กฎหมายเรื่องน่ารู้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
100%
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว I (เกิด ตาย หมั้น-สมรส-หย่า)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว II (บุตรบุญธรรม เทคโนโลยีเจริญพันธุ์)
RELIGION
ออกสอบ
น้อย
กฎหมาย
ออกสอบ
50%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
โครงสร้างทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก
สิทธิมนุษยชน
วัฒนธรรม
การเมืองไทย
การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว II (บุตรบุญธรรม เทคโนโลยีเจริญพันธุ์)

ยอดวิว 5.2k

แบบฝึกหัด

EASY

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว II (ชุดที่ 1)

HARD

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว II (ชุดที่ 2)

กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนแองและครอบครัว II (บุตรบุญธรรม เทคโนโลยีเจริญพันธุ์)

เนื้อหา

การรับบุตรบุญธรรม :  
บุตรบุญธรรมคือใคร แล้วเขามีสิทธิอะไรบ้าง?

      การเลือกรับบุตรบุญธรรมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ไม่สามารถมีบุตรได้ หรือ ผู้ที่มีบุตรอยู่แล้ว แต่ต้องการรับเด็กมาอยู่ในความดูแลเพิ่มเติ่ม ซึ่งเมื่อขึ้นชื่อว่าบุตรบุญธรรม โดยทั่วไปแล้วก็จะคิดกันว่าต้องไม่มีความเกี่ยวข้องกันในทางสายเลือด แต่แท้จริงแล้วบุตรบุญธรรมสามารถเป็นใครก็ได้      

ซึ่งการรับบุตรบุญธรรมนั้นจะสมบูรณ์ ก็ต่อเมื่อ
มีการจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมอย่างถูกต้อง
ตามกฎหมาย

โดยการรับบุตรบุญธรรมต้องคำนึงถึง เงื่อนไข ดังต่อไปนี้

  1. อายุของผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรม
    คือ ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
  2. ความยินยอม คือ หากบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน หากบุตรบุญธรรมมีอายุต่ำกว่า 15 ปี บุตรบุญธรรมนั้นต้องให้ความยินยอมในการเป็นบุตรบุญธรรมของตนเองด้วย หากผู้รับบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส คู่สมรสของผู้นั้นต้องให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมด้วย
  3. ห้ามมีบุตรบุญธรรมหลายคน เว้นแต่บุตรบุญธรรมนั้นเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรส

อย่างไรก็ดีมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

  • ห้าม พระภิกษุรับบุตรบุญธรรม
  • การสิ้นสุดการรับบุตรบุญธรรม เกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือมีการจดทะเบียนเลิกรับ หรือมีการสมรสกันระหว่างบุคคลทั้งสอง
  • ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิในการรับมรดกของบุตรบุญธรรม เพื่อป้องกันการรับบุตรบุญธรรมเพราะหวังมรดกของเด็กเป็นสำคัญ
  • บุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเช่นเดียวกับทายาทโดยธรรมของผู้รับบุตรบุญธรรม

กฎหมายเทคโนโลยี
ช่วยเจริญพันธุ์ และความเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย :
สรุปลูกใครหว่า?

การอุ้มบุญ

      ความเป็นมาเรื่องการอุ้มบุญนี้มีการพูดมานานในประเทศไทย แต่เพิ่งจะมีกฎหมายออกมารองรับการกระทำเช่นนี้ โดยกฎหมายที่ว่าก็คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 นั่นเอง
      อย่างไรก็ดี กฎหมายก็มิได้รองรับ การอุ้มบุญของชาวต่างชาติ การอุ้มบุญในทางการค้า การอุ้มบุญเพื่อเพศที่สาม และการอุ้มบุญเพื่อผู้ที่มิได้ทำการสมรส เนื่องด้วยกฎหมายฉบับนี้ออกมาเพื่อช่วยเหลือคู่สมรสชาวไทยที่ไม่สามารถมีบุตรได้โดยวิธีธรรมชาติให้สามารถมีบุตรได้

