ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
เซลล์ และโครงสร้างหน้าที่ของส่วนประกอบเซลล์
โครงสร้างของเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์
การลำเลียงสารผ่านเซลล์
การแบ่งเซลล์
การย่อยอาหารของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและของสัตว์
การย่อยอาหารของคน
การย่อยอาหารและการหายใจระดับเซลล์
การสืบพันธุ์ของสัตว์และคน
การเจริญเติบโตของสัตว์

สิ่งมีชีวิตและชีววิทยา

ยอดวิว 23.6k

แบบฝึกหัด

EASY

สิ่งมีชีวิตและชีววิทยา (ชุดที่ 1)

HARD

สิ่งมีชีวิตและชีววิทยา (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

สิ่งมีชีวิตและชีววิทยา

ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิต ได้แก่

1.  ต้องมีการสืบพันธุ์ (reproduction)

มีจุดเน้น 2 ข้อคือ

  • มีการถ่ายทอดลักษณะของสิ่งมีชีวิต หรือสารพันธุกรรม
  • มีการเพิ่มจำนวนลูกหลาน

     1.1 ไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction)
           ไม่มีการผสมกันของเซลล์สืบพันธุ์ เช่น การแตกหน่อของแหน จุดเน้น คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรม

     1.2  อาศัยเพศ (sexual reproduction)
            การสร้างหน่วยชีวิตใหม่จากเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียมาผสมกัน จุดเน้น คือ มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มความหลากหลายของสารพันธุกรรม ซึ่งอาจจะเอื้อต่อการปรับตัวต่อธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป


2.  ต้องการสารอาหารและพลังงาน

       เพื่อการสลายสารและสังเคราะห์สารในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ กระบวนการเมแทบอลิซึม (metabolism) เป็นกระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์หรือร่างกาย มีเอนไซม์และพลังงานต่าง ๆ เกี่ยวข้องด้วย

     2.1  แคแทบอลิซึม (catabolism)
            การสลายโมเลกุลใหญ่ไปเล็ก จุดเน้น คือ
เกิดการคายพลังงานความร้อน เช่น การหายใจ การใช้พลังงานในการเคลื่อนไหว

     2.2  แอแนบอลิซึม (anabolism)
            การสร้างโมเลกุลเล็กไปใหญ่ จุดเน้น คือ  
เกิดจากการดูดพลังงานไปสะสม เช่น การเจริญเติบโตของพืชเกิดจากการสังเคราะห์ด้วยแสง การเจริญเติบโตของสัตว์สังเคราะห์โปรตีน และกรดอะมิโน


3. มีการเจริญเติบโต มีอายุและขนาดจำกัด

3.1  การเจริญเติบโต (growth)

  • สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว – ดูจากการเพิ่มขนาดของเซลล์ (cell sizes)
  • สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ – การขยายขนาดให้ใหญ่โตขึ้นจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ และขนาดของเซลล์

3.2  การเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell multiplication)

  • สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว – เซลล์ที่เพิ่มขึ้นจะมีลักษณะคล้ายกับเซลล์ต้นแบบ ที่เกิดจากการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่น อะมีบา หากเป็นการแตกหน่อ (budding) เซลล์ต้นแบบจะมีขนาดใหญ่กว่า เช่น การแตกหน่อของยีสต์
  • สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ – เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์จากการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส จาก 1>2>4>8

3.3  การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เพื่อไปทำหน้าที่ต่างๆ (cell differentiation)

  • สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว – สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีการสร้างเซลล์ที่ทนทางต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น การเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นสปอร์ของแบคทีเรียบางชนิด
  • สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ – เมื่อเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียมารวมกันจนได้เป็นไซโกต แล้วมีการเพิ่มและแบ่งจำนวนเซลล์มากขึ้น กลุ่มของเซลล์จะถูกชักนำให้มีการเปลี่ยนสภาพ และพัฒนาให้เหมาะสมกับการทำหน้าที่เฉพาะ เช่น เซลล์ตับ เซลล์ตา เซลล์หัวใจ 
    เนื้อเยื่อหลายชนิดมารวมกันเป็นอวัยวะ (organ) ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะอย่าง เช่น ตาทำหน้าที่ในการมองเห็น แล้วอวัยวะต่างๆจึงทำงานร่วมกันเป็นระบบ (organ system) เรียกว่าระบบอวัยวะ ซึ่งทำหน้าที่ร่วมกันเพื่อแสดงออกถึงคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิต

