การไทเทรตเกิดขึ้น เมื่อทำการไขสารละลายไทแทรนต์จากบิวเรตทีละหยดเพื่อให้ลงมาทำปฏิกิริยากับสารละลายไทแทรนด์ในขวดรูปชมพู่ การไทเทรตแบ่งตามชนิดของปฏิกิริยาระหว่างสาร
ดังนั้น การไทเทรตกรด-เบส ปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นขณะทำการไทเทรตคือการเกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสได้ผลิตภัณฑ์ คือ เกลือและน้ำ
การไทเทรตกรด-เบส สามารถแบ่งแยกได้ ขึ้นตามชนิดของกรดและเบสที่ทำปฏิกิริยา ซึ่งทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเกลือที่สมบัติที่แตกต่างกัน
สรุปได้ดังนี้
ไอออนลบที่มาจากการแตกตัวของเกลือไม่เกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสกับน้ำ ทำให้ pH ที่จุดสมมูล เท่ากับ 7
เช่น
การไทเทรตกรดแก่ HCl และ เบสแก่ NaOH เกิดเกลือ NaCl
จากการแตกตัวของเกลือเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส ได้ OH- ทำให้ pH ที่จุดสมมูลมากกว่า 7
เช่น
การไทเทรตกรดอ่อน CH3COOH และ เบสแก่ NaOH เกิดเกลือ CH3COONa
โดยที่ CH3COO- เกิดปฏิกิรยาไฮโดรไลซิส แสดงดังนี้ คือ
จากการแตกตัวของเกลือเกิดเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส ได้ H3O+ ทำให้ pH ที่จุดสมมูลน้อยกว่า 7
เช่น
การไทเทรตกรดแก่ HCl และ เบสอ่อน NH3 เกิดเกลือ NH4Cl
โดยที่ NH4+ เกิดปฏิกิรยาไฮโดรไลซิสแสดงดังนี้คือ
ไฮโดรไลซิสของไอออนบวกและลบที่มาแตกตัวของเกลือ แต่ไม่เป็นที่นิยมใช้
การเกิดปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสขณะทำการไทเทรตจนถึงจุดสมมูล (Equivalence point) ไม่สามารถสังเกตได้จากสายตา การเลือกใช้อินดิเคเตอร์ในการไทเทรตทำให้สามารถอาศัยการเปลี่ยนสีของสารละลายสังเกตจากสายตา ทั้งนี้เนื่องจากอินดิเคเตอร์ซึ่งส่วนใหญ่ที่มีสมบัติเป็นกรดอ่อน (HIn) เมื่ออยู่ในสารละลายจะเกิดการแตกตัวให้อยู่ในรูปกรดและรูปเบส ทำให้เกิดสีที่แตกต่างกัน
ดังปฏิกิริยา
การเห็นสีของสารละลายเนื่องมาจากรูปกรดหรือเบสของอินดิเคเตอร์ชัดเจน ความเข้มข้นของรูป กรดหรือเบสจะต้องมากกว่ากัน 10 เท่า จากสมการการแตกตัวของอินดิเคเตอร์ จะเห็นว่า การเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ขึ้นกับความเข้มข้นของ [H3O+]
ดังนั้น การเปลี่ยนสีของสารละลายของอินดิเคเตอร์แต่ละชนิดอยู่ในช่วง pKa ±1 เมื่อแทนความเข้มข้นของแต่ละรูปของอินดิเคเตอร์เป็น 10 เท่าของอีกรูปในสมการ Ka
การเลือกอินดิเคเตอร์ในการไทเทรตต้องพิจารณาช่วง pH หรือ pKa ที่ใกล้เคียงกับ pH ที่จุดสมมูล ของการไทเทรต นอกจากการใช้อินดิเคเตอร์ในการหาจุดยุติในการไทเทรต สามารถใช้การวัด pH ในสารละลายโดยตรงด้วยการใช้เครื่องวัด pH (pH meter) ขณะทำการไทเทรต ทำให้ได้กราฟของการไทเทรต
แสดงดังรูป
รูป แสดงกราฟการไทเทรตของกรด-เบสของ a) กรดแก่-เบสแก่ b) กรดอ่อน-เบสแก่ เมื่อใช้สารละลายไทแทรนด์เป็นกรด c) เบสแก่-กรดแก่ และ d) เบสอ่อน-กรดแก่ เมื่อใช้สารละลายไทแทรนด์เป็นเบส
เมื่อต้องการเลือกใช้อินดิเคเตอร์และพิจารณากราฟของการไทเทรต เช่น การไทเทรตกรดแก่และเบสแก่ pH ที่จุดสมมูล เท่ากับ 7.0
ดังนั้น ควรเลือกใช้ พีนอล์ฟทาลีนที่มีช่วง pH 8.3-10.0 เป็นอินดิเคเตอร์ แต่จากกราฟการไทเทรตพบว่าช่วงการเปลี่ยนแปลง pH บริเวณจุดสมมูลมีความชัน แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของไทแทรนต์เพียงเล็กน้อยมีผลต่อพีเอช ทำให้สามารถเลือกใช้ เมทิลออเรนจ์ที่มีช่วง pH 3.2-4.4 ที่ไม่ใกล้เคียงกับจุดสมมูลมาใช้เป็นอินดิเคเตอร์ได้
ซึ่งต่างจาก การไทเทรตกรดอ่อนและเบสแก่ pH ที่จุดสมมูล > 7.0 ที่ไม่สามารถเลือกใช้เมทิลออเรนจ์ได้
อินดิเคเตอร์ที่นิยมใช้ในการไทเทรตกรด-เบสแสดง ดังตาราง
ตาราง แสดงช่วงการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ ช่วง pH และ ค่า pKa ที่นิยมใช้
อินดิเคเตอร์ | สีของอินดิเคเตอร์ | ช่วง pH | ค่า pKa | |
เมทิลออเรนจ์ | ส้ม | เหลือง | 3.2-4.4 | 3.4 |
เมทิลเรด | แดง | เหลือง | 4.2-6.3 | 4.95 |
โบรโมไทมอลบลู | เหลือง | ฟ้า | 6.0-7.6 | 7.1 |
ฟีนอล์ฟทาลีน | ไม่มีสี | ชมพู | 8.3-10.0 | 9.4 |