ลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นส่วนขยายของพันธุศาสตร์เมนเดล
การถ่ายทอดยีนและโครโมโซม
องค์ประกอบและโครงสร้างทางเคมีของ DNA
สมบัติของสารพันธุกรรม
มิวเทชัน
พันธุวิศวกรรมและการวิเคราะห์ DNA
เทคโนโลยีทาง DNA
แนวคิดและหลักฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
พันธุศาสตร์ประชากร
กำเนิดของสปีชีส์ และ วิวัฒนาการของมนุษย์

กฎแห่งการแยกและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ

ยอดวิว 50.9k

แบบฝึกหัด

EASY

กฎแห่งการแยกและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (ชุดที่ 1)

HARD

กฎแห่งการแยกและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

กฎแห่งการแยกและกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ


สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิต ที่เป็น diploid
คือ มีโครโมโซม 2 ชุด (2n) ดังนั้นในตำแหน่งเดียวกัน ยีนที่ควบคุมทางลักษณะทางพันธุกรรมจะอยู่เป็นคู่ สามารถเรียกอีกแบบว่า จีโนไทป์(Genotype)

จากผลทดลองปลูกถั่วลันเตา และเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติ แล้ววิเคราะห์ข้อมูล เมนเดลจึงอธิบายกฏการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ไว้ 2 ข้อหลัก ๆ

  1. Law of segregation กฎแห่งการแยก
    โดยเมนเดลกล่าวว่า

    factors ที่อยู่เป็นคู่กันจะแยกออกจากกันเมื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ โดยเซลล์สืบพันธุ์หนึ่งจะมีสารควบคุมทางพันธุกรรมเพียง
    1 แบบ
  2. Law of independent assortment
    กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ
    โดยเมนเดลกล่าวว่า

    factors ที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันของโครโมโซมคนละคู่ สามารถเกิดการจัดรวมกลุ่มกันได้อย่างอิสระ โดยกระบวนการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์


ทั้งนี้ Mendel  ได้อธิบายกฎเหล่านี้ทางคณิตศาสตร์โดยยึดหลักการจากแนวคิด การคํานวณความน่าจะเป็น (probability)

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ A
=  จำนวนครั้งที่เหตุการณ์ A  จะเกิดขึ้นได้
    จำนวนครั้งของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด

สรุปกฎพื้นฐานของความน่าจะเป็น

  • กฎการบวก (addition law) ใช้กับสถานการณ์
    ที่เหตุการณ์ไม่สามารถเกิดขึ้นพร้อมกันได้

        ความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ A หรือ B
    =  ความน่าจะเป็นของ A + ความน่าจะเป็นของ B
    ตัวอย่าง
    ในการหยิบไพ่ 1 ครั้ง โอกาสที่จะได้ J หรือ Q
    เป็นเท่าใด

    โดยกฎการบวก สามารถใช้ได้ในสถานการณ์นี้ได้
    เพราะโอกาสที่จะหยิบไพ่ได้  J หรือ Q ไม่เกี่ยวข้องกัน

    ดังนั้น โอกาสที่จะหยิบไพ่ได้  J หรือ Q
    = โอกาสที่จะหยิบไพ่ได้  J + โอกาสที่จะหยิบไพ่ได้ Q
    = 1/13 + 1/13
    = 2/13

  • กฎการคูณ (multiplication law) ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันได้ เรียกว่า เป็นอิสระต่อกัน

        ความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ A และ B
    =  ความน่าจะเป็นของ A x ความน่าจะเป็นของ B
    ตัวอย่าง
    โอกาสที่พ่อแม่จะมีบุตร 3 คนเป็นลูกชายทั้งหมด  เนื่องจากโจทย์ถามความน่าจะเป็นของการเกิดลูกชายเป็นคนที่ 1  คนที่ 2 และคนที่ 3 จึงเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกัน แต่เป็นอิสระจากกัน จึงสามารถใช้กฎการคูณของความน่าจะเป็น

    โอกาสที่พ่อแม่จะมีบุตร 3 คนเป็นลูกชายทั้งหมด
              = โอกาสที่ลูกคนที่ 1 จะเป็นลูกชาย x
                  โอกาสที่ลูกคนที่ 2 จะเป็นลูกชาย x
                  โอกาสที่ลูกคนที่ 3 จะเป็นลูกชาย x
              =  ½ x ½ x ½
              =  ⅛

ข้อควรระวัง คือต้องพิจารณาคำถามให้ดี ว่าโอกาสการเกิดเหตุการณ์ที่โจทย์ถามเกี่ยวข้องกันหรือไม่ควรใช้กฎการบวกหรือกฎการคูณ

การถ่ายทอดพันธุกรรมตามกฎของ
เมนเดล (Mendelian inheritance)

เมนเดลได้ใช้หลักการของกฎความน่าจะเป็นมาวิเคราะห์ผลการทดลองลักษณะทางพันธุกรรมของถั่วลันเตาที่ได้ปลูกไว้ในรุ่นลูกและรุ่นหลาน

