รีดอกซ์-เซลล์ไฟฟ้าเคมี
ปฏิกิริยารีดอกซ์และเลขออกซิเดชัน
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
การเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชันของปฏิกิริยารีดอกซ์
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

ปฏิกิริยารีดอกซ์และเลขออกซิเดชัน

ยอดวิว 58.7k

แบบฝึกหัด

EASY

ปฏิกิริยารีดอกซ์และเลขออกซิเดชัน

MEDIUM

ปฏิกิริยารีดอกซ์และเลขออกซิเดชัน

HARD

ปฏิกิริยารีดอกซ์และเลขออกซิเดชัน

เนื้อหา

ปฏิกิริยารีดอกซ์และเลขออกซิเดชัน

สิ่งที่ต้องการให้เรียนรู้

1) เข้าใจความหมายของไฟฟ้าเคมี เข้าใจและสามารถระบุได้ว่าปฏิกิริยาใดเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์

2) สามารถแยกปฏิกิริยารีดอกซ์ ออกเป็น ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน และครึ่งปฏิกิริยารีดักชันได้

3) สามารถระบุได้ว่า สารใดเป็นตัวรีดิวซ์ และตัวออกซิไดซ์ของปฏิกิริยา

4) สามารถเปรียบเทียบความแรงของตัวรีดิวซ์และตัวออกซิไดซ์ได้ และทำนายปฏิกิริยาที่ควรเกิดขึ้นได้เมื่อทราบความแรงของการเป็นตัวรีดิวซ์และตัวออกซิไดซ์

 ไฟฟ้าเคมีและปฏิกิริยารีดอกซ์ คืออะไร

ไฟฟ้าเคมี (Electrochemistry) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานไฟฟ้ากับปฏิกิริยาเคมี เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า และการใช้กระแสไฟฟ้าเข้าไปทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี 

การที่จะเกิดกระแสไฟฟ้าได้ แสดงว่าต้องมีการถ่ายโอนอิเล็กตรอนเกิดขึ้น

ปฏิกิริยาเคมีที่มีการถ่ายโอนอิเล็กตรอนเกิดขึ้น เรียกว่า ปฏิกิริยารีดอกซ์ (redox reaction)

ทราบว่าอย่างไรว่าเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์

เราสามารถทราบว่าเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์หรือไม่  โดยพิจารณาจาก การเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชันของสารในสมการที่เกี่ยวข้อง  

เช่น

ปฏิกิริยาระหว่างสังกะสี (Zn) กับสารละลายทองแดง (Cu2+)
Zn(s)  +  Cu2+(aq)  ----->  Zn2+(aq)  +  Cu (s)  

เราพบว่า เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์ เนื่องจากสังกะสีมีการเพิ่มเลขออกซิเดชัน จาก 0 (ใน Zn) เป็น +2 (ใน Zn2+) แสดงว่า Zn เสียอิเล็กตรอน ขณะที่ไอออนทองแดงมีการลดเลขออกซิเดชัน จาก +2 (ใน Cu2+) เป็น 0 (ใน Cu)  แสดงว่า มีการรับอิเล็กตรอน   

ครึ่งปฏิกิริยา ในปฏิกิริยารีดอกซ์

เราสามารถแยกส่วนในปฏิกิริยารีดอกซ์ออกเป็น 2 ปฏิกิริยาย่อย และเรียกแต่ละส่วนว่า ครึ่งปฏิกิริยา (half-cell reaction)  ได้เป็น   

  • ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation half) เป็นส่วนที่มีการให้อิเล็กตรอน 
  • ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน (reduction half) เป็นส่วนที่มีการรับอิเล็กตรอน

ในปฏิกิริยาระหว่าง Zn กับ Cu2+ 

  • ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน คือ Zn(s)  ----->  Zn2+(aq)   + 2e-  เพราะ มีการเสียอิเล็กตรอนโดย Zn 
  • ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน คือ   Cu2+(aq)  + 2e-  ----->  Cu (s)    เพราะ มีการรับอิเล็กตรอนโดย Cu2+  

ตัวรีดิวซ์ (ตัวถูกออกซิไดซ์) และ ตัวออกซิไดซ์ (ตัวถูกรีดิวซ์)

เรานิยาม สารที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอน เรียกว่า ตัวรีดิวซ์ (reducing agent)  และ สารที่เป็นตัวรับ (หรือดึง)อิเล็กตรอนจากสารอื่น เรียกว่า ตัวออกซิไดซ์ (oxidizing agent)

ในปฏิกิริยาระหว่าง Zn กับ Cu2+   Zn จึงเป็นตัวรีดิวซ์ เพราะเป็นตัวเสียอิเล็กตรอน และ Cu2+ เป็นตัวออกซิไดซ์เพราะเป็นตัวรับอิเล็กตรอน

เนื่องจากปฏิกิริยารีดอกซ์ ต้องเกิดทั้งส่วนที่ให้และรับอิเล็กตรอนพร้อมกัน เมื่อ Zn เสียอิเล็กตรอนก็ต้องมี Cu2+ มารับอิเล็กตรอน ซึ่งอาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า Zn ถูกทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันโดย Cu2+   ดังนั้น Zn ซึ่งเป็นตัวรีดิวซ์ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ตัวถูกออกซิไดซ์ (oxidized agent)  และในทำนองเดียวกัน Cu2+ ซึ่งเป็นตัวออกซิไดซ์ ก็มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ตัวถูกรีดิวซ์ (reduced agent) 

ดังนั้น สรุปได้ว่า

  • ครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน เป็นส่วนที่ให้อิเล็กตรอน มีตัวถูกออกซิไดซ์ หรือ ตัวรีดิวซ์ เป็นตัวให้อิเล็กตรอน  
  • ครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน เป็นส่วนที่รับอิเล็กตรอน มีตัวถูกรีดิวซ์ หรือ ตัวออกซิไดซ์ เป็นตัวรับอิเล็กตรอน


