การศึกษาระบบนิเวศ
การศึกษานิเวศวิทยา จะประกอบไปด้วยความหลากหลายทางประชากร สามารถศึกษาได้ตั้งแต่ในระดับสิ่งมีชีวิต (Organisms) ระดับประชากร (population) ระดับกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) ระดับระบบนิเวศ (Ecosystem) ระดับชีวนิเวศ (Biomes) และระดับโลกของสิ่งมีชีวิตหรือชีวภาค (Biosphere)
นิเวศวิทยา (Ecology) มีรากศัพท์มากจากภาษากรีก คือ oikos แปลว่า home และ logos แปลว่า study
ดังนั้น “The study of home” หมายถึง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบ สามารถจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศด้วยองค์ประกอบที่มีชีวิตและองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต
องค์ประกอบของระบบนิเวศ
มี 2 องค์ประกอบดังนี้
1. องค์ประกอบที่มีชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยจะมีบทบาทและหน้าที่ที่ต่างกัน ดังนี้
ผู้ผลิต สามารถสร้างอาหารได้เอง ตัวอย่างเช่น พืชสีเขียว แพลงก์ตอนพืช และแบคทีเรียบางชนิด
ผู้บริโภค ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ จะได้รับพลังงานจากกินสิ่งมีชวิตอื่นๆ ตัวอย่างเช่น มนุษย์ สัตว์ โดยสามารถแบ่งออกได้ทั้งสิ้น 4 ประเภทคือ ผู้บริโภคที่กินเฉพาะพืชเท่านั้น ผู้บริโภคที่กินเฉพาะสัตว์ ผู้บริโภคที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร และผู้บริโภคที่กินซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหาร
- ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ผลิตเอ็มไซม์ออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้วเป็นอาหาร โดยการดูดซึม เช่น แบคทีเรีย เห็ด รา
2. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต มีความสำคัญในการช่วยทำให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศ สามารถแบ่งออกได้ทั้งสิ้น 3 ประเภท ดังนี้
- สารอนินทรีย์ สารจากธรรมชาติ จำพวกแร่ธาตุต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบสำคัญในสิ่งมีชีวิต เช่น แก๊สออกซิเจน คาร์บอน น้ำ
- สารอินทรีย์ สารจากสิ่งมีชีวิต เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เป็นต้น
- ปัจจัยทางกายภาพ คือ ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบ เช่น แสง ความชื้น ดิน อุณหภูมิ เป็นต้น

รูปที่ 1 Ernst Haeckel นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน
ที่มา https://th.thpanorama.com/articles/
Ernst Haeckel นักสัตววิทยาชาวเยอรมันได้มีการนิยามไว้ว่า
“The body of knowledge concerning the economy of nature – the investigation of the total relationships of the animal both to its inorganic and its organic environments.”
ซึ่งหมายถึง “การศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างส่วนประกอบและการทำงานของระบบนิเวศ (The study of structure and function of the ecosystem)”ระบบนิเวศมีความเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดพลังงานและการหมุนเวียนสารเป็นวัฐจักรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้ระบบนิเวศนั้น ๆ สามารถอยู่รอดได้ เช่น การสังเคราะห์แสงของพืช เป็นต้น
ประเภทของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระดับ ตามลักษณะของแหล่งที่อยู่อาศัย ดังนี้
ระบบนิเวศบนบก (Terrestrial ecosystem)
หมายถึง ลักษณะของระบบนิเวศที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตภายในระบบอาศัยอยู่บนพื้นดิน เช่น ทุ่งหญ้า ป่า ทะเลทราย ที่ราบริมภูเขา ที่ราบสูงระบบนิเวศในน้ำ (Aquatic ecosystem)
หมายถึง ลักษณะของระบบนิเวศที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตภายในระบบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เช่น บ่อ หนอง บึง คลอง แม่น้ำ ทะเล
การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคในระบบนิเวศ
- สามารถควบคุมศัตรูพืชและพาหะนำโรค
- ลดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูแล สามารถควบคุมระบบได้ และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
- สามารถเพิ่มผลผลิตได้โดยไม่ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลธรรมชาติ
- เป็นองค์ความรู้พื้นฐานในการจัดการผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งการจัดการของเสียจากการเกษตร
- เป็นแนวทางในการใช้และการสงวนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดให้เกิดความคุ้มค่า และมีทรัพยากรใช้ได้ยาวนาน