ลักษณะทางพันธุกรรมที่เป็นส่วนขยายของพันธุศาสตร์เมนเดล
การถ่ายทอดยีนและโครโมโซม
องค์ประกอบและโครงสร้างทางเคมีของ DNA
สมบัติของสารพันธุกรรม
มิวเทชัน
พันธุวิศวกรรมและการวิเคราะห์ DNA
เทคโนโลยีทาง DNA
แนวคิดและหลักฐานเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
พันธุศาสตร์ประชากร
กำเนิดของสปีชีส์ และ วิวัฒนาการของมนุษย์

การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล

ยอดวิว 29.3k

แบบฝึกหัด

EASY

การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล (ชุดที่ 1)

HARD

การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล


พันธุศาสตร์ (Genetics) คือ วิชาที่ศึกษาลักษณะทางพันธุกรรมที่ถูกควบคุมโดยยีน และสามารถถ่ายทอดจากรุ่นไปสู่รุ่น  โดยสามารถศึกษาได้ในระดับชีวโมเลกุล เช่น

  • การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในระดับ DNA  RNA และโปรตีน
  • การศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับสิ่งมีชีวิตโดยศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรมและการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น
  • การศึกษาความถี่ของลักษณะทางพันธุกรรมในระดับประชากรของสิ่งมีชีวิต และผลกระทบต่อพัฒนาการของสิ่งมีชีวิต


การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมโดยกฎของเมนเดล

Gregor Mendel เป็นบาทหลวงชาวออสเตรีย
ผู้ได้ทำการทดลองทางพันธุศาสตร์โดยการปลูกถั่วลันเตา และเขียนกฎการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เรียกว่า กฎของเมนเดล อธิบายถึงการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นของลักษณะทางพันธุกรรมของถั่วได้แก่ ความสูงของต้น ตำแหน่งของการเกิดดอก สีของดอก สีของเมล็ด สีของฝัก ผิวของฝัก และผิวของเมล็ด ซึ่ง ณ ขณะนั้น
เมนเดล เรียกลักษณะต่าง ๆ ของถั่วลันเตาเหล่านี้ ว่า factor และต่อมาถูกเรียกว่า gene 


ปัจจัยที่ทำให้การทดลองทางพันธุศาสตร์โดยการปลูกถั่วลันเตาประสบความสำเร็จ คือ

  1. Mendel เลือกลักษณะทางพันธุกรรมที่ศึกษาแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น สีของเมล็ด
  2. ถั่วลันเตา เป็นพืชดอกที่มีการสืบพันธุ์แบบสมบูรณ์เพศ หมายความว่าสามารถสืบพันธุ์ภายในดอกเดียวกัน ทำให้สามารถควบคุมการทดลองได้ง่าย ไม่ถูกปนเปื้อนโดยละอองเรณูจากถั่วของต้นลันเตาต้นอื่น
  3. ถั่วลันเตาเป็นพืชปลูกง่าย อายุสั้น เจริญเติบโตเร็ว ขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก

วิธีการทดลอง

  1. เมนเดลทดลองผสมพันธุ์ถั่วลันเตา โดยเก็บข้อมูลของลักษณะทางพันธุกรรมของถั่วรุ่นลูก (F1) และรุ่นหลาน (F2)  
  2. เมนเดลทำการทดลองโดยตัดเกสรตัวผู้ของต้นถั่วลันเตาที่ศึกษา เพื่อป้องกันการปฏิสนธิภายในดอกเดียวกัน แล้วนำพู่กันไปเเตะละอองเกสรของต้นถั่วลันเตาที่ต้องการศึกษาเพื่อวางบนเกสรตัวเมียของดอกที่ถูกตัดเกสรตัวผู้ออก
  3. นำเมล็ดที่เกิดจากการผสมเกสรไปเพาะ และเก็บสถิติเพื่อวิเคราะห์ผลการทดลอง
  4. Mendel ติดตามและบันทึกลักษณะของดอกถั่วลันเตา ดังต่อไปนี้

    1. ความสูงของลำต้น: tall vs dwarf
    2. สีของฝัก: green vs yellow
    3. รูปร่างของฝัก: inflated vs non-inflated
    4. สีของเมล็ด: green seeds vs yellow seeds
    5. รูปร่างของเมล็ด: smooth seeds vs rough seeds
    6. สีของดอกถั่วลันเตา: purple vs white
    7. ตำแหน่งของดอก: axial vs terminal

  5. เมนเดลคัดเลือกลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเช่น Green Seed และ Yellow Seed มาผสมกัน ในรุ่นพ่อแม่ Gen P (parents)
  6. เมนเดลพบว่าลูกที่เกิดในรุ่นถัดมา (F1) มีการแสดงออกเป็นลักษณะเด่นทั้งหมด กล่าวคือในรุ่น F1 สีของเมล็ดเป็นสีเขียวทั้งหมด
  7. เมนเดลนำถั่วรุ่น F1 มาผสมพันธุ์กันเอง
  8. เมนเดลพบว่าถั่วรุ่นถัดมา (F2) จะมีจำนวนการแสดงออกของลักษณะเด่น ต่อลักษณะด้อยเป็นอัตราส่วน  3:1 เสมอ
  9. การทดลองของเมนเดลได้ผลสม่ำเสมอ ทั้ง 7 ลักษณะทางพันธุกรรมที่ตรวจนับทางสถิติ ผลการทดลองของ
    เมนเดล จึงเรียกว่ามี reproducibility