พลังงานความร้อน มีต่อการเปลี่ยนแปลงของวัตถุ 2 รูปแบบ คือ ทำให้อุณหภูมิของวัตถุเพิ่มขึ้นหรือลดลงโดยไม่เปลี่ยนสถานะและทำให้วัตถุเปลี่ยนสถานะโดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง
โดย Q = ปริมาณความร้อนที่สารได้รับหรือคายออก
มีหน่วยเป็นแคลอรี (cal) หรือกิโลแคลอรี
(kcal) หรือจูล (J)
m = มวลของสาร มีหน่วยเป็นกรัม (g)
หรือกิโลกรัม (kg)
c = ความจุความร้อนจำเพาะของสาร มีหน่วยเป็น
(cal/g C) , (kcal/kg C) , (J/kg K)
(ความจุความร้อนจำเพาะ (c) คือ ปริมาณ
ความร้อนที่พอดีที่ทำให้สารมวล 1 หน่วย
มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดิม 1 องศา)
∆t = อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของสาร
มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส (C) หรือ (K)
2. ทำให้วัตถุเปลี่ยนสถานะ โดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง
โดย Q = พลังงานความร้อน (J)
m = มวลของสาร มีหน่วยเป็นกรัม (g)
หรือกิโลกรัม (kg)
L = ความร้อนแฝงจำเพาะ มีหน่วยเป็น
cal/g หรือ J/kg
(ความร้อนแฝงจำเพาะ (L) คือ พลังงาน
ความร้อนที่ทำให้วัตถุมวล 1 หน่วย
เปลี่ยนสถานะจนหมดโดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยน)
3. ถ้าวัตถุได้รับพลังงานความร้อนอย่างสม่ำเสมอ โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งอุณหภูมิและเปลี่ยนสถานะอย่างต่อเนื่องกันไป
กลไกการถ่ายเทความร้อนแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้