การแต่งคำประพันธ์ร้อยกรอง
ร้อยกรอง คือ คำประพันธ์ที่มีข้อบังคับทางฉันทลักษณ์ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะร้อยกรองที่ต้องศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ โคลงสี่สุภาพ ร่ายสุภาพ และฉันท์
๑. โคลงสี่สุภาพ
ข้อบังคับในการแต่งโคลงสี่สุภาพ
แผนผังโคลงสี่สุภาพ

ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่ใช้คำเอก-คำโท
ครบทุกตำแหน่ง
๒. ร่ายสุภาพ
ข้อบังคับในการแต่งร่ายสุภาพ
- ๑ บท มีไม่ต่ำกว่า ๕ วรรค วรรคละ ๕ คำ
- ๓ วรรคสุดท้ายจบด้วยโคลงสองสุภาพ (ทำให้วรรคสุดท้ายของร่ายสุภาพมี ๔ คำ และมีคำสร้อยได้อีก ๒ คำ)
- คําสุดท้ายของแต่ละวรรค จะสัมผัสกับคําที่ ๑ ๒ หรือ ๓ ในวรรคต่อไป
- วรรคก่อนเข้าโคลงสองสุภาพ จะสัมผัสกับคําที่ ๑ ๒ หรือ ๓ ในวรรคแรกของโคลงสองสุภาพ
- สัมผัสของโคลงสองสุภาพในร่ายสุภาพ เหมือนกับโคลงสองสุภาพทั่วไป
แผนผังร่ายสุภาพ

ตัวอย่างร่ายสุภาพ

๓. ฉันท์
ในที่นี้จะกล่าวถึงฉันท์เพียง ๒ ชนิด ได้แก่ อินทรวิเชียรฉันท์ และวสันตดิลกฉันท์
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ข้อบังคับในการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์
- ๑ บท มี ๒ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค คือ “วรรคหน้า” กับ “วรรคหลัง”
- วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ คล้ายกาพย์ยานี ๑๑
- บังคับ คำครุ ๑๔ ตำแหน่ง และคำลหุ ๘ ตำแหน่ง (ดูตำแหน่งในแผนผัง)
คำครุ ( ั ) คือ
๑) พยางค์ที่มีตัวสะกด
๒) พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวและไม่มีตัวสะกดคำลหุ ( ุ ) คือ
๑) พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกด
๒) “ก็”, “บ”, “บ่” ถือเป็นคำลหุ
- พยางค์สุดท้ายของวรรคหน้าในบาทที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ ของวรรคหลังในบาทเดียวกัน
- พยางค์สุดท้ายของวรรคหลังในบาทที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคหน้าในบาทที่ ๒
- พยางค์สุดท้ายของวรรคหลังในบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังพยางค์สุดท้ายของวรรคหลังในบาทที่ ๑ ของบทต่อไป
แผนผังอินทรวิเชียรฉันท์

ตัวอย่างอินทรวิเชียรฉันท์

วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
ข้อบังคับในการแต่งวสันตดิลกฉันท์
- ๑ บท มี ๒ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค คือ “วรรคหน้า” กับ “วรรคหลัง” วรรคหน้ามี ๘ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ
- บังคับ คำครุ ๑๔ ตำแหน่ง และคำลหุ ๑๔ ตำแหน่ง (ดูตำแหน่งในแผนผัง)
- พยางค์สุดท้ายของวรรคหน้าในบาทที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ ของวรรคหลังในบาทเดียวกัน (เหมือนอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑)
- พยางค์สุดท้ายของวรรคหลังในบาทที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคหน้าในบาทที่ ๒ (เหมือนอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑)
- พยางค์สุดท้ายของวรรคหลังในบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังพยางค์สุดท้ายของวรรคหลังในบาทที่ ๑ ของบทต่อไป (เหมือนอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑)
แผนผังวสันตดิลกฉันท์

ตัวอย่างวสันตดิลกฉันท์
