ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย
จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ถูกคาดคะเนไว้ประมาณ 5,000,000 ชนิด และจากการศึกษาค้นคว้านั้น คาดคะเนว่าในประเทศไทยมีสิ่งมีชีวิตอยู่ราว 350,000 ชนิด หรือประมาณ 7% ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลก แม้ว่าประชากรคนไทยจะมีเพียงแค่ 1% ของประชากรโลกเท่านั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า
ประเทศไทยนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูงมาก
สาเหตุของความหลากหลาย
ทางชีวภาพในประเทศไทย
การที่ประเทศไทยมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูงเช่นนี้ เป็นไปได้หลายสาเหตุ เช่น
- ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตรและคาบเกี่ยวกับเทือกเขาหิมาลัยที่ทอดตัวยาวมากจากเขตอบอุ่น รวมไปถึงลักษณะของประเทศที่เป็นแหลมยื่นไปในทะเล ทำให้เรามีระบบนิเวศที่หลากหลายและคาบเกี่ยวกับหลายภูมิภาคของโลก
- เป็นหนึ่งในเส้นทางอพยพที่สำคัญของสิ่งมีชีวิตหลายชนิดที่จะอพยพจากซีกโลกเหนือลงใต้ และ อพยพจากซีกโลกใต้ขึ้นเหนือ
- อุณหภูมิที่ค่อนข้างคงที่ตลอดทั้งปี จึงทำให้เกิดความหลากหลายของระบบนิเวศทั้งบนบกและในน้ำขึ้น
- ประกอบด้วยป่าหลายชนิด เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าสนเขา ป่าเต็งรัง ป่าดิบชื้น ป่าชายเลน เป็นต้น
- มีแม่น้ำสำคัญหลายสายที่ไหลผ่านเกือบตลอดความยาวของประเทศ มีแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ เช่น ทะเลสาบบึงบรเพ็ด ทะเลสาบเชียงแสน เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้ประกอบกับอุณหภูมิที่เหมาะสมทำให้สิ่งมีชีวิต
ต่าง ๆ เจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ดีตลอดทั้งปี
แต่การศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในประเทศไทยนั้นมีน้อย ประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
การศึกษาจึงเน้นเพียงแค่สิ่งมีชีวิตที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เป็นหลัก หรือ สภาพแวดล้อมของธรรมชาติที่ถูกทำลายไปเท่านั้น
จากข้อมูลการสำรวจด้านความหลากหลายทางชีวภาพอ้างอิงจากหนังสือความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยโดย สบวท. มีข้อมูลดังนี้