แม่เหล็กสถิต: แรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กจากกระแส (3)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

แม่เหล็กสถิต: แรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กจากกระแส (3) (ชุดที่ 1 Pre test)

MEDIUM

แม่เหล็กสถิต: แรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กจากกระแส (3) (ชุดที่ 2 Post test)

HARD

แม่เหล็กสถิต: แรงแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กจากกระแส (3) (ชุดที่ 3 Post test)

เนื้อหา

สนามแม่เหล็กจากเส้นกระแส

พิจารณากรณีในอุดมคติซึ่งประกอบด้วยลวดตัวนำเส้นตรงยาวอนันต์ มีกระแสไฟฟ้า I ไหลตามแนวยาวในทิศขวา สิ่งที่เกิดขึ้นคือเกิดสนามแม่เหล็ก B with rightwards arrow on top ขึ้นในแนวเส้นสัมผัสวงกลมตามกฎมือขวา โดยที่มีเส้นกระแสเป็นจุดศูนย์กลางในแนวของนิ้วโป้งและมีระนาบของวงกลมตั้งฉากกับเส้นกระแสขนาดความเข้ม B ของสนามแม่เหล็ก B with rightwards arrow on top จะแปรผกผันกับระยะห่าง หรือ  B proportional to 1 divided by r และแปรผันตรงกับค่ากระแสไฟฟ้า หรือ B proportional to I space ซึ่ง ฮานส์ คริสเตียน เออสเตด (Hans Christian Oersted) ได้สรุปออกมาเป็นกฎของเออสเตด (Oersted’s Law) ดังสมการ

B equals left parenthesis fraction numerator mu subscript 0 over denominator 2 straight pi end fraction right parenthesis I over r equals left parenthesis 2 cross times 10 to the power of negative 7 end exponent right parenthesis I over r

โดยที่ mu subscript 0 คือสภาพซาบซึมได้ (permeability) ของสุญญากาศ มีค่าเป็น 4 pi cross times 10 to the power of negative 7 end exponentเทสลา เมตร ต่อแอมแปร์
(T m/A)  
ทำให้ค่าคงที่การแปรผันจากสมการ (X) หรือ fraction numerator mu subscript 0 over denominator 2 straight pi end fraction 
มีค่าเป็น 2 cross times 10 to the power of negative 7 end exponentเทสลา เมตร ต่อแอมแปร์ (T m/A)

แรงแม่เหล็กระหว่างเส้นกระแสสองเส้นที่ขนานกัน

ในระบบที่ประกอบด้วยลวดตัวนำตรงยาวอนันต์สองเส้นวางขนานกัน ถ้าในลวดทั้งสองเส้นมีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ ในแต่ละเส้นก็ย่อมจะสร้างสนามแม่เหล็กขึ้น ถ้าพิจารณาลวดเส้นที่ 1 ซึ่งมีกระแส I subscript 1 ไหลอยู่ภายใน สนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจะมีความเข้มที่ระยะห่าง d จากเส้นกระแสเป็น

B subscript 1 equals left parenthesis fraction numerator mu subscript 0 over denominator 2 straight pi end fraction right parenthesis I subscript 1 over d

ลวดเส้นที่ 2 มีกระแส I subscript 2 ไหลอยู่ภายใน วางอยู่ห่างเป็นระยะ d จากลวดเส้นที่ 1 ทำให้ได้รับอิทธิพลจากสนามแม่เหล็กของลวดเส้นที่ 1 ในแนวตั้งฉากกับเส้นลวด ทำให้สามารถหาขนาดของแรงแม่เหล็กที่ลวดเส้นที่ 2 ถูกกระทำได้จาก

F subscript 2 equals I subscript 2 L B subscript 1

เมื่อแทนค่า B subscript 1 ลงไปจะได้ว่าขนาดของแรงแม่เหล็กต่อความยาวที่เกิดจากกระแสคู่ขนานจะสามารถหาได้จาก

F over L equals left parenthesis fraction numerator mu subscript 0 over denominator 2 straight pi end fraction divided by right parenthesis fraction numerator I subscript 1 I subscript 2 over denominator d end fraction equals left parenthesis 2 cross times 10 to the power of negative 7 end exponent right parenthesis fraction numerator I subscript 1 I subscript 2 over denominator d end fraction

ซึ่งแรงแม่เหล็กบนลวดเส้นที่ 2 ภายใต้อิทธิพลของสนามแม่เหล็กจากลวดเส้นที่ 1 จะมีขนาดเท่ากันกับแรงแม่เหล็กบนลวดเส้นที่ 1 ภายใต้อิทธิพลของสนามแม่เหล็กจากลวดเส้นที่ 2 แต่มีทิศทางตรงกันข้ามซึ่งเราสามารถพิจารณาว่าเป็นคู่ของแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาตามกฎข้อที่สามของนิวตันได้