สมดุลไอออน (กรด-เบส)
ทฤษฎีกรด-เบสของอาร์เรเนียสเบรินสเตด-ลาวรี และลิวอิส
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ทฤษฎีกรด-เบส ของเบรินสเตด-ลาวรี
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การแตกตัวหรือความแรงของกรดและเบส
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
คำนวณค่า pH ความเข้มข้นของให้ไฮโดรเนียมไอออนหรือไฮดรอกไซต์ไอออนของกรดและเบส
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปฏิกิริยาการสะเทิน
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ปฏิกิริยาไฮโดรลิซิสของเกลือ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
หลักการและอินดิเคเตอร์สำหรับการไทเทรตกรด-เบส
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
คำนวณปริมาณสารหรือความเข้มข้นของสารละลายกรดหรือเบสจากการไทเทรต
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สารละลายบัฟเฟอร์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
สืบค้นข้อมูลตัวอย่างการใช้ประโยชน์และการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับกรด-เบส
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

สืบค้นข้อมูลตัวอย่างการใช้ประโยชน์และการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับกรด-เบส

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

สืบค้นข้อมูลตัวอย่างการใช้ประโยชน์และการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับกรด-เบส

MEDIUM

สืบค้นข้อมูลตัวอย่างการใช้ประโยชน์และการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับกรด-เบส

HARD

สืบค้นข้อมูลตัวอย่างการใช้ประโยชน์และการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับกรด-เบส

เนื้อหา

ประโยชน์และการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับกรด-เบส ในชีวิตประจำวัน

ฝนกรด

ฝนกรด คือ น้ำฝนที่มีฤทธิ์เป็นกรด โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดซัลฟิวริก (H2SO4) และกรดไนตริก (HNO3) ที่เกิดมาจากมลภาวะทางอากาศ

กรดซัลฟิวริก

กรดซัลฟิวริก จากแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ที่เกิดมาจากการเผาไหม้ของถ่านหินที่มีปริมาณกำมะถันสูง ละลายในน้ำเกิดเป็นกรดซัลฟิวรัส (H2SO3) และเมื่อกรดซัลฟิวรัสอยู่ในสภาวะที่มีไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือโอโซน มันจะถูกออกซิไดซ์เกิดเป็นกรดซัลฟิวริก

ดังสมการ (1)

H2O2(aq) + H2SO3(aq) rightwards arrow H2SO4(aq) + H2O(l)(1)

นอกจากนั้นแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ยังสามารถถูกออกซิไดซ์ในบรรยากาศเปลี่ยนเป็นแก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) เมื่อละลายน้ำจะได้เป็นกรดซัลฟิวริกเช่นกัน

ดังสมการ (2)

SO3(g) + H2O(l) rightwards arrow H2SO4(aq)
(2)

กรดไนตริก

กรดไนตริก จากแก๊สไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ในรูปต่างๆ ที่เกิดจากแก๊สไนโตรเจน และ แก๊สออกซิเจน ในห้องเผาไหม้ของรถยนต์ และที่เกิดจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า ในช่วงกลางวันแก๊ส NO จะเปลี่ยนเป็น NO2 และกรดไนตริก ส่วนในช่วงกลางคืนแก๊ส NOx จะถูกเปลี่ยนเป็นแก๊ส N2O5 ซึ่งเมื่อละลายน้ำจะให้กรดไนตริก

ดังสมการ (3)

N2O5(g) + H2O(l) rightwards arrow 2HNO3(aq)
(3)

โดยปกติน้ำฝนจะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ได้จากการละลายของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในบรรยากาศ

ดังสมการ (4)

CO2(g) + 2H2O(l) rightwards arrow H3O+(aq) + HCO3-(aq)
(4)

ผลของฝนกรด ทำให้จำนวนสัตว์น้ำลดลงเพราะหลายสายพันธุ์จะตายถ้าน้ำมีค่าความเป็นกรด-เบสต่ำกว่า 5 และยังทำลายป่าไม้

อลูมิโนซิลิเกต องค์ประกอบของดินซึ่งปกติจะไม่ละลายในน้ำ แต่จะละลายได้ในสารละลายกรด ทำให้เกิด Al3+ ที่เป็นพิษร้ายแรงต่อปลา นอกจากนั้นไอออนต่างๆ ที่เป็นสารอาหารที่จำเป็นของพืช และสัตว์ เช่น Ca2+ และ Mg2+ ก็จะละลาย และถูกพัดพาไปกับสายน้ำ

หินอ่อน และหินปูนในสิ่งก่อสร้าง รูปปั้น และอนุสาวรีย์ จะทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริก และกลายเป็นยิปซัม (CaSO4×2H2O) ซึ่งจะหลุดร่อนออก ทำให้รูปปั้น อนุสาวรีย์ สิ่งปลูกสร้างเก่าๆ และสถานที่สำคัญของประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเสียหาย

