เคมีจลนศาสตร์
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ทิศทางการชนกันของอนุภาคและพลังงานที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ทดลองและอธิบายผลของตัวแปรที่มีต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
เปรียบเทียบอัตราการเกิดปฏิกิริยาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตัวแปรต่างๆ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อธิบายปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันหรืออุตสาหกรรม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

อธิบายปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันหรืออุตสาหกรรม

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

อธิบายปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันหรืออุตสาหกรรม

MEDIUM

อธิบายปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันหรืออุตสาหกรรม

HARD

อธิบายปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันหรืออุตสาหกรรม

เนื้อหา

อธิบายปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันหรืออุตสาหกรรม

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี แม้ว่าสมการเคมีสามารถบอกความสัมพันธ์ของปริมาณของสารที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาหนึ่งๆ ได้ สามารถบอกได้ว่าต้องใช้สารตั้งต้นแต่ละสารเป็นปริมาณเท่าใด และจากปริมาณของสารตั้งต้นต่างๆ นั้น จะทำให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ได้ปริมาณเท่าใด

แต่ในภาคอุตสาหกรรมซึ่งต้องการการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ทั้งยังต้องการทราบอัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยาด้วยเพื่อเป็นข้อมูลในการประกอบกิจการ

ซึ่งอัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นกับปัจจัยต่างๆ คือ ความเข้มข้นของสารตั้งต้น อุณหภูมิของกระบวนการปฏิกิริยา ปริมาณพื้นที่ผิวสัมผัสของสารตั้งต้น และตัวเร่งปฏิกิริยา ปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่อุตสาหกรรมต่างๆ ใช้ในการควบคุมสภาวะของปฏิกิริยาเพื่อได้ผลผลิตตามต้องการ

ดังเช่น

ตัวเร่งปฏิกิริยา เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิต ปกติเอนไซม์สามารถเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยาได้มากถึง 1017 เท่าของอัตราเร็วของปฏิกิริยาที่ไม่ได้เติมตัวเร่งปฏิกิริยา โดยทั่วไปเอนไซม์จะไม่สามารถทำงานได้หากอุณหภูมิสูงเกิน 37°C และเอนไซม์มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงสำหรับปฏิกิริยาหนึ่งๆ เท่านั้น

เอนไซม์ได้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมด้วย เช่น

  • อุตสาหกรรมทำความสะอาดผ้า
  • อุตสาหกรรมน้ำยาทำความสะอาดคอนแทกท์เลนซ์
  • อุตสาหกรรมการทำให้เนื้อนุ่ม

ตัวอย่างเช่น

เอนไซม์โปติเอส (protease) สามารถตัดพันธะเอไมด์ที่ยึดกรดอะมิโนของสายโปรตีนออกให้มีขนาดสั้นลง จึงทำเนื้อให้นุ่มขึ้น ลดความเหนี่ยวลง ปกติจะใช้เอนไซม์โปติเอส ที่ชื่อ ปาเปน (papain) ที่สกัดได้จากต้นมะละกอ ซึ่งปกติแม่ครัวมักใช้มะละกอฝานเป็นชิ้นแล้วหมักผสมกับเนื้อที่เหนียว เพื่อให้เนื้อนุ่มขึ้น

ในอุตสาหกรรมการผลิตตัวทำละลายกรดซัลฟิวริก โดยเริ่มปฏิกิริยาจากการเติมออกซิเจน (ปฏิกิริยาออกซิเดชัน) ให้กับแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์เพื่อให้เกิดเป็นแก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ ดังสมการ (1) ก่อนที่จะละลายแก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์กับน้ำเพื่อผลิตกรดซัลฟิวริก ดังสมการ (2) แต่ปฏิกิริยาออกซิเดชันของแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่มีแก๊สไนโตรเจนมอนอกไซด์ร่วมอยู่ด้วย จะช่วยให้อัตราการเกิดแก๊สซัลเฟอร์ไตรออกไซด์อย่างรวดเร็วขึ้นมาก ดังสมการ (3) และ (4)

ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การผลิต  มาการีนจากน้ำมันพืช

ปฏิกิริยาการเติมไฮโดรเจน (ปฏิกิริยาไฮโดรจิเนชัน) ถูกใช้อย่างมากมาย เช่น การเติมไฮโดรเจนให้กับสารประกอบเอทีน ดังสมการ (5)

