ระบบขับถ่ายของคนและสัตว์
การลำเลียงสารในร่างกายของสัตว์
การลำเลียงสารในร่างกายของคน
ระบบน้ำเหลืองและภูมิคุ้มกัน
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต
การรับรู้และการตอบสนองด้วยระบบประสาท
อวัยวะรับความรู้สึก
ฮอร์โมนและอวัยวะสำคัญที่เกี่ยวข้องกับต่อมไร้ท่อ
พฤติกรรมของสัตว์

ระบบหายใจและโครงสร้างการแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์

ยอดวิว 69.2k

แบบฝึกหัด

EASY

ระบบหายใจและโครงสร้างการแลกเปลี่ยนก๊าซของสัตว์ (ชุดที่ 1)

HARD

ระบบหายใจและโครงสร้างการแลกเปลี่ยนก๊าซของสัตว์ (ชุดที่ 2)

เนื้อหา

ระบบหายใจและโครงสร้างการแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์

ในสัตว์แทบทุกชนิดต้องมีการใช้พลังงานจากการสลายโมเลกุลอาหาร ซึ่งในกระบวนการย่อยสลายนั้นจำเป็นต้องใช้แก๊ส Oและได้ของเสียในรูป CO2

ดังนั้น การแลกเปลี่ยนแก๊สจึงจำเป็นเพื่อให้ร่างกายหรือเซลล์นั้นยังคงทำงานได้ตามปกติ โดยการแลกเปลี่ยนแก๊สนั้นจะแตกต่างกันไปในสัตว์แต่ละชนิด ด้วยถิ่นที่อยู่อาศัย และกลไกโครงสร้างของร่างกาย 


ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

เช่น อะมีบา พารามีเซียม ยูกรีน่า จะใช้การแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง


ในสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อาศัยในน้ำที่ยังไม่พัฒนาระบบไหลเวียนเลือดนั้น

ก็ใช้การแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านทางเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรงเช่นกัน และจะแพร่แก๊สนั้นผ่านแต่ละชั้นเซลล์ สัตว์กลุ่มนี้จึงมีขนาดเล็ก ชั้นเซลล์มีไม่มาก เช่น ไฮดร้า ฟองน้ำ พานาเรีย เป็นต้น


ในสัตว์บกกลุ่มที่มีระบบไหลเวียนเลือดแล้ว แต่ร่างกายขนาดเล็ก

ก็ยังใช้การแลกเปลี่ยนแก๊สผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ที่เปียกชื้น เช่น ไส้เดือนดิน โดยแก๊สจะแพร่จากเซลล์ผิวเข้าไปยังหลอดเลือดภายในก่อนจะลำเลียงแก๊สไปทั่วร่างกายผ่านระบบเลือด


ในสัตว์ที่ร่างกายใหญ่ขึ้น

ความซับซ้อนของการแลกเปลี่ยนแก๊สก็เพิ่มขึ้น โดยเซลล์ในร่างกายจะไม่สัมผัสกับแก๊ส O2 โดยตรงแต่จะมีอวัยวะพิเศษที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส เช่น เหงือก ท่อลม ปอด ก่อนจะลำเลียงแก๊สต่าง ๆ เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด โดยอวัยวะเหล่านี้จะมีลักษณะร่วมกันคือ ผิวบาง เปียกชื้น มีพื้นที่ผิวมาก พอกับความต้องการของร่างกาย และมีระบบเลือดมาเกี่ยวข้องด้วยในสัตว์หลายชนิด

พื้นผิวที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ (Respiratory Surface) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้

  • มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ เนื่องจากก๊าซที่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปได้จำเป็นต้องอยู่ในรูปของสารละลาย
  • มีเยื่อหรือมีผนังบาง เพื่อให้ก๊าซสามารถแพร่ผ่านเข้าและออกได้ง่าย
  • มีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก
  • มีพื้นที่ผิวสัมผัสมาก

ในแมลง ที่หายใจบนบกนั้น

มีการพัฒนาระบบท่อลม (Trachea) ขึ้น เพื่อกระจายแก๊สจากภายนอกเข้าสู่ภายในร่างกาย ผ่านทางท่อลมที่แยกย่อยและแทรกเข้าไปในระบบเนื้อเยื่อทุกส่วนของแมลง แต่ในแมงมุมจะพัฒนาโครงสร้างพิเศษแทนที่ระบบท่อลมคือ book lung  ที่มีลักษณะพับซ้อนไปมาเป็นแผงที่มีระบบเลือดมาเลี้ยง ดังภาพ


