ความน่าจะเป็น
แฟคทอเรียล และ กฎการนับเบื้องต้น
PAT
ออกสอบ
33%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น I
PAT
ออกสอบ
33%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น II
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การเรียงสับเปลี่ยนเชิงวงกลม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
วิธีจัดหมู่
PAT
ออกสอบ
67%
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ทฤษฎีบททวินาม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การทดลองสุ่ม
PAT
ออกสอบ
33%
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์
PAT
ออกสอบ
67%
O-NET
ออกสอบ
100%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
คุณสมบัติการบวกของความน่าจะเป็น
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
คุณสมบัติการคูณของความน่าจะเป็น
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

แฟคทอเรียล และ กฎการนับเบื้องต้น

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

แฟคทอเรียลและกฎการนับเบื้องต้น

MEDIUM

แฟคทอเรียล และ กฎการนับเบื้องต้น

HARD

แฟคทอเรียล และ กฎการนับเบื้องต้น

เนื้อหา

แฟคทอเรียล และ
กฎการนับเบื้องต้น

ศาสตร์ทางด้าน “ความน่าจะเป็น” หรือ “probability” จริงๆแล้วมีรากฐานมาจาก “การพนัน” ซึ่งมีความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 17 ความสนใจในเรื่อง “โอกาสในการชนะ” นำพามาสู่การสร้างทฤษฎีทางคณิตศาสตร์
หากแต่ว่านักแสวงโชคยังมีความเชื่อว่า การพนันมีอะไรบางอย่างเหนือธรรมชาติ
ที่อยู่นอกตำรา การพัฒนาทางทฤษฎีจึง
ก่อตัวขึ้นอย่างไม่เร็วนัก โดยกลุ่มบุคคลสำคัญในช่วงเริ่มต้นนี้ คือ Cardano, Fermat, Pascal และ Huygens
การพัฒนาของทฤษฎีความน่าจะเป็นมีขึ้นต่ออย่างจริงจังและรวดเร็วในช่วงศตวรรษที่ 18 โดยมีบุคคลสำคัญ คือ Bernoulli และ De Moivre

ก่อนจะทำความรู้จักกับความน่าจะเป็น เรามาเรียนรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับความน่าจะเป็นกันก่อนในบทที่ 1 ถึง บทที่ 6 โดยในบทแรกนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ แฟคทอเรียล และ กฎการนับเบื้องต้น

แฟคทอเรียล

กำหนดให้ n เป็นจำนวนนับใดๆ นั่นคือ n element of left curly bracket 1 comma 2 comma 3 comma... right curly bracket
n แฟคทอเรียล จะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ n factorial และถูกนิยามโดย
n factorial equals n cross times left parenthesis n minus 1 right parenthesis cross times left parenthesis n minus 2 right parenthesis cross times... cross times 2 cross times 1 
และ 0 factorial equals 1
ตัวอย่าง

• 3 factorial equals 3 cross times 2 cross times 1 equals 6

fraction numerator 4 factorial 2 factorial over denominator 3 factorial end fraction equals fraction numerator 4 cross times 3 cross times 2 cross times 1 cross times 2 cross times 1 over denominator 3 cross times 2 cross times 1 end fraction equals 4 cross times 2 equals 8

5 factorial 0 factorial equals 5 cross times 4 cross times 3 cross times 2 cross times 1 cross times 1 equals 120

กฎการนับเบื้องต้น

กฎการนับเบื้องต้น คือ การนับจำนวนวิธีการทั้งหมดที่สามารถทำได้ของการดำเนินการอะไรสักอย่างหนึ่ง โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 กฎย่อย คือ กฎการคูณ และ กฎการบวก

กฎการคูณ กฎนี้จะใช้เมื่อเราดำเนินการอะไรอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องทำหลายอย่างพร้อมๆกัน หรือ เป็นขั้นเป็นตอนต่อๆกัน โดยแต่ละอย่าง หรือ แต่ละขั้นตอนที่ทำ เป็นอิสระต่อกัน ในที่นี้สมมติว่าการดำเนินการมี k ขั้นตอน โดย
ขั้นตอนที่ 1 มีวิธีการทำ n subscript 1วิธี     
ขั้นตอนที่ 2 มีวิธีการทำ n subscript 2 วิธี
vertical ellipsis
ขั้นตอนที่ k มีวิธีการทำ n subscript k วิธี
จำนวนวิธีการทั้งหมดจะเท่ากับ n subscript 1 cross times n subscript 2 cross times... cross times n subscript k วิธี
กฎการบวก กฎนี้จะใช้เมื่อ ในการดำเนินการอะไรอย่างหนึ่ง มีหลายวิธีให้เลือก โดยสามารถเลือกได้เพียง 1 วิธีเท่านั้น และ ในแต่ละวิธีมีตัวเลือกย่อยอีก ในที่นี้สมมติว่าการดำเนินการอย่างหนึ่งมี l วิธีให้เลือก ในแต่ละวิธีมีตัวเลือกย่อย ดังนี้
วิธีที่ 1 มีตัวเลือกย่อย m subscript 1 วิธี
วิธีที่ 2 มีตัวเลือกย่อย m subscript 2 วิธี
vertical ellipsis
วิธีที่ l มีตัวเลือกย่อย m subscript l วิธี
วิธีการทั้งหมด คือ m subscript 1 plus m subscript 2 plus... plus m subscript l วิธี
หมายเหตุ กฎการคูณ และ กฎการบวก อาจถูกใช้ควบคู่กัน โดยปัญหาบางปัญหา อาจต้องใช้กฎใดกฎหนึ่ง หรือ ทั้ง 2 กฎ
ก็เป็นได้

ตัวอย่าง

  1. มาร์ชต้องการแต่งตัวไปเที่ยว โดยมาร์ชมีเสื้อ 4 ตัว กางเกง 2 ตัว และ รองเท้า 3 คู่ มาร์ชสามารถเลือกแต่งตัวได้ 4 cross times 2 cross times 3 equals 24 วิธี
  2. มาร์ชต้องการเดินทางจากบ้านไปสยาม โดยมีวิธีการเดินทางทั้งหมด 2 วิธี คือ นั่งรถประจำทาง หรือ    นั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถประจำทางที่มาร์ชนั่งได้มี 3 สาย ส่วนมอเตอร์ไซค์มีเพียง 1 วินเท่านั้น จำนวนวิธีเดินทางทั้งหมด คือ 3 plus 1 equals 4 วิธี
  3. ในการเลือกซื้อรถรุ่นหนึ่ง ลูกค้าสามารถเลือกได้ว่า จะซื้อรถ ซีดาน (4 ประตู) หรือ แฮทช์แบค
    (5 ประตู) ซีดานจะมีรุ่นย่อย 3 รุ่น และ แฮทช์แบคจะมีรุ่นย่อย 2 รุ่น ทั้งสองแบบมี 5 สีให้เลือก ต้องการหาจำนวนวิธีที่จะเลือกซื้อรุ่นนี้ทั้งหมด

    -ถ้าเลือกซีดาน จะสามารถเลือกซื้อได้ 3 รุ่นย่อย และ 5 สี รวมทั้งสิ้น 3 cross times 5 equals 15 วิธี
    -ถ้าเลือกแฮทช์แบค จะสามารถเลือกซื้อได้
    2 รุ่นย่อย และ 5 สี รวมทั้งสิ้น 2 cross times 5 equals 10 วิธี

    เนื่องจากลูกค้าสามารถเลือกซื้อซีดาน หรือ แฮทช์แบค อย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวนวิธีทั้งหมด คือ 15 plus 10 equals 25 วิธี