ฟลักซ์แม่เหล็กและกฎของฟาราเดย์ (2)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ฟลักซ์แม่เหล็กและกฎของฟาราเดย์ (2) (ชุดที่ 1)

MEDIUM

ฟลักซ์แม่เหล็กและกฎของฟาราเดย์ (2) (ชุดที่ 2)

HARD

ฟลักซ์แม่เหล็กและกฎของฟาราเดย์ (2) (ชุดที่ 3)

เนื้อหา

กฎของฟาราเดย์

จากการทดลองของฟาราเดย์ พบว่า การเคลื่อนที่ของแท่งแม่เหล็กเข้าหาขดลวด ทำให้ฟลักซ์แม่เหล็กบริเวณขดลวดเปลี่ยนแปลงไป open parentheses increment ϕ close parentheses ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (E) ในขดลวด

(1.)              E equals fraction numerator N capital delta ϕ over denominator increment t end fraction

โดยที่      

  • E  คือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ มีหน่วยเป็น โวลต์ (V)
  • N คือ จำนวนรอบของขดลวด
  • ϕ  คือ ฟลักซ์แม่เหล็ก มีหน่วยเป็น เวเบอร์ (Wb)
  •  increment t คือ ช่วงเวลาในการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็ก มีหน่วยเป็น วินาที (s)

เครื่องหมายลบ (-) แสดงว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้น เกิดในลักษณะต้านการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็ก ดังนั้นหากพิจารณาเฉพาะขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ จะได้

(2.)               open vertical bar E close vertical bar equals fraction numerator N capital delta ϕ over denominator capital delta t end fraction

เนื่องจาก ϕ equals B A จะได้

open vertical bar E close vertical bar equals fraction numerator N increment open parentheses B A close parentheses over denominator increment t end fraction

กรณีพื้นที่หน้าตัด A คงที่ จะได้

(3.)               open vertical bar E close vertical bar equals N A fraction numerator increment B over denominator increment t end fraction

กรณีสนามแม่เหล็ก B คงที่ จะได้

(4.)               open vertical bar E close vertical bar equals N B fraction numerator increment A over denominator increment t end fraction

นอกจากนี้ การเคลื่อนที่ของลวดตัวนำยาว open parentheses I close parentheses ตัดสนามแม่เหล็ก open parentheses B close parentheses ด้วยอัตราเร็วคงที่ open parentheses v close parentheses ทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ open parentheses E close parentheses ได้เช่นกัน

(5.)                open vertical bar E close vertical bar equals v B I

กฎของเลนซ์

กฎของเลนซ์ มีใจความสำคัญ คือ ทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ open parentheses i close parentheses ที่เกิดในขดลวดจะมีทิศต้านการเปลี่ยนแปลง ฟลักซ์แม่เหล็กเดิม

ภาพที่ 3 ทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำจากกฎของเลนซ์ เมื่อสนามแม่เหล็กเพิ่มขึ้น

ภาพที่ 4 ทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำจากกฎของเลนซ์ เมื่อสนามแม่เหล็กลดลง


การเหนี่ยวนำไฟฟ้าแม่เหล็ก

เครื่องตรวจโลหะ
หลักการทำงานของเครื่องตรวจโลหะ
     ไฟฟ้ากระแสสลับไหลผ่านขดลวดตรวจวัดการเหนี่ยวนำที่ปลายแท่ง แล้วสร้างสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาออกมา
     เมื่อมีวัตถุโละเข้ามาในสนามแหล็กนี้ จะเกิดกระแสเอ็ดดี เท่ากับว่าพลังงานของขดลวดตรวจวัดถูกส่งผ่านไปที่วัตถุโลหะ กระแสที่ไหลผ่านจะมีคำเปลี่ยนไป กล่องควบคุมจะอ่านค่ากระแสนี้แล้วแปลงเป็นเสียง เครื่องตรวจโลหะนี้จะได้ผลแค่ไหน ขึ้นอยู่กับรูปร่างขนาดของวัตถุโลนะนั้น ๆ และความลึกใต้ดิน
สัญญาณไฟจราจรอัจฉริยะ
     ก็ทำงานคล้าย ๆ กัน ในบางที่จะฝังขดลวดเหนี่ยวนำไว้ในพื้นถนน ซึ่งจะปล่อยสนามแม่เหล็คล้ายกับในขดลวดตรวจวัดการเหนี่ยวนำเมื่อรถที่มีตัวถังโลหะวิ่งผ่นขดลวดเหนี่ยวนำนี้ กระแสที่ไหลผ่นขดลวดจะเปลี่ยนไปจนกล่องควบคุมสามารถตรวจจับได้
เตาไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
     เตาเซรามิกเป็นเตาไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีขดลวดแบน 3 - 4 ชุดฝังอยู่ในผิวเซรามิก แล้วปล่อยกระแสสลับความถี่สูงถึง 18 KH ผ่านขดลวดเหล่านี้ เมื่อนำกระทะโลหะวางบนขดลวด จะเกิดกระแสเอ็ดดีขึ้นที่ก้นและรอบๆ กระทะ
     กระแสที่ไหลผ่านเนื้อโลหะจะสร้างพลังงานความร้อนจนนำไปใช้ทำอาหารได้ ถึงกระทะจะร้อนมาก แผ่นเชรามิกก็จะยังเย็นอยู่

เบรกแม่เหล็กไฟฟ้า
     เบรกชนิดนี้นิมใช้ในรถขนาดใหญ่ๆ เช่น รถบรรทุกหรือรสบัส แกนล้อของรถที่ใช้เบรกชนิดนี้จะมีแผ่นจานหมุน เรียกว่า โรเตร (rotor) อยู่สองชิ้น โรเตอร์ทั้งสองมีชุดขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า สเตเตอร์ (stator) อยู่ระหว่างกลาง เมื่อคนขับเหยียบเบรกจะมีกระแสไหลผ่นขดลวด ซึ่งขดที่ติดกันจะสร้างสนามแม่เหล็กที่กลับทางกัน
     โรเตอร์ที่หมุนอยู่จะเคลื่อนที่ตัดฟลักซ์แม่เหล็กที่เกิดขึ้น จนเกิดกระแสเอ็ดดีขึ้นมาในแผ่นจาน กระแสเอ็ดดีจะไหลในทิศทางที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้ โรเตอร์และล้อ หมุนช้าลง
     เบรกชนิดนี้จะใช้งานไม่ได้ที่อัตราเร็วต่ำๆ เพราะที่อัตราเร็วน้อยๆ โรเตอร์จะหมุนตัดกับฟลักซ์ได้ช้า กระแสเอ็ดดีมีน้อยลง จนได้ผลการเบรกที่น้อยลงตามไป เราจึงต้องใช้เบรกแรงเสียดทานในการทำให้รถหยุดสนิท