
การเพิ่มความเข้มข้น และพื้นที่ผิวของสารตั้งต้น จะทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีจำนวนอนุภาค และพื้นที่ผิวในการทำปฏิกิริยามากขึ้น
การเพิ่มอุณหภูมิจะทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น เนื่องจากสารตั้งต้นมีพลังงานจลน์สูงขึ้น
สำหรับตัวเร่งปฏิกิริยาจะไปลดพลังงานก่อกัมมันต์ ทำให้จำนวนอนุภาคที่มีพลังงานมากกว่าพลังงานก่อกัมมันต์มีจำนวนมากขึ้น จึงทำให้เกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น
การคำนวณอัตราการเกิดปฏิกิริยา สามารถคำนวณหาได้จากอัตราส่วนระหว่างความเข้มข้นที่เปลี่ยนแปลงไปของสารในช่วงเวลาที่กำหนด
อัตราการทำปฏิกิริยาของสารละลายโบรมีนเท่ากันหรือไม่ อย่างไร
ตารางที่ 1 การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารละลายโบรมีน
วิธีทำ
ที่ช่วงเวลา 0-50 วินาที
อัตราการทำปฏิกิริยาของ Br2 =
ที่ช่วงเวลา 100-150 วินาที
อัตราการทำปฏิกิริยาของ Br2 =
แสดงว่าอัตราการทำปฏิกิริยาของ Br2 ไม่คงที่ พบว่าช่วงแรกที่มีความเข้มข้นของ Br2 มาก จะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วกว่าช่วงที่ความเข้มข้นของ Br2 น้อย โดยอัตราการเกิดปฏิกิริยาช่วงแรกเร็วกว่าอยู่ 1.2´10-5 โมลาร์/วินาที
อัตราเร็วเฉลี่ย จากช่วงเวลา 0-200 วินาที
อัตราการทำปฏิกิริยาของ Br2 =
ดังนั้นจะหาอัตราการเกิด Br- ได้จากสมการเคมีที่ดุลแล้ว ดังนี้
นั่นคือ
ดังนั้น อัตราการเกิดเฉลี่ยของ Br- = 2x3.05x10-5 = 6.10x10-5 โมลาร์/วินาที