ปฏิกิริยานี้เกิดได้ช้ามาก แต่หากปฏิกิริยาถูกเติมตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น ผงนิเกิล พาลาเดียม หรือ แพทตินัม ปฏิกิริยานี้จะเกิดได้อย่างรวดเร็วแม้ว่าที่อุณหภูมิห้อง

ในอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ย อุตสาหกรรมดอกไม้ไฟ อุตสาหกรรมวัตถุระเบิด แอมโมเนียนับเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญ นักเคมีสังเคราะห์แอมโมเนียจากปฏิกิริยาระหว่างไนโตรเจนและไฮโดรเจน ดังสมการ (6)

ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาคายความร้อน เกิดได้ช้ามากที่อุณหภูมิห้อง และให้ผลผลิตน้อย การเพิ่มอุณหภูมิสามารถให้ผลได้ร้อยละมากขึ้น แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นแอมโมเนียก็เกิดการสลายตัวกลับเป็นไนโตรเจน และไฮโดรเจน ทำให้ลดผลผลิตที่ได้

ในปี ค.ศ. Fritz Haber ได้เสนอการใช้กระบวนการ Haber โดยการทำปฏิกิริยาที่มีการเติมตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นออกไซด์ของโพแทสเซียม หรือ อะลูมิเนียม และทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิประมาณ 300°C โดยทำให้แก๊สไนโตรเจน และ แก๊สไฮโดรเจนสลายตัวกลายเป็นอะตอม และยึดติดบนผิวของตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งจะกลายเป็นอนุภาคที่ว่องไวต่อปฏิกิริยา จากนั้นอะตอมเหล่านี้จะเข้าร่วมตัวกันสร้างพันธะอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิสูงกลายเป็นแก๊สแอมโมเนีย ดังสมการ (7)

begin mathsize 14px style space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space space bold space N subscript bold 2 bold open parentheses italic g bold close parentheses bold space bold plus bold space bold 3 H subscript bold 2 bold open parentheses italic g bold close parentheses bold space bold yields N H subscript bold 3 bold open parentheses italic g bold close parentheses bold space bold space bold space bold space bold left parenthesis bold 7 bold right parenthesis end style

ในอุตสาหกรรมการผลิตตัวทำละลายกรดไนตริก กรดไนตริกถูกใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ย สีย้อม ยา และวัตถุระเบิด กระบวนการผลิตกรดไนตริกที่สำคัญคือ กระบวนการ Ostwald เริ่มปฏิกิริยาจากการทำปฏิกิริยาของแก๊สแอมโมเนียกับแก๊สออกซิเจน ที่อุณหภูมิประมาณ 800°C โดยมี แพทตินัม-โรเดียม เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังสมการ (8) หลังจากนั้น NO จะถูกออกซิไดซ์กลายเป็น NO2 และขั้นตอนสุดท้าย NO2 จะถูกละลายในน้ำได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดไนตริก และกรดไนตรัส ดังสมการ (10) เมื่อเผากรดไนตรัสจะเปลี่ยนเป็นกรดไนตริก ดังสมการ (11)

แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในรถยนต์เพื่อเปลี่ยนแก๊สมลพิษที่ได้จากการเผาไหม้ในห้องเครื่อง เช่น NO CO  และสารไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ชนิดต่างๆ

ให้เป็นแก๊สที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น N2 O2 CO2 และ H2O โดยผ่านแก๊สที่ได้จากการเผาไหม้ในห้องเครื่องไปยังห้องแรกของแคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ เพื่อเร่งให้เกิดการเผาไหม้สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่สมบูรณ์ ลดปริมาณแก๊ส CO หลังจากนั้นแก๊สที่ได้จะถูกส่งผ่านไปยังห้องที่สองของแคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ ที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาพวกโลหะแทรนซิชัน

หรือออกไซด์ของโลหะแทรนซิชัน เช่น CuO หรือ Cr2O3 เพื่อแตกพันธะของอนุภาค NO ให้กลายเป็น N2 และ O2 ที่อุณหภูมิต่ำ ก่อนปล่อยแก๊สจากการเผาไหม้เหล่านี้ออกสู่บรรยากาศ