3.4 การเกิดรูปร่างที่แน่นอน (morphogenesis)
      คือ การปรับเปลี่ยนรูปร่างของสิ่งมีชีวิตด้วยการเพิ่มจำนวนของเซลล์และการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ ลักษณะที่แท้จริงของสิ่งมีชีวิต จะปรากฏขึ้นเมื่อการเกิดรูปร่างที่แน่นอนจบลง โดยลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตถูกควบคุมโดยลักษณะทางพันธุกรรม และ อายุขัย (life span) 
ซึ่งสิ่งมีชีวิตมีวงจรชีวิต ตั้งแต่การเกิด เจริญเติบโต เสื่อมสภาพ จนถึงกระทั่งตายไป สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีอายุขัยแตกต่างกันไป  


4.  มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

      ในสภาวะแวดล้อม มีสิ่งเร้า (stimuli) ทั้งจากทางกายภาพและทางเคมี ซึ่งสิ่งมีชีวิตจะมีปฏิกิริยาและการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น ๆได้ เช่น เราจะดึงมือออกจากของร้อนโดยอัตโนมัติ สิ่งเร้าคือของร้อน เป็นต้น


5.  มีการรักษาดุลยภาพ (homeostasis) 

     ภาวะดำรงดุลย์ หรือที่เข้าใจง่ายๆ คือ ภาวะที่การทำงานของเซลล์ภายในร่างกายมีความสมดุลเหมาะสมต่อการดำรงชีวิต ทำให้เซลล์สามารถทำงานได้อย่างปกติ ได้แก่

  • ระดับน้ำในร่างกายและเซลล์
  • ความเป็นกรด - เบส
  • แร่ธาตุ
  • อุณหภูมิ
  • ระดับน้ำตาลในเลือด
  • การถ่ายทอดประจุ

6.  มีลักษณะจำเพาะ

     สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดต่างมีลักษณะที่จำเพาะแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางกายภาพ เช่น สัตว์ปีก จะมีเส้นขนที่เป็นลักษณะจำเพาะ และลักษณะทางชีวภาพ เช่น การสังเคราะห์โปรตีน เป็นต้น



7.  มีการจัดการระบบทั้งทางเคมีและทางชีวภาพ

     สิ่งมีชีวิตจะมีการจัดระบบโดยเริ่มตั้งแต่หน่วยที่เล็กที่สุด คือ อะตอม > โมเลกุล (molecule) > โมเลกุลขนาดใหญ่ > เซลล์ > เนื้อเยื่อ (Tissue) > อวัยวะ (Organ) > ระบบอวัยวะ > สิ่งมีชีวิต > ประชากร > สังคม > ระบบนิเวศ > ชั้น Biosphere  ดังภาพ

                                     https://en.wikipedia.org/wiki/Biological_organisation

อ้างอิง https://en.wikipedia.org/wiki/Biological_organisation 

      เพื่อการอยู่รอดทำให้เกิดการปรับตัวในด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น หมีที่อยู่ขั้วโลกจะมีขนปกคลุมที่หนา เพื่อสร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย เมื่อระยะเวลาผ่านไป ก็จะเป็นการเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต เรียกว่า การปรับตัวและวิวัฒนาการ (adaptation and evolution)


8. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ (interaction)

    การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เป็นการรับหรือถ่ายทอดพลังงานในสิ่งมีชีวิต เช่น การกินอาหารต่อกันเป็นทอดๆ หรือที่เรียกว่าห่วงโซ่อาหาร ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตจะมีหลายรูปแบบ เช่น การอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัย (symbiosis) และการเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตอื่น (parasitism) โดยแย่งทรัพยากร

ทีมผู้จัดทำ