนื้อหา

การเมืองคืออะไร

      พอพูดถึงการเมืองก็ดูเป็นเรื่องไกลตัวจากเราทุกคน ภาพที่นึกออกคงเป็นภาพคนใส่สูทแล้วไปโต้เถียงกันอยู่ในรัฐสภา ใช่ นั่นก็เป็นการเมืองเหมือนกัน แต่นั่นเป็นการเมืองระดับชาติ

      แต่จริงๆ แล้วการเมืองนั้นไม่ได้มีแต่ระดับชาติเท่านั้น ยังมีการเมืองระดับท้องถิ่น เช่น การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั่นก็ถือเป็นการเมือง ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวหน่อย ทุกๆ คนเคยเห็นการหาเสียงเลือกตั้งประธานนักเรียน นี่ก็เป็นการเมือง หรือการที่เพื่อนคนหนึ่งหว่านล้อมให้เพื่อนทุกคนคล้อยตามกันไปเที่ยวทะเล ในขณะที่อีกคนพยายามหว่านล้อมให้ไปเที่ยวภูเขา
นี่ก็เป็นการเมือง หรือแฟนสาวสั่งให้แฟนหนุ่มไปดูหนังด้วยกันที่โรงหนัง นี่ก็การเมืองอีกเช่นกัน พออ่านมาถึงตรงนี้บางคนอาจจะเริ่มงงๆ ว่าการเมืองมันคืออะไร

      สรุปง่ายๆ ก็คือ ในสภาวะใดก็ตามหากมีการต่อสู้แข่งขันกัน เพื่อแสวงหาอำนาจที่เหนือกว่ากันแล้ว สภาวะนั้นเป็นการเมืองทั้งสิ้น แต่หากจะกล่าวให้ลึกซึ้งและเป็นจริงเป็นจังกว่านี้ก็ต้องอธิบายว่า การเมือง หมายถึง การแข่งขันกันแสวงหาให้ได้มาซึ่งอำนาจ ซึ่งจะส่งผลต่อสังคมทั้งสังคมหรือส่วนใหญ่ของสังคม

การเมืองมาเกี่ยวกับการปกครองได้อย่างไร

      การเมืองและการปกครองเป็นคำ 2 คำที่มักปรากฏอยู่ด้วยกันเสมอๆ ตามที่กล่าวมาในตอนต้นว่า การเมืองเป็นเรื่องของการแข่งขันกันให้ได้มาซึ่งอำนาจ ส่วนการปกครองนั้น หมายถึง  เรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารหรือการวางระเบียบ กฎเกณฑ์สําหรับสังคม ในการที่จะบริหารวางระเบียบกฎเกณฑ์สำหรับสังคมได้นั้น จะต้องอาศัยอำนาจจึงจะดำเนินการสำเร็จได้ ซึ่งการจะได้อำนาจมานั้นเป็นเรื่องในทางการเมือง


การเมืองสำคัญอย่างไร

      ถ้าเรามองการเมืองในระดับภาพใหญ่ของประเทศ การเมืองจะเป็นเรื่องซึ่งเกี่ยวพันกับทุกๆ ชีวิตที่อาศัยอยู่ในประเทศนั้น สำหรับในระดับประเทศนั้นอำนาจทางการเมืองถูกใช้ในการเป็นเครื่องมือในการจัดการปกครอง การดูแลจัดการให้มนุษย์อยู่กันอย่างเป็นธรรมและเป็นระเบียบ ดังนั้น การเมืองจึงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์

     การเมืองยังเป็นเรื่องเกี่ยวพันกับอำนาจและการแบ่งปันผลประโยชน์ต่างๆ ในสังคม ถ้ารัฐใด ประเทศใด มีระบบการเมืองที่ดี มีสถาบันทางการเมืองที่มั่นคง มีนักการเมืองที่มีคุณภาพ รัฐนั้น ประเทศนั้น ก็จะเจริญรุ่งเรืองและพัฒนาก้าวหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้อง

      มนุษย์เมื่ออาศัยอยู่ในเขตแดนของรัฐไหนก็ย่อมต้องผูกพันกับระบอบการเมืองของรัฐนั้นๆ ระบอบการเมืองของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันตามภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม แนวคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ระบบการเมืองการปกครองที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน คือ ระบอบประชาธิปไตย และระบอบเผด็จการ ซึ่งระบบการเมืองที่แตกต่างกันนั้น ย่อมส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนที่แตกต่างกัน

