เคมีจลนศาสตร์
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
100%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ทิศทางการชนกันของอนุภาคและพลังงานที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
น้อย
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
ทดลองและอธิบายผลของตัวแปรที่มีต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
67%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
เปรียบเทียบอัตราการเกิดปฏิกิริยาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตัวแปรต่างๆ
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
67%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
น้อย
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย
อธิบายปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวันหรืออุตสาหกรรม
PAT
ออกสอบ
น้อย
O-NET
ออกสอบ
33%
วิชาสามัญ
ออกสอบ
33%
A-LEVEL
ออกสอบ
น้อย

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

ยอดวิว 0

แบบฝึกหัด

EASY

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

MEDIUM

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

HARD

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

เนื้อหา

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารตั้งต้น (reactant) หรือผลิตภัณฑ์ (product) ต่อการเปลี่ยนแปลงเวลา ปฏิกิริยาต่างชนิดกันมักมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาไม่เท่ากัน

เช่น

ปฏิกิริยาที่มีอัตราการเกิดเร็ว หมายความว่า ความเข้มข้นของสารตั้งต้นลดลงอย่างรวดเร็ว ดังเช่น ปฏิกิริยาการระเบิด

ในทางตรงกันข้าม ถ้าปฏิกิริยามีอัตราการเกิดช้า จะหมายความว่า ความเข้มข้นของสารตั้งต้นมีการลดลงอย่างช้าๆ ใช้เวลานานในการเปลี่ยนแปลง เช่น ปฏิกิริยาการเกิดสนิมของรั้วบ้าน

ภาพแสดงการเกิดปฏิกิริยาเร็ว (C ® D) และปฏิกิริยาช้า (A ® B) พิจารณาได้ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 การเปรียบเทียบปฏิกิริยาที่มีอัตราการเกิดเร็วและปฏิกิริยาที่มีอัตราการเกิดช้า

เมื่อพิจารณากราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารทุกชนิดในปฏิกิริยาหนึ่ง ดังรูปที่ 2 จะพบว่า

ปฏิกิริยาเคมีนี้มีสารตั้งต้น A เพียงชนิดเดียว ที่สลายตัวเกิดเป็นสารผลิตภัณฑ์สองชนิด คือ B และ C ด้วยอัตราเร็วการเกิดขึ้นไม่เท่ากัน

ดังกราฟจะพบว่าสาร C เกิดได้เร็วกว่าสาร B ซึ่งสังเกตได้จากความชันของเส้นกราฟ หากเส้นกราฟของสารใดมีความชันมากซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นมาก แสดงว่าสารชนิดนั้นเกิดได้เร็ว

รูปที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารกับเวลา ที่อุณหภูมิห้อง

อัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย ของสารแต่ละชนิด ในช่วงเวลา 150 นาทีแรก ทำได้โดยหาการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารแต่ละชนิดในช่วงเวลา 150 นาที นี้ แล้วหารด้วยระยะเวลา

เช่น

อัตราการเปลี่ยนแปลง ณ ขณะใดขณะหนึ่ง เราสามารถหาได้เช่นเดียวกับการคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย แต่เราคิดที่ช่วงเวลาที่สั้นมากๆ จนกระทั่งเป็นเพียงจุดของเวลาเท่านั้น

การคำนวณจึงทำโดยการลากเส้นสัมผัส ณ จุดเวลานั้น เช่น ที่เวลา 150 นาที แล้วสร้างรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก หาการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้น และการเปลี่ยนแปลงเวลา แล้วคำนวณหาอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสาร เช่นเดียวกับการคำนวณอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ย

เช่น

การหาอัตราการเปลี่ยนแปลงของสาร C ณ นาทีที่ 150 แสดงได้ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 การหาอัตราการเกิด C ณ นาทีที่ 150

จากรูปที่ 3 และการแสดงการคำนวณหาการเปลี่ยนแปลงปริมาณของทุกสารข้างต้น

แสดงว่า สารทุกชนิดเกิดการเปลี่ยนแปลงปริมาณด้วยอัตราเร็วที่ไม่คงที่ โดยช่วงเวลาแรกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงช้าลง        

เราสามารถเปรียบเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารในปฏิกิริยาหนึ่งๆ ได้จากสมการเคมีที่สมดุลแล้ว ดังเช่นปฏิกิริยาการสลายตัวของแก๊สไดไนโตรเจนเพนทอกไซด์

ดังสมการ (1)

จากสมการ (1) ได้ว่า อัตราการเกิด NO2 เป็นสองเท่าของ อัตราการสลาย N2O5 และเป็นสี่เท่าของอัตราการเกิด O2

หรือเขียนเป็นสมการคณิตศาสตร์ :