คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นคลื่นตามขวางที่สามารถเคลื่อนที่ได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลางในกลางเคลื่อนที่ เพราะเป็นคลื่นที่ประกอบด้วยสนามไฟฟ้า () และสนามแม่เหล็ก (
)
โดยมีทิศทางตั้งฉากกันและตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่นด้วยดังรูปที่ 1 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเกิดขึ้นจากการสั่นของประจุไฟฟ้าเกิดสนามไฟฟ้า เหนี่ยวนำทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก
รูปที่ 1 คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
การสั่นของประจุไฟฟ้าขึ้นลงด้วยความถี่ (f) นั้นทำให้สนามไฟฟ้าของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตามเวลา รวมไปถึงสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสนามไฟฟ้าด้วย และเมื่อสนามแม่เหล็กเปลี่ยนแปลงจะเกิดการเหนี่ยวนำสนามไฟฟ้าขึ้นในทิศตั้งฉาก ปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นวนไป ซึ่งจะทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารเคลื่อนที่ไปในสุญญากาศได้ด้วยความเร็วเท่ากับความเร็วแสง ( c = 3×108 m/s)
ทฤษฎีการเหนี่ยวนำของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กนี้มาจากแม็กซ์เวลล์ การเคลื่อนที่ของสนามไฟฟ้าอธิบายได้ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 การเคลื่อนที่ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าตามทฤษฎีของแม็กซ์เวลล์
เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่มีพลังงานในตัวเองดังนั้นจะสามารถคำนวณหาค่าพลังงานของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้จากสมการที่ 1
เมื่อ
โดยปกติแล้วคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่งผ่านมาได้หลายระนาบ การที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีเพียงระนาบเดียวจะเรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ว่า คลื่นโพลาไรส์ และการทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟ้ฟ้าเป็นคลื่นโพลาไรส์นี้เรียกว่า โพลาไรเซชัน ซึ่งมีวิธีทำได้ 2 วิธีด้วยกันคือ การใช้แผ่นโพลารอยด์ และการสะท้อนแสง
แผ่นโพลารอยด์เป็นแผ่นที่มีโมเลกุลของวัสดุเรียงตัวขนานกัน เมื่อแสงซึ่งมีหลายระนาบส่องผ่านมาจะมีเพียงแสงมีมีระนาบเดียวกับระนาบของแผ่นโพลารอยด์เท่านั้นที่จะสามารถส่องผ่านไปได้ ทำให้แสงที่ผ่านแผ่นโพลารอยด์จะเป็นแสงโพลาไรส์เนื่องจากเป็นแสงที่มีระนาบเดียว วิธีตรวจสอบคือการนำแผ่นโพลารอยด์อีกแผ่นที่มีระนาบอื่นมากั้นจะพบว่าไม่มีแสงผ่านแผ่นโพลารอยด์นั้นออกมาได้
เมื่อแสงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่หนึ่งเข้าไปในตัวกลางที่สองจะมีแสงส่วนหนึ่งเคลื่อนที่เข้าไปในตัวกลางที่สอง ซึ่งจะเกิดการหักเหของแสงในตัวกลางที่สอง แสงส่วนหนึ่งจะสะท้อนตัวกลางที่สอง ตามกฎการสะท้อน “มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน” ซึ่งถ้าลำแสงสะท้อน ตั้งฉากกับลำแสงหักเหในตัวกลางที่สอง ลำแสงสะท้อนนั้นจะเป็น แสงโพลาไรส์ ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 แสงโพลาไรส์จากการสะท้อนแสง
โพลาไรเซซันโดยการสะท้อน
เมื่อแสงไม่โพลาไรส์ผ่านแผ่นโพลารอยด์จะออกมาเป็นแสงโพลาไรส์ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการทำแสงโพลาไรส์โดยใช้วิธีดูดกลืนแสงยังมีวิธีอื่นอีกที่ให้แสงโพลาไรส์ คือ การสะท้อนแสงเมื่อให้แสงไม่โพลาไรส์ตกกระทบผิววัตถุ เช่น แก้ว น้ำ หรือกระเบื้องแสงสะท้อนจะเป็นแสงโพลาไรส์ เมื่อแสงทำมุมตกกระทบเป็นค่าเฉพาะค่าหนึ่ง
โพลาไรเซชันโดยการหักเห
เมื่อแสงผ่านเข้าไปในแก้วแสงจะเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วเท่ากันทุกทิศทาง เพราะแก้วมีดรรชนีหักเหเพียงค่าเดียวแต่เมื่อแสงผ่านเข้าไปในผลึกแคลไซต์หรือควอตซ์ แสงจะมีอัตราเร็วไม่เท่ากันทุกทิศทางด้วยเหตุนี้แสงที่ผ่านแคลไซต์จึงหักเหออกเป็น 2 แนว (double diffraction หรือ birefringence) ดังรูป รังสีหักเหทั้งสองแนวเป็นแสงโพลาไรส์โดยมีสนามไฟฟ้าของรังสีหักเหแต่ละรังสีตั้งฉากกัน ซึ่งแสดงด้วยลูกศรและจุดรังสีที่แทนด้วยจุด เรียกว่า รังสีธรรมดา (ordinary ray) มีอัตราเร็วเท่ากันทุกทิศทาง รังสีที่แทนด้วยลูกศร เรียกว่า รังสีพิเศษ (extraordinary ray) มีอัตราเร็วในผลึกต่างกันในทิศที่ต่างกัน
โพลาไรเซชันโดยการกระเจิงของแสง
เมื่อแสงอาทิตย์ผ่านเข้ามาในบรรยากาศของโลกแสงจะกระทบโมเลกุลของอากาศหรืออนุภาคในบรรยากาศอิเล็กตรอนในโมเลกุลจะดูดกลืนแสงที่ตกกระทบนั้นและจะปลดปล่อยแสงนั้นออกมาอีกครั้งหนึ่งในทุกทิศทาง ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการกระเจิงของแสง ซึ่งได้ศึกษามาแล้วในบทเรียนเรื่องแสงโดยศึกษาผลของการกระเจิงที่ทำให้เห็นท้องฟ้าเป็นสีต่างๆ