แก๊สอุดมคติและทฤษฎีจลน์แก๊ส (1)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

แก๊สอุดมคติและทฤษฎีจลน์แก๊ส (1)

เนื้อหา

แก๊สอุดมคติและทฤษฎีจลน์ 1

สมมติฐานของแก๊สอุดมคติ

  1. โมเลกุลของแก๊สมีการเคลื่อนที่แบบ random 
  2. โมเลกุลไม่มีขนาด 
  3. ไม่มีแรงกระทำระหว่างโมเลกุลยกเว้นขณะชนกัน
  4. การชนเป็นการชนแบบยืดหยุ่น

ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับแก๊สอุดมคติ

  1. ความดัน (P) เกิดจากแรงที่โมเลกุลของแก๊สกระทำ
    ต่อผนังของภาชนะ ถ้าโมเลกุลวิ่งชนผนังแรงขึ้นหรือ
    วิ่งชนบ่อยขึ้น จะทำให้ความดันเพิ่มขึ้น
P space equals space แรงท ี่ กระทำ over พ ื้ นท ี่ ต ั้ งฉาก equals F over A

ความดันมีหน่วยเป็นนิวตันต่อตารางเมตร หรือปาสคัล

2. ปริมาตร (V) คือปริมาตรของภาชนะที่บรรจุแก๊ส

3. จำนวนโมล (n) บ่งบอกปริมาณของแก๊สในภาชนะ

n space equals space มวลของแก ๊ ส over มวลโมเลก ุ ล space equals space จำนวนโมเลก ุ ล over เลขอะโวกาโดร

เลขอะโวกาโดรเท่ากับ 6.02 cross times 10 to the power of 23 แสดงถึงจำนวนโมเลกุลของแก๊ส 1 โมล

4. อุณหภูมิ (T) บ่งบอกพลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลของแก๊ส ถ้าอุณหภูมิสูง โมเลกุลโดยเฉลี่ยจะเคลื่อนที่เร็วขึ้นและชนกันบ่อยขึ้น
สามารถแปลงหน่วยของอุณหภูมิจากองศาเซลเซียส (C) เป็นเคลวิน (K) ได้ตามสูตร

K equals C plus 273

สามารถแปลงหน่วยของอุณหภูมิจากองศาเซลเซียส (C) เป็นฟาเรนไฮต์ ได้ตามสูตร

C over 5 equals fraction numerator F minus 32 over denominator 9 end fraction