ซึ่งสามารถแบ่งแบ่งโครงสร้างและสมบัติของพอลิเมอร์ได้ 3 แบบ ดังนี้
สมบัติของพอลิเมอร์ชนิดนี้ มีความหนาแน่นสูง จุดหลอมเหลวสูง มีลักษณะแข็ง และเหนียว พอลิเมอร์ชนิดนี้จะอ่อนตัวเมื่อได้รับความร้อน และแข็งตัวอีกครั้งเมื่อลดอุณหภูมิลง
เช่น
พอลิเอทิลีน (PE) พอลิโพรพิลีน (PP) พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) พอลิสไตรีน (PS) พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต เซลลูโสล และไนลอน
พอลิเมอร์แบบเส้นสามารถแบ่งออกตามลักษณะของมอนอเมอร์เป็น 3 ประเภท ดังนี้
สมบัติของพอลิเมอร์ชนิดนี้ มีความยืดหยุ่นสูง มีความหนาแน่นต่ำ และมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าพอลิเมอร์แบบเส้น
เช่น
พอลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene: LDPE)
นอกจากนี้ ถ้าให้ความร้อนกับพอลิเมอร์แบบกิ่งจะสามารถหลอมเหลวและนำกลับมาใช้ใหม่ได้เช่นเดียวกับพอลิเมอร์แบบเส้น
เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากการเชื่อมโยงพันธะระหว่างสายโซ่พอลิเมอร์ที่ต่อเนื่องกันเป็นร่างแห ถ้าพันธะที่เชื่อมระหว่างสายโซ่หลักมีน้อย พอลิเมอร์จะมีสมบัติยืดหยุ่นและอ่อนตัว แต่ถ้ามีจำนวนพันธะระหว่างสายโซ่หลักมาก พอลิเมอร์จะแข็งไม่ยืดหยุ่น
สมบัติของพอลิเมอร์ชนิดนี้ มีจุดหลอมเหลวสูง เมื่อขึ้นรูปแล้วไม่สามารถหลอม หรือเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้
เช่น
พอลิฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์หรือเบกาไลต์ พอลิเมลามีนฟอร์มาลดีไฮด์หรือเมลามีน ซึ่งใช้ทาถ้วยชามและภาชนะ ใส่อาหารต่างๆ
นอกจาก โครงสร้างของพอลิเมอร์จะมีผลต่อสมบัติทางกายภาพแล้ว ยังมีมวลโมเลกุล และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างสายโซ่พอลิเมอร์ที่มีผลต่อสมบัติของพอลิเมอร์ โดยพอลิเมอร์ที่มีมวลโมเลกุลสูงและมีโครงสร้างแบบเส้นจะมีความเหนียว
ส่วนพอลิเมอร์ที่ไม่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างสายโซ่ แต่มีการยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไฮโดรเจนระหว่างหมู่ฟังก์ชัน หรือยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์ จะมีจุดหลอมเหลวสูง พอลิเมอร์ที่โซ่เรียงชิดกันได้มากจะมีความหนาแน่นและมีความเป็นผลึกสูง พอลิเมอร์จะมีความแข็ง อากาศหรือน้ำผ่านไม่ได้ รวมทั้งมีลักษณะขุ่นหรือทึบแสง
สำหรับสมบัติทางเคมีของพอลิเมอร์จะขึ้นอยู่กับหมู่ฟังก์ชันในสายโซ่พอลิเมอร์ และมีสมบัติเหมือนกับ สารอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันเดียวกัน
เช่น พอลิไวนิลแอลกอฮอล์สามารถละลายน้ำได้ เนื่องจากมีหมู่ฟังก์ชัน –OH เช่นเดียวกับแอลกอฮอล์ เป็นต้น