สารละลายจะมีคุณสมบัติบางประการที่แตกต่างจากสารบริสุทธิ์
เช่น
เราเรียกสมบัติดังกล่าวว่า สมบัติคอลลิเกทีฟ (Colligative properties)
ในบทนี้เราจะพูดถึง การเพิ่มขึ้นของจุดเดือด และการลดลงของจุดเยือกแข็ง
จากการทดลองจะพบว่า
สารละลายกลีเซอรอลในน้ำ กับสารละลายน้ำตาลในน้ำ ที่ความเข้มข้นโมแลลเท่ากัน จะมีจุดเดือดเท่ากับ ตัวถูกละลายที่เป็นสารระเหยยากและไม่แตกตัวเป็นไอออน
เมื่อ = ผลต่างจุดเดือดของตัวทำละลายบริสุทธิ์กับสารละลาย (oC)
m = ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยโมแลล (mol/kg)
Kb = ค่าคงที่การเพิ่มขึ้นของจุดเดือดของตัวทำละลาย (oC/m)
ตัวอย่างเช่น
ค่า Kb ของน้ำเท่ากับ 0.51oC/m แสดงว่าถ้าสารละลายมีความเข้มข้น 1 โมแลล จะทำให้จุดเดือดของน้ำสูงขึ้น 0.51oC จากจุดเดือดบริสุทธิ์ของน้ำ (100oC)
ดังนั้น สารละลายดังกล่าวมีจุดเดือดเท่ากับ 100.51oC
จุดเยือกแข็งของสารละลายไม่ขึ้นกับชนิดของตัวถูกละลาย แต่ขึ้นกับความเข้มข้นโมแลลของตัวถูกละลาย เช่นเดียวกับจุดเดือดของสารละลาย
จากการทดลอง
การหาจุดหลอมเหลวของสารละลายกรดเบนโซอิกในเบนซีน พบว่า จุดหลอมเหลวของสารละลายจะต่ำกว่า จุดหลอมเหลวหรือจุดเยือกแข็งของตัวทำละลายบริสุทธิ์ ตัวถูกละลายที่เป็นสารระเหยยากและไม่แตกตัวเป็นไอออน
เมื่อ = ผลต่างจุดเยือกแข็งของตัวทำละลายบริสุทธิ์กับสารละลาย (oC)
m = ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยโมแลล (mol/kg)
Kf = ค่าคงที่การลดลงของจุดเยือกแข็งของตัวทำละลาย (oC/m)
ตัวอย่างเช่น
ค่า Kf ของน้ำเท่ากับ 1.86oC/m แสดงว่าถ้าสารละลายมีความเข้มข้น 1 โมแลล จะทำให้จุดเยือกแข็งของน้ำลดลง 1.86oC จากจุดเยือกแข็งของน้ำบริสุทธิ์ (1.86oC)
ดังนั้น สารละลายดังกล่าวมีจุดเยือกแข็งเท่ากับ -1.86oC