พยางค์และคำ
ความหมายของคำ
คำพ้อง
การสร้างคำในภาษาไทย
ชนิดของคำในภาษาไทย
ประโยค
คำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
ระดับของภาษา
คำราชาศัพท์

เสียงในภาษาไทย

ยอดวิว 95.1k

แบบฝึกหัด

EASY

แบบฝึกหัดเสียงในภาษาไทย (ชุดที่ ๑)

MEDIUM

แบบฝึกหัดเสียงในภาษาไทย (ชุดที่ ๒)

HARD

แบบฝึกหัดเสียงในภาษาไทย (ชุดที่ ๓)

เนื้อหา

เสียงในภาษาไทย


เสียงในภาษาไทย
หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกลุ่มมนุษย์ที่ใช้ภาษานั้น ๆ ด้วยกัน มี ๓ ชนิด คือ เสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ ดังต่อไปนี้


๑. เสียงสระ หรือ เสียงแท้

     คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากเส้นเสียงโดยตรง ซึ่งลมที่ออกมาในระหว่างการเปล่งเสียงนั้นจะกระทบกับเส้นเสียงทำให้สั่นจนเกิดเป็นเสียงก้อง และลมจะไม่ถูกสกัดกั้นด้วยฐานใด ๆ ในปาก แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปปากและระดับของลิ้น

     มีทั้งหมด ๒๑ รูป ๒๑ เสียง ซึ่งเสียงสระแบ่งได้ ๓ ประเภท คือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน ดังต่อไปนี้

๑.๑ สระเดี่ยว รือ สระแท้

      คือ สระที่ออกเสียงโดยอวัยวะในช่องปากตำแหน่งเดียวตลอดเสียง แบ่งเป็น สระเสียงสั้น (รัสสระ) และ สระเสียงยาว (ทีฆสระ) มีเสียงคู่กันจำนวน ๙ คู่ รวมทั้งหมด ๑๘ เสียง ดังตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงสระเดี่ยว

๑.๒ สระประสม หรือ สระเลื่อน

    คือ สระที่ออกเสียงโดยอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงมีการเปลี่ยนแปลงจากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่ง 

     ในปัจจุบัน* แบ่งออกเป็น ๓ เสียง ดังตารางต่อไปนี้

ตารางเสียงสระประสม

*เพิ่มเติมในอดีตนักเรียนมักจะชินกับสระประสมที่มี ๖ เสียง นั่นคือเพิ่มสระประสมเสียงสั้น สระเอียะ (อิ+อะ) สระเอือะ (อึ+อะ) และสระอัวะ (อุ+อะ) 
              แต่เนื่องจากคำที่ประสมด้วยสระประสมเสียงสั้นเหล่านี้ มีใช้น้อยในภาษาไทย นักภาษาศาสตร์จึงไม่นับสระประสมเสียงสั้น ๓ ข้างต้นว่าเป็นเสียงสระ เหลือเพียงแต่สระประสมเสียงยาวเพียง ๓ เสียงเท่านั้น


ท่องจำอย่างง่ายว่า "เสือ กลัว เมีย" หรือ "เมีย เบื่อ ผัว"

๑.๓ สระเกิน

     คือ เสียงสระที่มีเสียงซ้ำกับเสียงสระแท้ และมีเสียงพยัญชนะผสมอยู่ด้วย มี ๘ เสียง* ดังต่อไปนี้   

*เพิ่มเติม ปัจจุบันนักภาษาศาสตร์ ไม่นับว่าสระเกินเป็นเสียงสระ เพราะมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ ได้แก่ ม ย ว ร ล"


ท่องจำอย่างง่ายว่า “จำ ใจ ไป เมา รึ รื ลึ ลื”


รูปสระในภาษาไทย มี ๒๑ รูป ดังนี้ 

          สระต่าง ๆ เกิดจากการประกอบกันของรูปสระ ดังตารางต่อไปนี้

ตัวอย่างเช่น

       สระโอะ เกิดจากการประกอบกันของรูปสระ ๒ รูป คือ ไม้โอ ( โ ) และวิสรรชนีย์ ( ะ )
       สระเอือ เกิดจากการประกอบกันของรูปสระ ๔ รูป คือ ลากข้าง ( เ ) พินทุ์อิ (  ิ) ฟันหนู ( " ) และตัวออ (อ)               

๒. เสียงพยัญชนะ หรือ เสียงแปร

      คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วลมถูกสกัดกั้นด้วยฐานอวัยวะต่าง ๆ ในปาก จนเกิดเป็นเสียงก้องและไม่ก้อง มีทั้งหมด ๔๔ รูป ๒๑ เสียง ดังตารางต่อไปนี้

