แม่เหล็กสถิต: แรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กจากกระแส (4)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

แม่เหล็กสถิต: แรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กจากกระแส (4) (ชุดที่ 1 Pre test)

MEDIUM

แม่เหล็กสถิต: แรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กจากกระแส (4) (ชุดที่ 2 Post test

HARD

แม่เหล็กสถิต: แรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กจากกระแส (4) (ชุดที่ 3 Post test)

เนื้อหา

ทอร์คแม่เหล็ก

เมื่อกระแสไฟฟ้ามีการไหลเป็นวงภายในขดลวดและขดลวดวางอยู่ในสนามแม่เหล็กจะทำให้เกิดแรงคู่ควบและทอร์คแม่เหล็กขึ้น หลักการดังกล่าวนำไปสู่การคิดค้นมอเตอร์ไฟฟ้าที่การป้อนกระแสไฟฟ้าทำให้เกิดทอร์คทำให้ขดลวดเกิดการหมุนซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของพลังงานไฟฟ้าไปเป็นพลังงานกล นอกจากนั้นยังนำไปสู่การสร้างเครื่องวัดกระแสไฟฟ้าคือแกลวานอมิเตอร์ เมื่อขนาดของทอร์คขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟฟ้า

พิจารณาระบบอย่างง่ายซึ่งประกอบด้วยขดลวดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความกว้าง a และมีความยาว b กำหนดให้สนามแม่เหล็ก B with rightwards arrow on top มีทิศไปในทางด้านขวามือ กระแสไฟฟ้า I ไหลวนในทิศทวนเข็มนาฬิกาบนระนาบของกระดาษ เส้นลวดทางด้านซ้ายมีกระแสไฟฟ้าไหลในทิศลง
ดังนั้น แรงแม่เหล็ก stack F subscript 1 with rightwards arrow on top ที่กระทำต่อเส้นลวดทางด้านซ้ายมีทิศทางพุ่งออกจากกระดาษตามกฎมือขวา ส่วนเส้นลวดทางด้านขวามีกระแสไฟฟ้าไหลในทิศขึ้น ดังนั้น แรงแม่เหล็ก stack F subscript 2 with rightwards arrow on top ที่กระทำต่อเส้นลวดทางด้านขวามีทิศทางพุ่งเข้าหากระดาษตามกฎมือขวา ขนาดของแรงคู่ควบ stack F subscript 1 with rightwards arrow on top และ stack F subscript 2 with rightwards arrow on top สามารถหาได้จาก

(1.)                 F subscript 1 equals F subscript 2 equals I a B

ถ้ากำหนดให้แกนหมุนขนานกับแนวยาวและผ่านจุดศูนย์กลางมวลของขดลวด จะได้ว่าแขนของทอร์คมีความยาวเท่ากับครึ่งหนึ่งของความกว้างคือ b over 2 ซึ่งในกรณีที่ขดลวดตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กจะได้ว่าขนาดของทอร์กรวมจากแรง F subscript 1 และ F subscript 2 คือ

(2.)              tau equals F subscript 1 left parenthesis b over 2 right parenthesis plus F subscript 2 left parenthesis b over 2 right parenthesis equals I a b B

พิจารณาเงื่อนไขเพิ่มเติมคือถ้าขดลวดดังกล่าวมี N รอบ ทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลในแต่ละด้านมีค่าเพิ่มเป็น N เท่าเป็น N I เมื่อพื้นที่ของขดลวดสี่เหลี่ยมเป็น A equals a b และระนาบของขดลวดวางทำมุม theta กับแนวแรง จะได้ว่าทอร์คอันเนื่องมาจากแรงแม่เหล็ก หรือทอร์คแม่เหล็ก (Magnetic Torque) มีค่าเป็น

(3.)              tau equals N I A B space cos theta