คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (2)

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (2) (ชุดที่ 1)

MEDIUM

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (2) (ชุดที่ 2)

HARD

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (2) (ชุดที่ 3)

เนื้อหา

เรื่องสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีความถี่ที่แตกต่างกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 0 – 1023 เฮิรตซ์ ซึ่งสามารแบ่งได้เป็น 7 ช่วงความถี่ อันได้แก่

  • คลื่นวิทยุ
  • คลื่นไมโครเวฟ
  • รัวสีอินฟราเรด
  • คลื่นแสง
  • รังสีอัลตราไวโอเลต
  • รังสีเอ็กซ์และรังสีแกมมา

โดยจะเรียกว่าสเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 สเปกตรัมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

        จากรูปที่ 1 พบว่าคลื่นวิทยุเป็นคลื่นที่มีความยาวคลื่นมากสุดและมีความถี่น้อยสุด ส่วนรังสีแกมมาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นน้อยสุดและมีความถี่มากสุดและมีพลังงานมากที่สุด ซึ่งความเร็วของคลื่นแม่เหล็กทุกสเปกตรัมมีความเร็ว c (3×108 เมตร/วินาที) เท่ากันตามความสัมพันธ์ตามสมการที่ 1

(1.)          v space equals space space f lambda

เมื่อ          

  •  v คือความเร็วคลื่น                       
  • f คือความถี่คลื่น                    
  • lambda คือความยาวคลื่น

            แต่ละสเปกตรัมนอกจากจะมีความยาวคลื่นและความถี่ที่ไม่เท่ากันแล้วยังมีพลังงานที่ไม่เท่ากันอีกด้วย โดยพลังงานของแต่ละสเปกตรัมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความถี่ของแต่ละสเปกตรัม ดังนั้นในแต่ละสเปกตรัมจึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานที่ต่างกันไปดังนี้

คลื่นวิทยุ 

คลื่นวิทยุ  เป็นคลื่นที่มีความถี่ในช่วง 104 ถึง 109 เฮิรตซ์ ถูกนำมาใช้งานระบบสื่อสาร

โดยแบ่งเป็น 2 ระบบได้แก่

  • คลื่นระบบ เอฟเอ็ม (ความถี่ 88-108 เมกะเฮิรตซ์)
  • และคลื่นระบบ เอเอ็ม (ความถี่ 530-1600 เมกะเฮิรตซ์)

โดยคลื่นระบบเอฟเอ็มและระบบเอเอ็มมีความแตกต่างกันคือ ระบบเอฟเอ็มจะผสมสัญญาณเสียงเข้ากับคลื่นวิทยุและทำให้ความถี่ของคลื่นเปลี่ยนไป

ส่วนระบบเอเอ็มจะผสมสัญญาณเสียงเข้ากับคลื่นวิทยุและทำให้แอมปลิจูดเปลี่ยน นอกจากนี่ระบบเอฟเอ็มจัดเป็นคลื่นดินส่วนคลื่นระบบเอเอ็มเป็นคลื่นฟ้า ซึ่งคลื่นฟ้านี้มีข้อดีคือสามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่าคลื่นดิน คลื่นวิทยุจะสะท้อนในชั้นบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟีย

คลื่นไมโครเวฟ

คลื่นไมโครเวฟ เป็นคลื่นที่มีความถี่ในช่วง 108 ถึง 1012 เฮิรตซ์

มีประโยชน์

  • ในด้านการสื่อสาร
  • ระบบดาวเทียม
  • ระบบเรดาร์

และรวมถึงระบบเตาไมโครเวฟให้ความร้อนได้  โดยทำให้โมเลกุลของน้ำสั่นโดยไมโครเวฟที่นำมาใช้ทำเตาไมโครเวฟนั้นมีความถี่ที่ตรงกับความถี่ธรรมชาติของน้ำทำให้น้ำสั่นและปล่อยพลังงานในรูปแบบของความร้อนออกมา สำหรับไมโครเวฟที่นำมาใช้เป็นระบบสื่อสารนั้นใช้วิธีส่งสัญญาณภาคพื้นดิน โดยต้องมีเสาสัญญาณในการรับและส่งสัญญาณเป็นทอดๆ

รังสีอินฟาเรด

รังสีอินฟาเรด เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในช่วง1011 ถึง 1014 เฮิรตซ์ เป็นรังสีที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็น แต่สัตว์บางชนิดสามารถมองเห็นได้

นำมาใช้เป็น

  • กล้องถ่ายรูปในความมืด
  • ใช้ถ่ายภาพโลกผ่านดาวเทียม
  • สัญญาณในรีโมทคอนโทล
  • ควบคุมอาวุธนำวิถี 
  • และเป็นสัญญาณในใยแก้วนำแสง

รังสีอินฟาเรด มีพลังงานต่ำจึงไม่มีโทษกับร่างกายและมีส่วนทำให้เกิดโลกร้อน

แสง

แสง เป็นคลื่นแม่เหล็กที่มีความถี่ 1014 เฮิรตซ์ เป็นคลื่นแม่เหล็กที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ คลื่นแสงที่มองเห็นนั้นเป็นแสงขาว ซึ่งประกอบด้วยแสงที่มีความถี่ต่างๆ 7 ความถี่หรือ 7 สีนั่นคือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง เรียงลำดับตามความถี่มากมาน้อย

รังสีอัลตราไวโอเลต (UV)

รังสีอัลตราไวโอเลต (UV)  เป็นคลื่นแม่เหล็กที่มีความถี่ในช่วง 1015 ถึง 1018 เฮิรตซ์ เป็นรังสีที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่แมลงบางชนิดสามารถมองเห็นได้