กล่าวโดยสรุป การเมืองจึงเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ

การเข้าสู่อำนาจทางการเมืองทำได้อย่างไร

      เมื่อการเมืองเป็นเรื่องของการแข่งขันกันแสวงหาอำนาจ แต่การเข้ามาแสวงหาอำนาจนั้นอาจทำได้หลากหลายวิธีการ ซึ่งในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองของผู้ใช้อำนาจทางการเมืองทั้งหลาย

      เมื่อลองพิจารณาในทางประวัติศาสตร์ เราจะพบหนทางในการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี
ซึ่งเราอาจแบ่งได้เป็น 3 วิธีใหญ่ๆ คือ การเข้าสู่อำนาจผ่านการสืบสายโลหิต การเข้าสู่อำนาจผ่านการเลือกตั้ง และการเข้าสู่อำนาจด้วยการใช้กำลัง

   การเข้าสู่อำนาจผ่านการสืบสายโลหิต

      การเข้าสู่อำนาจผ่านการสืบสายโลหิตเป็นการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองแบบดั้งเดิมที่สุด และสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองแบบดั้งเดิม โดยเป็นการส่งผ่านอำนาจทางการเมืองไปให้กับผู้มีสายเลือดเดียวกับผู้มีอำนาจคนก่อน โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความรู้และความสามารถของ
ผู้ดำรงตำแหน่งว่าจะต้องมีความรู้และความสามารถเช่นผู้ดำรงตำแหน่งคนก่อน

      แนวคิดเรื่องการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองผ่านการสืบสายโลหิตนี้ สอดคล้องกับระบอบการปกครองแบบเดิมในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบกษัตริย์ เช่น
การสืบราชสมบัติหรือการสืบตำแหน่งของขุนนางสืบตระกูล ซึ่งการเลือกตั้งเป็นหนทางที่ถูกนำมาใช้เพื่อคัดเลือกคนที่มีความรู้ความสามารถมาบริหารประเทศ โดยบุคคลนั้นได้รับความไว้ใจจากประชาชน

   การเข้าสู่อำนาจผ่านการเลือกตั้ง

      การเลือกตั้งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับระบอบประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งไม่ได้ทำให้ประเทศนั้นเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะการเลือกตั้งเป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการเข้าสู่อำนาจ แม้แต่ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ก็ยังใช้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือในการหยั่งเสียงประชาชนหรือเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ผู้ปกครอง

      การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือสำคัญของประชาชนที่จะลิขิตอนาคตของประเทศและยืนยันหลักการ “อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน” ผู้ปกครองผูกพันอยู่กับประชาชนก็ด้วยการเลือกตั้ง หากประชาชนไม่ปรารถนาในตัวผู้ปกครองคนนั้น ผู้ปกครองคนนั้นก็จะไม่สามารถก้าวเข้าสู่อำนาจทางการเมืองได้ การเลือกตั้งต้องมีสม่ำเสมอ เพื่อเป็นหลักประกันให้รัฐบาลปกครองเพื่อประชาชน หรือเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองในกรณีที่ผู้ปกครองไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ

   การเข้าสู่อำนาจด้วยการใช้กำลัง

      การใช้กำลังเพื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมืองนั้น เป็นวิธีการหนึ่งโดยอาศัยกำลังและวิธีการที่รุนแรงและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเป็นการอาศัยกำลังเข้าข่มขู่ เช่น ใช้กองกำลังติดอาวุธเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลเดิม

      รูปแบบของการใช้กำลังเพื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมืองนั้นมีอยู่ใน 2 รูปแบบ คือ

  1. การปฏิวัติ (Revolution)  ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงไปในขั้นมูลฐานของระบอบการปกครอง เช่น การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1789 การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 และการปฏิวัติของจีน ค.ศ. 1949 เป็นต้น
  2. รัฐประหาร (Coup d’ Etat) ซึ่งเป็นการยึดอำนาจเพียงเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเท่านั้น แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในขั้นมูลฐานของระบอบการปกครอง เช่น การรัฐประหารโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ปัญหาเรื่องการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองด้วยการใช้กำลังมักเกิดขึ้นในประเทศที่ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองประเทศโดยไม่สนใจกติกาหรือระเบียบแบบแผนหรือเป็นไปโดยสันติวิธี การเกิดการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองโดยอาศัยกำลังทหารนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้ประชาธิปไตยอ่อนแอและแช่แข็งพัฒนาการของประชาธิปไตย
    เพราะโดยระบอบประชาธิปไตยได้กำหนดกลไกและกติกาเอาไว้ หากเกิดความไม่พอใจในตัวนักการเมืองที่บริหารประเทศนั้น ในการเลือกตั้งครั้งถัดไป ประชาชนก็ไม่ต้องเลือกนักการเมืองคนนั้นกลับเข้ามาดำรงตำแหน่ง จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยอำนาจนอกระบบมานำนักการเมืองคนนั้นออกจากตำแหน่ง          