ตัวอย่างการทดลองที่ 1
เมนเดลนำถั่วลันเตาพันธุ์แท้มาผสมกัน เช่น ถั่วลันเตาที่มีเมล็ดสีเขียวมาผสมกับถั่วลันเตาที่มีเมล็ดสีเหลือง

     P:   Green (GG) x Yellow (gg)
     F1: Green (Gg) , Green (Gg,
           Green (Gg)
 , Green (Gg)

พบว่าในประชากรรุ่น F1 ถั่วลันเตามีเมล็ดสีเขียวทั้งหมด
ดังนั้น ลักษณะเมล็ดสีเขียว เรียกว่าเป็นยีนเด่น และลักษณะเมล็ดสีเหลืองเป็นยีนด้อย และไม่ถูกแสดงออกในรุ่นนี้เนื่องจากยีนด้อยจะถูกยีนเด่นข่มอย่างสมบูรณ์

ณ จุดนั้น Mendel ไม่เข้าใจว่า ลักษณะเมล็ดสีเหลืองหายไปไหนจึงทำการทดลองต่อโดยการนำ F1 มาผสมพันธุ์กัน

     F1:  Gg x Gg
     F2:  Green (GG) , Green (Gg,
            Green (Gg, Yellow (gg)

หรือรุ่น F2  Mendel เก็บสถิติได้ว่า อัตราส่วนจำนวนถั่วลันเตามีเมล็ดสีเขียว ต่อถั่วลันเตามีเมล็ดสีเหลือง เป็น 3:1 เรียกอัตราส่วนนี้ว่า อัตราส่วนฟีโนไทป์ของเมนเดล และเรียกอัตราส่วน 1:2:1 ว่าอัตราส่วนจีโนไทป์ของเมนเดล จากการที่เมนเดลพบว่า ลักษณะเมล็ดสีเหลืองของถั่วเพื่อนเก่ายังถูกถ่ายทอดมายังรุ่น F2 ในอัตราส่วนที่คงที่ จึงสรุปออกมาเป็น

  • กฎข้อที่ 1  กฎแห่งการแยก alleles ของคู่โครโมโซมของเซลล์สืบพันธุ์
  • กฎข้อที่ 2 ของเมนเดลหรือกฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ มาจากการพิจารณาลักษณะทางพันธุกรรม 2 ลักษณะขึ้นไป เช่น

    เมื่อเมนเดลเก็บข้อมูลทางสถิติ ของการผสมถั่วลันเตาพันธุ์แท้ที่เป็น "ต้นสูงและเมล็ดสีเขียว (TT GG)"
    กับถั่วลันเตาพันธุ์แท้ที่เป็น "ต้นเตี้ยและเมล็ดสีเหลือง (tt gg)" ได้ผลดังต่อไปนี้

    P:   TT GG x tt gg
    F1: TtGg                    

    ถั่วลันเตามีลักษณะเป็นต้นสูงและมีเมล็ดสีเขียว
    F1: TtGg x TtGg        
    F2: T-G- , ttG- , T-gg , ttgg

    มีฟีโนไทป์ 4 แบบได้แก่ ต้นสูงเมล็ดสีเขียว, ต้นเตี้ยเมล็ดสีเขียว, ต้นสูงเมล็ดสีเหลือง, ต้นเตี้ยเมล็ดสีเหลือง ในอัตราส่วน 9:3:3:1

โดยใช้กฎการบวก และกฎการคูณ ของความน่าจะเป็น

  1. โอกาสการเกิดฟีโนไทป์ต้นสูงเมล็ดเขียว  
    = โอกาสการเกิดจีโนไทป์ TTGG + TtGg +
    TTGg + TtGG
    โอกาสการเกิดจีโนไทป์ T-G- = 1/4x1/4 + 1/2x1/2 + 1/4x1/2 + 1/2x1/4
    = 9/16
  2. โอกาสการเกิดฟีโนไทป์ต้นสูงเมล็ดเหลือง
    = โอกาสการเกิดจีโนไทป์ Ttgg + TTgg
    = 1/2x1/4 + 1/4x1/4
    = 3/16
  3. โอกาสการเกิดฟีโนไทป์ต้นเตี้ยเมล็ดเขียว
    = โอกาสการเกิดจีโนไทป์ ttGg + ttGG
    = 1/4x1/2 + 1/4x1/4
    = 3/16
  4. โอกาสการเกิดฟีโนไทป์ต้นเตี้ยเมล็ดเหลือง
    = โอกาสการเกิดจีโนไทป์ ttgg
    = 1/4x1/4
    = 1/16


จึงได้เป็นสัดส่วน 9:3:3:1 ซึ่งอธิบายได้โดยกฎความน่าจะเป็นเมื่อ 2 เหตุการณ์เกี่ยวข้องและเกิดขึ้นอย่างอิสระ ดังนั้นเมนเดลจึงสรุปเป็นกฎข้อที่ 2  โดยกล่าวไว้ว่า

ลักษณะทางพันธุกรรมของเซลล์สืบพันธุ์สามารถรวมกลุ่มกันได้อย่างอิสระ