ตัวอย่าง 2  ปฏิกิริยาระหว่างสังกะสี (Zn) กับกรด (H+)

Zn (s) + 2H+ ----> Zn2+(aq) + H2 (g)  

พบว่า สังกะสี เพิ่มเลขออกซิเดชัน จาก 0 (ใน Zn) เป็น +2 (ใน Zn2+)  à  ดังนั้น Zn/Zn2+ เป็นครึ่งออกซิเดชัน

และ ไฮโดรเจน ลดเลขออกซิเดชัน จาก +1 (ใน H+) เป็น 0 (ใน H2)  à  ดังนั้น  H+/H2  เป็นครึ่งออกซิเดชัน

เขียน แยกครึ่งปฏิกิริยา ได้ ดังนี้

  • ครึ่งออกซิเดชัน คือ Zn (s) ----> Zn2+(aq) + 2e-   
  • ครึ่งรีดักชัน คือ 2H+  + 2e-  ----> H2 (g)

ในครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน มี Zn เป็นตัวให้อิเล็กตรอน  ดังนั้น Zn เป็นตัวรีดิวซ์ (หรือตัวถูกออกซิไดซ์) โดยมี Zn2+ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากครึ่งปฏิกิริยาออกซิเดชัน 

ส่วนในครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน มี H+ เป็นตัวรับอิเล็กตรอน  ดังนั้น H+ ตัวออกซิไดซ์ (หรือ ตัวถูกตัวรีดิวซ์) โดยมี H2(g) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากครึ่งปฏิกิริยารีดักชัน

การสังเกตผลการทดลอง เพื่อทดสอบว่าเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์หรือไม่

ทำได้โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสารที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชันของสาร เช่น เมื่อโลหะถูกออกซิไดซ์ โลหะจะถูกกัดกร่อนกลายเป็นไอออนของโลหะ ซึ่งสามารถละลายในน้ำได้ และสารละลายของไอออนของโลหะส่วนใหญ่ โดยเฉพาะธาตุในกลุ่มโลหะทรานซิชันจะมีสีเฉพาะตัว ทำให้บอกได้มีเลขออกซิเดชันและการเปลี่ยนแปลงสีอาจจะทำให้ทราบการเปลี่ยนแปลงเลขออกซิเดชันได้ด้วย ส่วนสารละลายของไอออนเมื่อรับอิเล็กตรอนแล้วจะกลายเป็นโลหะ ซึ่งจะตกตะกอนออกมาจากสารละลาย ทำให้ทราบว่าเกิดปฏิกิริยารีดักชันแล้ว

ตัวอย่าง ปฏิกิริยาระหว่างสังกะสี (Zn) กับ Cu2+ จะสังเกตเห็นสารละลายของ Cu2+ ที่เป็นสีฟ้าใส  หลังจุ่มแผ่นสังกะสีลงในสารละลาย จะทำให้สีฟ้าของ Cu2+ จางลงและพบมีของแข็งสีน้ำตาล (โลหะ Cu) มาเกาะบนแผ่น สังกะสีขณะเดียวกันจะพบว่า แผ่นสังกะสีเกิดการสึกกร่อนและบางลง เนื่องจาก Zn กลายเป็น Zn2+ ไอออน

เปรียบเทียบความแรงของตัวออกซิไดซ์ (และตัวรีดิวซ์) และการทำนายการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์

จากการที่เราจุ่มแผ่นโลหะ Zn ลงในสารละลาย Cu2+ แล้วพบว่าเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ แสดงว่า Cu2+ รับอิเล็กตรอนจาก Zn ได้ 

แต่เมื่อทดลองสลับกันโดยนำแผ่นทองแดง (Cu) ไปจุ่มลงในสารละลาย Zn2+ แล้วพบว่าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Zn2+ ไม่สามารถดึงอิเล็กตรอนจากโลหะ Cu ได้ 

และเมื่อทดลองเพิ่มโดยนำแผ่นทองแดงไปจุ่มในสารละลายของเงิน (Ag+) พบว่า ทองแดงเกิดการสึกกร่อนและสารละลายเปลี่ยนเป็นสีฟ้าของ Cu2+ และเกิดโลหะเงินขึ้น แสดงว่า Ag+ ดึงอิเล็กตรอนจาก Cu ได้ 

ดังนั้น สรุปได้ว่า

ความสามารถในการดึงอิเล็กตรอน หรือ ความแรงของการเป็นตัวออกซิไดซ์ ของ Ag+  >  Cu2+  > Zn2+

และในทางกลับกัน แสดงว่า Zn ได้ง่ายที่สุด

ดังนั้น ความแรงของการเป็นตัวรีดิวซ์ของ Zn  >  Cu  > Ag

ซึ่งข้อมูลข้างต้น ทำให้เราสามารถทำนายปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องได้ เช่น ถ้าจุ่มแผ่นสังกะสีลงในสารละลาย Ag+ เกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ได้ เนื่องจาก Ag+ สามารถดึงอิเล็กตรอนได้ดีกว่า Cu2+ ดังนั้น ต้องดึงอิเล็กตรอนจาก Zn ได้แน่

และทำให้สามารถอนุมานได้ว่า หากจุ่มแผ่นโลหะเงินลงในสารละลาย Cu2+ หรือ Zn2+ จะไม่เกิดปฏิกิริยาเนื่องจากทั้ง Cu2+ และ Zn2+ เป็นตัวออกซิไดซ์ที่อ่อนกว่า Ag+ จึงไม่สามารถดึงอิเล็กตรอนจาก Ag ได้