การป้องกันฝนกร คือ การลดปริมาณแก๊ส SO2 และแก๊ส NOx ที่จะเข้าสู่บรรยากาศ ในกรณีของแก๊ส SO2 การลดปริมาณแก๊สสามารถทำได้โดยใช้เครื่องฟอกอากาศโดยใช้ละอองน้ำ (scrubber) กับละอองหินปูนเพื่อละลายแก๊สพิษออก หรือการให้แก๊สทำปฏิกิริยากับมีเทน หรือแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นกำมะถัน

ดังสมการ (5)

16H2S(g) + 8SO2(g) rightwards arrow 3S8(s) + 16H2O(l)
(5)

ส่วนกรณีของแก๊ส NOx สามารถลดปริมาณแก๊สได้โดยใช้ระบบแคทตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ เพื่อเปลี่ยนแก๊สพิษให้เป็นแก๊ส N2 การลดปริมาณแก๊ส NOx ในโรงงานไฟฟ้า ใช้การผ่านแก๊สร้อนเข้าทำปฏิกิริยากับแก๊สแอมโมเนีย ภายใต้ภาวะที่มีตัวเร่งปฏิกิริยา

ดังสมการ (6)

4NO(g) +4NH3(g) + O2(g) rightwards arrow 4N2(g) + 6H2O(g)
(6)

นอกจากนั้นยังมีการเติมปูนขาวลงในแหล่งน้ำ เพื่อปัองกันไม่ให้กรดทำให้เกิดความเสียหายกับสัตว์น้ำและพืชน้ำ

การทำขนมปัง

การทำขนมปัง ให้พองตัวใหญ่ และนุ่ม เกิดจากการทำให้มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดขึ้นระหว่างการทำ โดยปกติแก๊ส CO2 จะเกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3) หรือเบกิ้งโซดา กับกรด ในการทำคุกกี้ หรือมัฟฟิน คนทำขนมจะผสม NaHCO3 กับ โปแตชเซียมไฮโดรเจนทาเทรต (KHC4H4O6) ที่มีน้ำร่วมเป็นส่วนผสม แก๊ส CO2 ที่เกิดขึ้นตอนผสมแป้งกับสารทั้งหมดนั้น จะถูกขังไว้ในแป้ง และจะขยายพองตัวออกเมื่อถูกความร้อน จึงทำให้ขนมฟูขึ้น และมีเนื้อนุ่ม

ดังปฏิกิริยา (7)

NaHCO3(aq) + KHC4H4O6(aq) rightwards arrow H2O(g) + CO2(g) + KNaC4H4O6(aq)
(7)

สำหรับผงฟูนั้นเป็นของผสมของไฮโดรเจนคาร์บอนเนตไอออน กับกรด ซึ่งจะทำให้เกิดแก๊ส CO2 ช่วยในการทำขนมเหมือนกัน แต่ปฏิกิริยาการเกิดไม่เหมือนกัน ดังสมการ (8)

H3O+(aq) + HCO3- (aq) rightwards arrow 2H2O(l) + CO2(g)
(8)

ยาลดกรด

ยาลดกรด ดั้งเดิมที่ใช้คือไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) หรือเรียกว่า เบกิ้งโซดา เพื่อใช้ทำปฏิกิริยาสะเทินกับกรดในกระเพาะอาหาร แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในคนที่มีโรคความดันสูงเพราะการมีความเข้มข้นของโซเดียมไอออนมากจะส่งผลให้อาการแย่ลง ในยาลดกรดนอกจากมี NaHCO3 ยังมีกรดซิตริก และ แอสไพริน เมื่อนำยาลดกรดที่มี NaHCO3 ละลายลงในน้ำ จะเกิดปฏิกิริยาระหว่าง HCO3- ไอออน กับ H3O+ ไอออน จากกรด เกิดแก๊ส CO2 เช่นเดียวกับสมการ (8)

อีกองค์ประกอบหนึ่งในยาลดกรดคือแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) คาร์บอเนตไอออน (CO32-) จะทำปฏิกิริยาสะเทินกรดและให้แก๊ส  CO2  

ดังสมการ (9)

CO32-(aq) + 2H3O+(aq) rightwards arrow CO2(g) + 3H2O(l)
(9)

อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Al(OH)3) เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งของยาลดกรด ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH-) จะทำปฏิกิริยาสะเทินกรด
ดังสมการ (10)

OH-(aq) + H3O+(aq) rightwards arrow 2H2O(l)
(10)

แต่อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่า Al3+ ไอออน ที่เกิดจะทำปฏิกิริยากับฟอสเฟตไอออน (PO43-) ดังสมการ (11) ทำให้ปริมาณ PO43- ไอออนที่จำเป็นต่อร่างกายน้อยลง

Al3+(aq) + PO43-(aq) rightwards arrow AlPO4(s)
(11)

นอกจากนั้นสารประกอบของแมกเนเซียมก็ถูกใช้เป็นองค์ประกอบของยาลดกรด โดยประกอบด้วย MgCO3 และ Mg(OH)2

ผลข้างเคียงของยาลดกรด เช่น Al(OH)3 อาจก่อให้เกิดอาการท้องผูก ส่วนสารประกอบของแมกเนเซียมมีฤทธิ์เป็นยาระบาย