ภาพประกอบที่1 

ที่มา : https://classconnection.s3.amazonaws.com/38/flashcards/1293038/png/insect_trachea1336075238052.png)


ในสัตว์น้ำ 

สัตว์ที่อาศัยในน้ำนั้นจะได้เปรียบกว่าสัตว์บก เนื่องจากอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊สนั้นชุ่มชื้นเสมอ แต่ในน้ำนั้นมี O2 ละลายน้อยกว่าบนบกมาก (O2 ละลายในน้ำได้ราว 0.5%) ทำให้ระบบการแลกเปลี่ยนแก๊สนั้นต้องพัฒนาให้น้ำไหลผ่านได้ดี

ส่วนใหญ่จึงมีลักษณะเป็นซี่ เรียงตัวเป็นชั้นบาง ๆ น้ำจึงไหลผ่านได้ดีที่สุด เช่น เหงือกของปลา เหงือกกุ้ง ปู และ มักมีโครงสร้างที่ช่วยในการเพิ่มการไหลเวียนน้ำผ่านโครงสร้างแลกเปลี่ยนแก๊สด้วย เช่น การขยับปากและแผ่นปิดฝาเหงือกไปเป็นจังหวะเพื่อให้น้ำสามารถไหลผ่านเหงือกได้ตลอดเวลา หรือ ในฉลาม ก็จะว่ายน้ำตลอดเวลาเพื่อให้น้ำผ่านเหงือกตลอดเวลาเช่นกัน

รวมถึงทิศทางการไหลของเลือดในเส้นเลือดฝอยที่ผ่านเหงือกจะสวนทางกับกระแสน้ำที่ไหลผ่าน เรียกว่า Counter current exchange เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยน O2 และ CO2 ได้มากที่สุด ดังภาพด้านล่าง

ภาพประกอบที่ 2 

ที่มา : https://www.scimath.org/article-science/item/6657-2016-09-11-03-45-22


ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

ระบบหายใจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายในวัยอ่อนที่อาศัยในน้ำ เป็นตัวเต็มวัยที่อาศัยบนบก ในวัยอ่อนใช้เหงือกที่มีลักษณะคล้ายเหงือกปลาในการหายใจ และเหงือกจะลดรูปไปแล้วพัฒนาปอดขึ้นมาแทนเพื่อใช้หายใจบนบก

ปอดของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ ยืดหยุ่น นอกจากสัตว์กลุ่มนี้จะใช้ปอดในการหายใจแล้วยังสามารถใช้ผิวหนังในการหายใจได้อีกด้วย เนื่องจากผิวหนังบาง ชุ่มชื้น และมีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก

ในสัตว์เลื้อยคลาน 

ซึ่งเกิดและเจริญเติบโตบนบก โครงสร้างในการหายใจจึงเป็นปอดเท่านั้น โดยการหายใจจะใช้กล้ามเนื้อบริเวณช่องท้องช่วยในการเพิ่มและลดความดันในปอดเพื่อให้อากาศไหลเข้าออกได้


ในสัตว์ปีก

ระบบการหายใจจะซับซ้อนที่สุด เนื่องจากมีถุงลมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเข้ามามีส่วนร่วมในระบบหายใจ โดยอากาศที่หายใจเข้าจะไปที่ถุงลมด้านหลัง และดันอากาศจากถุงลมด้านหลังปอดไปยังถุงลมด้านหน้า

เมื่อนกหายใจออก อากาศจะถูกดันจากถุงลมด้านหลังเข้าสู่ปอด และอากาศจากถุงลมด้านหน้าจะถูกขับออกจากร่างกาย ทำให้การหายใจเข้าออกหนึ่งครั้ง นกสามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้ถึงสองครั้ง

ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

การหายใจจะใช้ปอดเป็นอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส
ที่ประกอบด้วยชิ้นกระดูกอ่อนที่เรียงตัวเป็นท่อยาว ก่อนถึงปอด การหายใจเข้า อากาศจะผ่านคอหอย
(Pharynx) ลงกล่องเสียง (Larynx) และ สายเสียง (Vocal cord) ลงสู่ท่อลม (Trachea) และแยกเข้าสู่ท่อลมย่อย (Bronchi) และท่อลมฝอย (Bronchiole) ก่อนเข้าสู่ถุงลมภายในปอด (Alveolus) ที่ใช้กระบังลมและกล้ามเนื้อซี่โครงช่วยในการหายใจ

    

ทีมผู้จัดทำ