กฎเทอร์โมไดนามิกส์และการประยุกต์ (1)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

MEDIUM

กฎเทอร์โมไดนามิกส์และการประยุกต์ (1)

เนื้อหา

กฎเทอร์โมไดนามิกส์และการประยุกต์ 1

พลังงานภายใน

พลังงานภายในของสสารหมายถึงผลรวมของพลังงานจลน์ (จากการเคลื่อนที่เช่นการเลื่อนตำแหน่ง การหมุน หรือการสั่นของโมเลกุล) และพลังานศักย์ (จากแรงกระทำระหว่างโมเลกุล) แต่เนื่องจากแก๊สอุดมคติไม่มีแรงกระทำระหว่างโมเลกุล จึงไม่มีพลังงานศักย์ ดังนั้นพลังงานภายในของแก๊สอุดมคติก็คือพลังงานจลน์รวมของโมเลกุลของแก๊สในภาชนะ
เราใช้สัญลักษณ์ U แทนพลังงานภายใน จะได้

U space equals space E subscript k space equals space N open angle brackets E subscript k close angle brackets space equals space 3 over 2 N k subscript B T

พลังงานภายในแปรผันตรงกับอุณหภูมิของแก๊ส 
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพลังงานภายใน ตามสมการ 

increment U space equals space 3 over 2 N k subscript B increment T

ถ้า increment T greater than 0 จะทำให้ increment U greater than 0 
หมายความว่าแก๊สร้อนขึ้น
ถ้า increment T less than 0 จะทำให้ increment U greater than 0 
หมายความว่าแก๊สเย็นลง
ถ้า increment T equals 0 จะทำให้ increment U equals 0 
หมายความว่าอุณหภูมิไม่มีการเปลี่ยนแปลง

พลังงานความร้อน

เมื่อให้พลังงานความร้อน Q แก่สสารมวล m อาจจะทำให้สสารนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น increment T ตามสมการ

Q space equals space m c increment T

โดยที่ c คือค่าความจุความร้อนจำเพาะของสสาร เรากำหนดเครื่องหมายของ Q ดังนี้
Q greater than 0 เมื่อความร้อนไหลเข้าในระบบ (ระบบได้รับความร้อน)
Q less than 0 เมื่อความร้อนไหลออกจากระบบ (ระบบเสียหรือคายความร้อน)
Q equals 0 เมื่อไม่มีความร้อนเข้าหรือออกจากระบบ