เพิ่มเติม: สาเหตุที่เสียงพยัญชนะมีน้อยว่ารูปพยัญชนะ เพราะมีเสียงพยัญชนะที่ซ้ำกัน ดังแสดงในตารางข้างต้น

       โดยเสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปรนั้น แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ พยัญชนะต้นเดี่ยว พยัญชนะควบกล้ำ และพยัญชนะท้าย ดังต่อไปนี้

๒.๑ เสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว

       คือ เสียงพยัญชนะต้นที่มีเพียงเสียงเดียว โดยเสียงพยัญชนะทั้ง ๒๑ เสียงดังที่ปรากฏตามตารางก่อนหน้า สามารถเป็นพยัญชนะต้นได้ทุกเสียง

ตัวอย่างเช่น

      คำว่า ป่า ไป ป้อน ปู่ มีเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว คือ เสียง ป
      คำว่า ท่าน ทน ทิ้ง ทาน มีเสียงพยัญชนะต้นเดี่ยว คือ เสียง ท

๒.๒ เสียงพยัญชนะควบกล้ำ

       คือ เสียงพยัญชนะที่ออกเสียง ๒ เสียงติดต่อกันโดยไม่มีเสียงสระมาคั่นกลาง มีทั้งหมด ๑๑ คู่ ดังตารางต่อไปนี้

ตารางแสดงเสียงพยัญชนะควบกล้ำ

ตัวอย่างเช่น

     คำว่า ปลอก ปลูก เปลี่ยน มีเสียงพยัญชนะควบกล้ำ คือ เสียง ปล

.๓ เสียงพยัญชนะท้าย หรือ เสียงตัวสะกด

       คือ เสียงพยัญชนะที่ปรากฏตามหลังสระในแต่ละพยางค์ โดยมี ๙ เสียง หรือ ๙ มาตรา ดังต่อไปนี้

ตารางแสดงเสียงพยัญชนะท้าย

เพิ่มเติม: เสียงพยัญชนะท้ายทั้ง ๙ เสียง คือ เสียงตัวสะกดทั้ง ๙ มาตรา โดยในตารางลำดับที่ ๙ คือ มาตราแม่ ก กา

ตัวอย่างเช่น

      คำว่า กราฟ บาป ลาภ มีเสียงพยัญชนะท้าย คือ เสียง ป 


เกร็ดความรู้

รูปพยัญชนะที่ไม่สามารถเป็นตัวสะกดได้ มีทั้งหมด ๗ ตัว ได้แก่ ผ ฝ ฌ อ ห ฉ ฮ (ผีฝากเฌอเอมให้ฉันฮะ) และไม่จัดลงในเสียงตัวสะกด ๘ มาตรา

๓. เสียงวรรณยุกต์ หรือ เสียงดนตรี

     คือ ระดับเสียงสูงและต่ำในภาษาไทยและส่งผลให้ความหมายของคำแตกต่างกันไป มีทั้งหมด ๔ รูป ๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ (ไม่มีรูป) เสียงเอก (  ่ ) เสียงโท (  ้  ) เสียงตรี (  ๊ ) เสียงจัตวา (  ๋ )

      โดยจะแบ่งเสียงวรรณยุกต์ได้เป็น ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้

๓.๑ เสียงวรรณยุกต์ระดับ

      คือ เสียงวรรณยุกต์ที่คงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระดับของเสียง ได้แก่ เสียงสามัญ (ระดับกลาง) เสียงเอก (ระดับต่ำ) และเสียงตรี (ระดับสูง)

๓.๒ เสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ

      คือ เสียงวรรณยุกต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับของเสียง ได้แก่ เสียงโท (เปลี่ยนระดับจากสูงมาต่ำ) และเสียงจัตวา (เปลี่ยนระดับจากต่ำขึ้นไปสูง)

       สามารถแสดงระดับเสียงวรรณยุกต์ตามกราฟ ดังต่อไปนี้

ระดับเสียงของวรรณยุกต์

ตัวอย่างเช่น

คำว่า น้ำ ช้าง ร้าน เป็นคำที่มี รูปวรรณยุกต์โท ( ้ ) เสียงวรรณยุกต์ตรี
คำว่า ขา ถุง เสือ เป็นคำที่มี รูปวรรณยุกต์สามัญ (ไม่มีรูป) เสียงวรรณยุกต์จัตวา

ทีมผู้จัดทำ