ความดัน แรงลอยตัว กฏปาสคาล สมการแบนูลลี (1)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

ความดัน แรงลอยตัว กฏปาสคาล สมการแบนูลลี (1)

MEDIUM

ความดัน แรงลอยตัว กฏปาสคาล สมการแบนูลลี (1)

HARD

ความดัน แรงลอยตัว กฏปาสคาล สมการแบนูลลี (1)

เนื้อหา

กลศาสตร์ของไหล 1

ในชีวิตประจำวัน เราพบกับสิ่งที่เรียกว่าของไหลอยู่บ่อยครั้งเช่น น้ำที่เราดื่ม อากาศที่เราหายใจ ลมที่พัดประจำฤดู
ในทางฟิสิกส์ ของไหล คือ สสารที่สามารถเปลี่ยนรูปร่างไปตามภาชนะที่บรรจุได้ และ ไหลจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งได้ ในเบื้องต้นฟิสิกส์แบ่งสสารได้เป็น 3 สถานะ ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และ แก๊ส โดยที่ของแข็งจะมีรูปร่างและปริมาตรแน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้น้อยมากๆ ของเหลวเป็นสถานะที่มีปริมาตรแน่นอนแต่สามารถเปลี่ยนรูปร่างตามภาชนะที่ใส่ได้ และแก๊สมีรูปร่างและปริมาตรไม่แน่นอน เมื่อพิจารณาจากลักษณะของสสารแล้วจะเห็นได้ว่า มีสถานะ ของเหลว และ แก๊ส ที่เป็นของไหล นอกจากนี้ที่พลังงานสูงๆ สสารจะเปลี่ยนเป็นสถานะที่เรียกว่า พลาสมา ซึ่งก็ถือเป็นของไหลด้วยเช่นกัน

ความหนาแน่น

ความหนาแน่น คือปริมาณมวลต่อหน่วยปริมาตรของสสาร
เราสามารถเขียนเป็นสมการได้เป็น 

rho equals m over V

โดย rho คือ ความหนาแน่น m คือมวล และ V คือ ปริมาตร ในระบบ SI ความหนาแน่นจะมีหน่วยเป็น k subscript g over m cubed ดังนั้น หากเราทราบความหนาแน่น และ ปริมาตรของสสาร เราสามารถคำนวณมวลได้จาก 

m equals rho V

น้ำหนัก open parentheses W close parentheses ของสสารจะสามารถคำนวณได้จาก

W equals m g equals rho V g
ตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีวัตถุที่มีความหนาแน่น 100 k subscript g over m cubed หมายความว่า ถ้าเรามีวัตถุดังกล่าวเป็นปริมาตร 1 ลูกบาศก์เมตร วัตถุนั้นจะหนัก 100 กิโลกรัม

ความดัน

ความดันและแรงดันจะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่ไม่ใช่
สิ่งเดียวกัน โดยที่ความดันคือ แรงที่กระทำตั้งฉากกับ
หนึ่งหน่วยพื้นที่ ซึ่งมีสมการเป็น 

P equals F over A

โดยที่ P คือความดัน A คือพื้นที่ และ F คือขนาดของแรงที่กดตั้งฉากกับพื้นที่ เราสามารถคำนวณขนาดแรงดันที่กระทำบนพื้นที่ จาก 

F equals P A

ในระบบ SI ความดันจะมีหน่วยเป็น N over m squared หรือ pascal (Pa) ดังนั้น 1 Pa = 1 N over m squared

ความดันที่ระดับความลึกต่างๆ ในของไหล

แรงดันของของไหลจะกระทำต่อวัตถุที่อยู่ในของไหลในทิศตั้งฉากกับผิวของวัตถุ ในทุกทิศทาง ดังนั้นหากรูปพิจารณากล่องที่บรรจุของของเหลวดังรูปที่ 1 ที่ความลึก h จากผิวของเหลว เมื่อเราพิจารณาความดันต่อพื้นที่ A ตามนิยามจะได้ว่า น้ำหนักของของเหลวที่กดลงบนพื้นที่ F equals W equals rho V g equals rho open parentheses A h close parentheses g และ ความดันสามารถเขียนได้เป็น 

P equals F over A 
P equals fraction numerator rho open parentheses A h close parentheses g over denominator A end fraction 
P equals rho g h

จะเห็นได้ว่า ถ้าของเหลวเป็นชนิดเดียวกัน ความดันที่ระดับความลึกเท่ากันจะมีค่าเท่ากัน โดยไม่ขึ้นกับรูปร่างของของเหลวหรือภาชนะที่ใส่ 

ความดันเกจและความดันบรรยากาศ

อากาศนับเป็นของไหลด้วยเช่นกัน การที่เราอาศัยอยู่บนโลกที่ห่อหุ้ม ชั้นบรรยากาศ อากาศจะมีแรงดันกระทำต่อวัตถุในชั้นบรรยากาศในลักษณะคล้ายกับของเหลว แรงดันดังกล่าวเกิดจากน้ำหนักของอากาศที่กดทับวัตถุในชั้นบรรยากาศ
ค่าความดันจากอากาศที่ระดับน้ำทะเล ซึ่งมีค่าเท่ากับ 1.013×105 P a หรือ 1 atmosphere (atm) ความดันบรรยากาศถูกใช้ในหน่วยที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

ความดันของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุภายในของเหลว เรียกว่า ความดันเกจ (gauge pressure) ในการคำนวณเมื่อเรารวมค่าความดันจากบรรยากาศ P subscript a i r end subscript กับค่าความดันเกจ P subscript g เราเรียกว่า ความดันสัมบูรณ์ (absolute pressure) เขียนสมการได้เป็น 

P equals space P subscript a i r end subscript plus P subscript g

การคำนวณความดันในรูปแบบอื่น

ความดันที่กระทำต่อผนังของเขื่อนจะสามารถคำนวณได้จากความดันเฉลี่ยที่ฐานเขื่อนกับความดันที่ระดับผิวน้ำ 

P equals fraction numerator P subscript บน plus P subscript ล ่ าง over denominator 2 end fraction equals fraction numerator 0 plus rho g H over denominator 2 end fraction equals 1 half rho g H

เราสามารถคำนวณแรงดันที่กระทำต่อผนังเขื่อนได้จาก

F equals P A equals 1 half rho g H A

 
กรณีที่น้ำไม่เท่ากันสามารถคำนวณขนาดแรงลัพธ์ได้จาก

F equals F subscript ล ึ ก minus F subscript ต ื้ น