
ประกอบด้วย องค์ประกอบสองชนิด คือ
ในกรณีที่สารละลายเกิดจากการผสมกันของของเหลวตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ของเหลวที่มีปริมาณมากกว่าจะเป็นตัวทำละลาย
ดังนั้น เพื่อให้สามารถบอกได้ว่าสารละลายแต่ละชนิดมีองค์ประกอบของตัวถูกละลายในสารละลายทั้งหมดปริมาณเท่าไหร่
จึงได้มีการกำหนดหน่วยของความเข้มข้นขึ้นดังนี้
หมายถึง ปริมาณตัวถูกละลายเป็นมวลหรือปริมาตร 1 ส่วน ในสารละลาย 1 ล้านส่วน หรือในใน 1 พันล้านส่วน ตามลำดับ
หมายเหตุ ในแต่ละสูตรการคำนวณ มวล หรือ ปริมาตรของตัวถูกละลาย และของสารละลาย จะต้องอยู่ในหน่วยเดียวกัน
หรือ เรียกเป็นความเข้มข้นว่า “โมลาร์” (Molar; M) หมายถึง จำนวนโมลของตัวถูกละลายในสารละลาย 1 ลิตร จึงมีหน่วยเป็น โมล/ลิตร
หรือ เรียกเป็นความเข้มข้นว่า “โมลแลล” (Molal; m) หมายถึง จำนวนโมลของตัวถูกละลายในตัวทำละลาย 1 กิโลกรัม จึงมีหน่วยเป็น โมล/กิโลกรัม
แต่อย่างไรก็ตามจำนวนโมลสารของตัวถูกละลายจะเท่ากันในสภาวะที่สารยังไม่เจือจาง หรือถูกเจือจางแล้วก็ตาม
ดังนั้น จะได้ว่า M1V1 = M2V2
โดย จุดเดือดหรือจุดหลอมเหลวที่เปลี่ยนแปลงไปของสารละลาย เมื่อเที่ยบกับตัวทำละลายบริสุทธ์ จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยโมแลล (โมล/กิโลกรัม) เท่านั้น ถ้าสารนั้นๆแตกตัวได้จะต้องคิดจำนวนโมลรวมของไอออนแต่ละชนิดด้วย
Tb = จุดเดือดของสารละลาย – จุดเดือดของตัวทำละลาย (°C)
i = van’t Hoff factor แสดงถึง จำนวนอนุภาคที่เกิดจากการแตกตัวของสาร
(ดังนั้น สารที่ไม่แตกตัวในตัวทำละลายจะมีค่า i = 1 เช่น กลูโคส, เมทานอล ส่วนสารที่แตกตัวในน้ำ
เช่น NaCl ® Na+(aq) + Cl- (aq) จะมีค่า i = 2 เนื่องจาก NaCl แตกตัวให้สองอนุภาค คือ Na+ และ Cl-)
Kb = ค่าคงที่ของการเพิ่มขึ้นของจุดเดือดของสารละลาย (°C/mol/kg)
m = ความเข้นข้นของสารละลายในหน่วยโมแลล (mol/kg)
m1 = มวลของตัวถูกละลาย (g)
m2 = มวลของตัวทำละลาย (g)
MW1 = มวลโมเลกุลของตัวถูกละลาย