พรรคการเมืองคืออะไร            

      การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันนั้น ก็เนื่องมาจากมีความต้องการหรือผลประโยชน์ ซึ่งรัฐสามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์แต่ละคนได้ จึงเป็นเหตุผลที่มนุษย์มารวมตัวอยู่ในรัฐ

      แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าความต้องการหรือผลประโยชน์ทุกอย่างจะได้รับการตอบสนอง ความต้องการหรือผลประโยชน์ที่จะได้รับการตอบสนองนั้น ต้องถูกนำมาผ่านกระบวนการรวบรวมและกลั่นกรองออกมาในรูปแบบของนโยบายเสียก่อน การรวบรวมและกลั่นกรองความต้องการหรือผลประโยชน์นั้น จะต้องมีหน่วยที่ทำหน้าที่รวบรวมและกลั่นกรองว่าผลประโยชน์ใดสมควรนำมาเป็นนโยบาย
ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่นี้ก็คือ “พรรคการเมือง”           

      ดังนั้น พรรคการเมืองจึงหมายความถึงกลุ่มของประชาชนที่แบ่งแยกออกไปเป็นส่วนๆ ตามความคิดเห็นหรือประโยชน์ได้เสียในทางการเมืองนั่นเอง          

   ความสำคัญของพรรคการเมือง

      ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น วางอยู่บนหลักการยอมรับความเสมอภาคของประชาชน ดังนั้นประชาชนทุกคนจึงเท่าเทียมกัน ความต้องการและผลประโยชน์ของทุกๆ คนจึงมีความสำคัญเท่าเทียมกัน และเมื่อคนหมู่มากมารวมตัวอยู่ด้วยกัน ความต้องการและผลประโยชน์จึงมีอยู่อย่างหลากหลาย

      ระบบพรรคการเมืองมีความสำคัญมากในฐานะที่เป็นหน่วยควบคุมและจัดระเบียบการทำหน้าที่ รวบรวมผลประโยชน์ ซึ่งหากไม่มีระบบพรรคการเมือง
การรวบรวมผลประโยชน์อาจเกิดขึ้นอย่างไม่เปิดเผย ซึ่งจะทำให้เป็นการทำหน้าที่อย่างกระจัดกระจายและอย่างลำเอียง เพราะตัวพรรคการเมืองจะเป็นตัวหล่อหลอมความต้องการและผลประโยชน์ของสมาชิกพรรค ซึ่งมาจากประชาชนที่หลากหลายกลุ่ม เพื่อนำไปกำหนดเป็นนโยบายของพรรคการเมือง ทำให้พรรคการเมืองสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดีกว่าระบบเผด็จการที่ความคิดเห็นมาจากคนเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว
ซึ่งทำให้เกิดความลำเอียงหรือขาดความเข้าใจในการตอบสนองความต้องการของประชาชน หากพรรคการเมืองไหนได้เป็นรัฐบาลพรรคการเมืองนั้นก็จะได้นำนโยบายของตนไปปฏิบัติ แต่ถ้าไม่ได้เป็นรัฐบาลก็จะได้เป็นฝ่ายค้าน ซึ่งคอยตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล 

      ไม่ใช่ทุกระบบการเมืองจะต้องมีพรรคการเมือง
บางระบบการเมืองก็ไม่จำเป็นต้องมีพรรคการเมือง เช่น ในปรากฏการณ์ที่กองทัพทำการรัฐประหารหรือระบบที่ราชการครองอำนาจ และไม่ยินยอมให้พรรคการเมืองมีบทบาทอันชอบธรรมในกระบวนการทางการเมือง โดยอ้างเหตุผลเรื่องความสงบเรียบร้อยหรือประเทศชาติยังไม่มีความมั่นคงพอที่จะมีการแข่งขันขัดแย้งกันได้
การมีพรรคการเมืองจะทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคม ภายใต้ปรากฏการณ์เช่นนี้ พรรคการเมืองจึงไม่อาจเกิดขึ้น และถึงเกิดขึ้นก็ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นกลุ่มใต้ดินไป