ทั้งนี้การอุ้มบุญก็ต้องทำตามเงื่อนไขของกฎหมาย ดังต่อไปนี้

  1. ต้องเป็น คู่สมรสสัญชาติไทย ที่ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และสมรสกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
  2. ต้องไม่ใช้ไข่ของหญิงที่ทำการอุ้มบุญ เพื่อให้เด็กมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับผู้ที่ประสงค์จะมีบุตรมากที่สุด
  3. หญิงที่จะอุ้มบุญต้องผ่านการมีบุตรมาก่อนเท่านั้น และหญิงนั้นต้องได้รับความยินยอมจากสามีของหญิงนั้นแล้ว ไม่ว่าหญิงนั้นจะสมรสโดยชอบด้วยกฏหมายของหญิงนั้นหรือไม่

    เช่น เอ อยู่กินกับ บี โดย เอ เป็นญาติของ ซี ซึ่ง ซี มีเงื่อนไขตามที่กฎหมายต้องการครบทุกข้อ จึงต้องการมีบุตรเพราะไม่สามารถมีเองได้ จึงขอให้ เอ ญาติตัวเองที่ผ่านการมีบุตรมาแล้วช่วยอุ้มบุญให้ เช่นนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อ บี สามีเอที่อยู่กินกัน ให้ความยินยอมในการอุ้มบุญนี้ด้วย

      พรบ. อุ้มบุญฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2558 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2558 ดังนั้น ในกรณี น้องคาร์เมน จึงยังไม่สามารถนำพรบ.ฉบับนี้มาใช้บังคับได้

      แต่การพิจารณาประเด็นนี้เราก็ต้องกลับไปสู่หลักกฎหมาย นั่นคือ ก่อนร่างพ.ร.บ.อุ้มบุญ บังคับใช้ ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดสถานภาพของเด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ และการรับตั้งครรภ์แทนไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้น การพิจารณาสถานภาพของเด็กจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรทัด 5 ว่าด้วยครอบครัวมาบังคับใช้โดยอนุโลม

      กล่าวคือ ความเป็นมารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็ก กฎหมายกำหนดให้หญิงที่ให้กำเนิดบุตรเป็นมารดาที่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงสถานภาพการสมรสของหญิงนั้น แต่ความเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายต้องพิจารณาจากสถานภาพการสมรสของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน หากหญิงนั้นสมรสตามกฎหมาย กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน หากหญิงนั้นไม่มีการสมรสตามกฎหมาย เด็กก็ไม่มีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย คู่สมรสที่เป็นผู้ว่าจ้าง ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกับเด็กซึ่งต้องมีสถานะเป็นพ่อแม่บุญธรรมของเด็ก โดยจะต้องรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งต้องเป็นไปตามกฎหมายในเรื่องของการรับบุตรบุญธรรม


ความเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

โดยทั่วไปนั้น ความเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย สามารถพิจารณาได้ 2 กรณี ดังนี้

  1. บิดา มารดามิได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย (อยู่กินกันแบบไม่ได้จดทะเบียนสมรสนั่นเอง)
    บุตรที่เกิดมาเป็นสิทธิของมารดาแต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ดี หากภายหลังบิดา มารดาได้ทำการสมรสกัน บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร หรือศาลได้พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้ ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายย่อมมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่เด็กคนนั้นเกิด ทั้งนี้ การฟ้องศาลเพื่อพิสูจน์ว่าเด็กเป็นหรือไม่เป็นเด็กที่ชอบด้วยกฎหมายจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงการเกิดของเด็ก แต่ห้ามฟ้องเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่เด็กเกิด
  2. บิดา มารดาสมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย บุตรที่เกิดมาย่อมเป็นบุตรโดยชอบของทั้งบิดาและมารดา 
    บทสันนิษฐานของการเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (สามารถทำการพิสูจน์หักล้างได้) มีดังนี้
  • เด็กที่เกิดขณะบิดามารดาสมรสกันอยู่ ย่อมเป็นลูกของบิดาที่สมรสกับมารดาในขณะนั้น
  • เด็กที่เกิดภายใน 310 วัน นับตั้งแต่การสมรสสิ้นสุด ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของผู้ที่เคยเป็นสามี
  • เด็กที่เกิดก่อนศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ หรือภายใน 310 วันหลังจากนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของผู้ที่เคยเป็นสามี
  • เด็กที่เกิดจากการสมรสใหม่ และคลอดบุตรภายใน 310 วัน นับแต่การสมรสครั้งก่อนสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของผู้ที่เคยเป็นสามี
  • เกิดจากหญิงที่ทำการสมรสซ้อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของผู้ซึ่งจดทะเบียนสมรสครั้งหลัง

ทีมผู้จัดทำ