
เราสามารถเขียนแสดงปฏิกิริยาเคมีได้ด้วยสมการเคมี โดยเขียนสูตรเคมีของสารตั้งต้นไว้ด้านซ้ายของสมการเคมี (ด้านหางลูกศร) แล้วเขียนสูตรเคมีของผลิตภัณฑ์ไว้ด้านขวาของสมการเคมี (หัวลูกศร)
ตัวอย่างสมการเคมี เช่น
สมการ (1) หมายความว่า มีสารตั้งต้นสองชนิด คือ ไฮโดรเจน และ ออกซิเจน เมื่อทำปฏิกิริยากันเกิดผลิตภัณฑ์เพียงชนิดเดียว คือ น้ำ
นอกจากนี้สมการเคมียังบอกถึงความสัมพันธ์ของสารทั้งหมดที่อยู่ในสมการเคมี โดยพิจารณาจากตัวเลขสัมประสิทธิ์หน้าสูตรเคมีของแต่ละสาร
เมื่อไม่เห็นตัวเลขเขียนแสดงไว้ หมายความว่า มีเลขสัมประสิทธิ์เป็น 1 จากสมการ (1) แสดงว่า สองโมเลกุลของไฮโดรเจน หรือ 4 อะตอมของไฮโดรเจน ทำปฏิกิริยาพอดีกับออกซิเจนหนึ่งโมเลกุล หรือ 2 อะตอมของออกซิเจน และเกิดเป็นน้ำสองโมเลกุล หรือคือ 4 อะตอมของไฮโดรเจน และ 2 อะตอมของออกซิเจน
สมการเคมียังแสดงสถานะทางกายภาพของสารทุกชนิด โดยการเขียนตัวอักษรในวงเล็บหลังสูตรเคมี โดย
เช่น
ปฏิกิริยาการเผาไหม้ของคาร์บอน
หรือ ปฏิกิริยาของกรดเกลือในกระเพาะอาหารกับแคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งเป็น สารองค์ประกอบหนึ่งในยาลดกรด
โดยการเติมตัวเลขสัมประสิทธิ์หน้าสูตรเคมีของแต่ละสาร การดุลสมการเคมีหนึ่งๆ มีหลักการคร่าวๆ ดังนี้
เช่น
การดุลสมการเคมีเมื่อโลหะอลูมิเนียม ทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก เกิดผลิตภัณฑ์เป็นอลูมิเนียมคลอไรด์ กับ ไฮโดรเจน
ขั้นแรก เขียนสมการที่ยังไม่ได้ดุล
ขั้นสอง เติมตัวเลขสัมประสิทธิ์ เพื่อให้จำนวนอะตอมของอลูมิเนียม และ อะตอมของคลอรีน เท่ากันทั้งสองด้านของลูกศร
จะดูเหมือนว่าจำนวนอะตอมของอะลูมิเนียมเท่ากันทั้งสองด้านแล้ว แต่จำนวนอะตอมของไฮโดรเจนด้านซ้ายเป็น 3 และจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนด้านขวาเป็น 2
เราจึงต้องเติมตัวเลขสัมประสิทธิ์เพื่อทำให้จำนวนอะตอมของไฮโดรเจนของทั้งสองด้านทั้งกัน ดังนี้
เมื่อจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนเท่ากันหรือดุลแล้ว เราจะพบว่าจำนวนอะตอมของคลอรีนกลับไม่เท่ากัน โดยจำนวนอะตอมของคลอรีนด้านซ้ายเป็น 6 และจำนวนอะตอมของคลอรีนด้านขวาเป็น 3
ดังนั้น เราจึงเติมตัวเลขสัมประสิทธิ์ 2 ลงหน้า AlCl3 เพื่อทำให้จำนวนอะตอมของคลอรีนสมดุล
สมการจึงเปลี่ยนแปลงเป็นสมการ (7)
ขณะนี้พบว่าทุกอะตอมสมดุล ยกเว้นอะตอมของอลูมิเนียม โดยจำนวนอะตอมของอลูมิเนียมด้านซ้ายเป็น 1 และจำนวนอะตอมของอลูมิเนียมด้านขวาเป็น 2
ดังนั้น เราจึงเติมเลขสัมประสิทธิ์ 2 ลงหน้า Al
ตอนนี้จะกล่าวได้ว่าสมการเคมีดุลแล้ว โดยมีจำนวนอะตอมของอลูมิเนียม 2 อะตอม จำนวนอะตอมของคลอรีน 6 อะตอม และ จำนวนอะตอมของไฮโดรเจน 6 อะตอม ทั้งสองด้านของสมการ
ข้อควรสังเกต สมการ (9) ก็เป็นสมการที่ดุลแล้วเช่นกัน เพราะมีจำนวนของอะตอมแต่ละชนิดเท่ากันทั้งด้านสองด้าน แต่โดยปกติเราเขียนสมการเคมีแทนสัดส่วนสารเคมีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจริง หรือ เขียนสมการเคมีที่ดุลด้วยตัวเลขสัมประสิทธิ์ที่น้อยที่สุด