      ระบบพรรคการเมืองเหมือนกันทั้งโลกหรือไม่ คำตอบคือไม่เหมือน เพราะระบบการเมืองแต่ละระบบจะมีระบบพรรคการเมืองของตัวเอง ซึ่งแตกต่างไปตามวัฒนธรรมการเมืองและลักษณะของระบบการเมืองนั้นเอง แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ความสำคัญของพรรคการเมืองในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการรวบรวมและหล่อหลอมความต้องการและผลประโยชน์ของคนในสังคม พรรคการเมืองกับการเลือกตั้งนั้นสัมพันธ์กันในแง่ที่ว่า พรรคการเมืองเป็นเครื่องมือในการนำเสนอนโยบาย เพื่อที่จะได้ทำนโยบายที่พรรคกำหนดขึ้นมาให้บรรลุพรรคจะต้องได้เป็นรัฐบาล ฉะนั้นไม่มีพรรคการเมืองใดที่ไม่อยากเป็นรัฐบาล เพราะหากพรรคได้เป็นรัฐบาลจึงจะนำเอานโยบายไปปฏิบัติได้

      การจะเข้าเป็นรัฐบาลได้ในระบอบประชาธิปไตยจะต้องผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งในการเลือกตั้งพรรคการเมืองจะเป็นผู้ส่งบุคคลลงสมัครรับเลือกตั้ง          


นักการเมืองกับความเป็นอิสระ

      แม้นักการเมืองจะสังกัดพรรคการเมืองก็ตาม
ในทางทฤษฎีนักการเมืองต้องคำนึงเสมอว่าตนนั้นเป็นอิสระและปฏิบัติหน้าที่ผูกพันกับผลประโยชน์ของชาติและประชาชน มิใช่จำเป็นต้องผูกพันภายใต้อาณัติของพรรคการเมือง          


ความสัมพันธ์ระหว่างระบอบการเมืองกับเศรษฐกิจ  

      โดยทั่วไป ประเทศที่มีระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยมักจะใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
เพราะในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย บุคคลย่อมมีเสรีภาพที่จะประกอบอาชีพและดำเนินธุรกิจได้อย่างอิสระ ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ ปัจจัยการผลิตเป็นของเอกชน เอกชนจึงเป็นผู้กำหนดว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร โดยรัฐมีหน้าที่จะต้องไม่ทำการอันเป็นการขัดขวางเสรีภาพของเอกชนและทำให้การแข่งขันระหว่างเอกชนเป็นไปโดยเสรี

      ส่วนในระบอบเผด็จการ ประชาชนต้องปฏิบัติตามนโยบายที่ถูกกำหนดจากผู้มีอำนาจ รัฐบาลเป็นผู้วางแผนและควบคุมปัจจัยการผลิต เศรษฐกิจจึงเป็นไปตามการชี้นำของรัฐบาล แต่ไม่จำเป็นเสมอไปที่ระบอบเผด็จการรัฐบาลจะวางแผนและควบคุมปัจจัยการผลิต รัฐบาลอาจปล่อยให้เอกชนมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพและประกอบกิจการก็ได้          


ความสัมพันธ์ระหว่างระบอบการเมืองกับสังคม          

      ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่ามนุษย์นั้นเกิดมามีความเสมอภาคเท่าเทียมกันทุกคน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะรวยหรือยากจน มีการศึกษาสูงเพียงใดก็ตาม มนุษย์ทุกคนนั้นก็มีความเสมอภาคกัน เพราะทุกคนต้องตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเดียวกัน ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจปกครอง ผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองจึงเป็นคน ๆ เดียวกัน และรัฐจะต้องปฏิบัติต่อบุคคลทุกคนโดยเสมอเหมือนกัน หากจะเปรียบให้เห็นภาพก็อาจจะบอกได้ว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นเหมือนกับห้องเรียนห้องหนึ่งที่คนทุกคนมีขนาดตัวเท่าๆ กัน ไม่มีใครตัวใหญ่กว่าใคร จึงไม่มีใครมารังแกใครได้ หากใครทำผิดกฎกติกาของห้องก็จะต้องถูกลงโทษ จะใช้กำลังรังแกเพื่อนร่วมห้องเพื่อไม่ให้ตนเองต้องถูกลงโทษไม่ได้

      แต่ถ้าเป็นการปกครองในระบอบเผด็จการนั้น สิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะถูกจำกัด และขาดความเสมอภาคกัน เพราะอำนาจการปกครองอยู่ที่คนๆ เดียวหรือกลุ่มเดียว ผู้ปกครองจึงมีสถานะไม่เท่ากับผู้ใต้ปกครอง หากเปรียบก็อาจเปรียบได้กับห้องเรียนที่มีคนตัวใหญ่และมีพละกำลังมากๆ
ที่คอยกลั่นแกล้งคนตัวเล็กกว่า คนตัวเล็กกว่าจะไปต่อสู้ก็ไม่ได้ เพราะมีกำลังน้อยกว่า

ทีมผู้จัดทำ