รังสีนี้มี 3 ชนิดคือ

  • รังสี UVA
  • UVB
  • และ UVC

โดยรังสี UVC ถูกกรองด้วยโอโซนได้ทั้งหมด UVB ถูกกรองด้วยโอโซนบางส่วนในขณะที่ UVA สามารถทะลุผ่านโอโซนได้

ประโยชน์คือ

  • ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค
  • ในในงานแสดง
  • ใช้ในงานตรวจสอบธนบัตรและใช้ในงานแยกสาร

โทษคือ

  • เป็นอันตรายต่อนัยน์ตาและผิวหนัง

รังสีเอ็กซ์

รังสีเอ็กซ์ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในช่วง 1016 ถึง 1022 เฮิรตซ์

มีประโยชน์

  • ในการตรวจวินิจฉัยโรค
  • ตรวจรอยร้าวของโลหะ
  • ตรวจอาวุธหรือระเบิดในสนามบิน
  • ตรวจโครงสร้างของผลึก

โทษคือ

  • เป็นอันตรายต่อนัยน์ตา
  • และถ้าได้รับปริมาณมากอาจทำให้เป็นหมันได้

รังสีแกมมา

รังสีแกมมา เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่มากที่สุด มาจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี และปฏิกิริยานิวเคลียร์ มีความสามารถในการทะลุทะลวงสูงเมื่อเทียบกับรังสีที่เกิดจากสารกัมมันตรังสีด้วยกันคือรังสีแอลฟา และรังสีเบต้า

ประโยชน์คือ

  • ใช้ฆ่ามะเร็ง
  • ถนอมอาหาร
  • ฆ่าเชื้อโรค
  • และเปลี่ยนพันธ์พืชได้

โทษคือ

  • ถ้าได้รับรังสีมากๆ อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

Analog and Digital

สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือสัญญาณอนาลอกและสัญญาณดิจิตอล
1. สัญญาณแบบ Analog จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องที่ทุกๆ ค่าเปลี่ยนแปลงไปของระดับสัญญาณจะมีความหมาย การส่งสัญญาณแบบ Analog จะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่ายกว่าเนื่องจาก ค่าทุกค่าที่ถูกน่ามาใช้งานั้นเอง ซึ่งสัญญาณแบบอนาล็อกนี้จะเป็นสัญญาณที่สื่อกลาง ในการสื่อสารส่วนมากใช้อยู่ เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น

2. สัญญาณแบบ Digital จะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือสัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาระดับต่่าสุด ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพและ ความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบ Analog เนื่องจากมีการใช้งานเพียง 2 ค่าเพื่อน่ามาตีความหมายเป็น On/Off หรือ 1/0 เท่านั้นซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้ จะเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการท่างานและติดต่อสื่อสารกันในทางปฏิบัติ จะสามารถใช้เครื่องมือในการแปลงระหว่างสัญญาณ ทั้งสองแบบได้ เพื่อช่วยให้สามารถส่งสัญญาณดิจิตอลผ่านสัญญาณพาหะที่เป็นอนาล็อก เช่นสายโทรศัพท์หรือคลื่นวิทยุ การแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อก จะเรียกว่า โมดูเลชั่น (Modulation) เช่นการแปลงสัญญาณแบบ Amplitude modulation (AM) และ Frequency Modulation (FM) เป็นต้น ส่วนการแปลงสัญญาณ แบบอนาล็อกเป็นดิจิตอล จะเรียกว่า ดีโมดูเลชั่น (Demodulation) ตัวอย่างของเครื่องมือในการแปลง เช่น MODEM(MOdulation DEModulation) นั้นเอง

การส่งสัญญาณแบบอนาลอกและดิจิตอล

1. สัญญาณแบบอนาลอก (Analog) จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง ที่ทุกๆค่าที่เปลี่ยนแปลงไป ของระดับสัญญาณจะมีความหมาย การส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่ายกว่า เนื่องจากค่าทุกค่าถูกน่ามาใช้งานนั่นเอง ซึ่งสัญญาณแบบอนาลอกนี้จะเป็นสัญญาณ ที่สื่อกลางในการสื่อสารส่วนมากใช้อยู่ เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น

2. สัญญาณแบบดิจิตอล (Digital) จะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือสัญญาณ ระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่่าสุด ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบอนาลอก เนื่องจากมีการใช้งานค่าเพียง 2 ค่า น่ามาตีความหมายเป็น on/off หรือ 1/0 เท่านั้น ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้ จะเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการท่างานและติดต่อสื่อสารกันในทางปฏิบัติ จะสามารถใช้เครี่องมือในการแปลงระหว่างสัญญาณทั้ง 2 แบบได้ เพื่อช่วยให้สามารถส่งสัญญาณดิจิตอลผ่านสัญญาณพาหะที่เป็นอนาลอก เช่นสายโทรศัพท์หรือคลื่นวิทยุ การแปลงสัญญาณแบบดิจิตอลไปเป็นอนาลอกจะเรียกว่า Modulation เช่น การแปลงแบบ Amplitude Modulation (AM) และFrequency Modulation (FM) เป็นต้น ส่วนการแปลงสัญญาณแบบอนาลอกเป็นดิจิตอล จะเรียกว่า Demodulation ตัวอย่างของเครื่องมือในการแปลงระหว่างสัญญาณทั้งสองก็คือ Modem (Modulation DEModulation) นั่นเอง