การเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การใช้แผนที่

ยอดวิว 49.6k

แบบฝึกหัด

EASY

การใช้แผนที่ (ชุดที่ 1)

HARD

การใช้แผนที่ (ชุดที่ 2)

news

การใช้แผนที่

เนื้อหา

การใช้แผนที่

แผนที่ คือ

การถ่ายทอดลักษณะของพื้นผิวพิภพและสิ่งที่ปรากฏบนพื้นผิวพิภพ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ลงบนวัสดุแบนราบที่เหมาะสมตามมาตราส่วนที่ต้องการ โดยคงความเหมือนจริงด้านตำแหน่งที่ตั้งและการใช้สัญลักษณ์ที่เหมาะสม

        แผนที่แบ่งออกได้หลายชนิดหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับว่าใช้อะไรเป็นเกณฑ์ โดยทั่วไปนิยมแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. แผนที่ภูมิประเทศ

        เป็นแผนที่แสดงลักษณะทั่วไปบนภูมิประเทศทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ทะเล และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น หมู่บ้าน โรงเรียน ถนน ทางรถไฟ แผนที่ภูมิประเทศแสดงความสูงต่ำของพื้นที่ด้วยเส้นชั้นความสูง (contour line) และหมุดระดับ (bench mark) จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร นิยมใช้กันมาก คือ แผนที่มาตราส่วนเล็ก ขนาด 1:250,000 และแผนที่มาตราส่วนใหญ่ ขนาด 1:50,000 ซึ่งแผนที่ทั้งสองจัดทำขึ้นจากข้อมูลที่ได้จากรูปถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม จึงได้ข้อมูลที่ปรากฏอยู่บนผิวโลกที่ถูกต้อง มีจุดพิกัดภูมิศาสตร์ที่อ้างอิงได้ จึงใช้เป็นแผนที่ที่มีความนิยมนำไปใช้งานเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในงานสาขาอื่น ๆ เช่น การสร้างถนน การสร้างเขื่อน การสร้างเมืองใหม่ การป้องกันอุทกภัย เป็นต้น

2. แผนที่เฉพาะเรื่อง

เป็นแผนที่ที่จัดทำเพื่อแสดงข้อมูลหลักเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น แผนที่ประชากร แผนที่ธรณีวิทยา แผนที่ป่าไม้ แผนที่ท่องเที่ยว เป็นต้น


มาตราส่วนของแผนที่

        มาตราส่วนของแผนที่มีผลต่อการแสดงรายละเอียดของข้อมูล

แผนที่มาตราส่วนเล็ก เช่น ขนาดมาตราส่วน 1:1,000,000 1:500,000 หรือ 1:250,000 มักจะไว้ใช้แผนที่ที่ต้องการแสดงผลข้อมูลในภาพกว้าง เช่น แผนที่ประเทศไทย แผนที่ท่องเที่ยวรายจังหวัด แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทย แผนที่ธรณีวิทยารายจังหวัด แผนที่ทางเส้นทางคมนาคม
ส่วนแผนที่มาตราส่วนใหญ่ เช่น แผนที่มาตราส่วน 1:50,000 หรือ 1:4,000 มักใช้ในแผนที่เฉพาะเรื่องที่เฉพาะเรื่องที่เป็นเชิงวิชาการ เช่น แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนที่ธรณีวิทยาแหล่งแร่เฉพาะแหล่ง ตลอดจนแผนที่ชุมชน

        มาตราส่วนแผนที่เป็นการแสดงอัตราส่วนเปรียบเทียบระยะทางที่วัดได้บนแผนที่ 1 หน่วย กับระยะทางที่วัดได้จริงบนภูมิประเทศ เช่น มาตราส่วน 1:50,000 แปลว่า ถ้าวัดระยะทางในแผนที่ได้ 1 เซนติเมตร จะเท่ากับระยะทางจริงบนแผนที่ 50,000 เซนติเมตร หรือ 500 เมตร นั่นเอง


องค์ประกอบแผนที่

        1. ชื่อชุดของแผนที่และมาตราส่วน (Series Name and Scale) จะปรากฏอยู่ ณ มุมซ้ายด้านบนของแผนที่ คือ ประเทศไทย มาตราส่วน 1:50,000

        2. ชื่อระวางแผนที่ (Sheet Number) คือ บ้านภูมิซรอล โดยชื่อจะตั้งตามลักษณะเด่นหรือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่สำคัญของแผนที่

        3. หมายเลขแผ่นระวาง (Sheet Number) แสดงอยู่มุมขวาด้านบนและมุมซ้ายด้านล่าง หมายเลขประจำระวางเขียนด้วยตัวเลข 4 ตัว โดยตัวเลข 2 ตัวแรกนับจากตะวันตกไปทางตะวันออก และสองตัวท้ายนับจากใต้ขึ้นเหนือ โดยตัวเลขเกิดจากดารนำระบบพิกัดกริด UTM มากำหนดใช้

        4. เลขหมายประจำชุด (Series Number) แสดงอยู่มุมขวาด้านบนและมุมซ้ายด้านล่าง โดยหมายเลขชุดบอกภูมิภาค มาตราส่วน ภูมิภาคย่อยและลำดับการทำแผนที่ชุดนั้นในภูมิภาค

        5.มาตราส่วนและมาตราส่วนบรรทัด (Map Scale and Bar Scale) แสดงอยู่กึ่งกลางระหว่างตอนล่างและมุมซ้ายตอนบน มาตราส่วนจะแสดงอัตราส่วนของระยะทางในแผนที่เทียบกับระยะทางจริงของแผนที่  โดนมาตราส่วนบรรทัดสร้างขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการคำนวนระยะทางในแผนที่เทียบกับระยะทางจริง

        6. คำอธิบายสัญลักษณ์ (Legend) คำอธิบายสัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนที่อยู่ทางด้านล่างซ้าย คำอธิบายสัญลักษณ์มีความหมายเพื่อแทนสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนพื้นโลกและนำมาแสดงไว้ในพื้นที่

        7. ตัวเลขบอกค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ ใช้ในการบอกตำแหน่งหรือขอบเขตสิ่งที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก


เส้นชั้นความสูง

        การพิจารณาลักษณะภูมิประเทศจากเส้นชั้นความสูง

เส้นความสูงชัน
ถ้ามีเส้นเป็นวงกลมซ้อนกันหลาย ๆ วง
แสดงว่าเป็น ภูเขายอดแหลมหรือเนินเขาโดด
ถ้าซ้อนกันแบบถี่ ๆ ชิดติดกัน
แสดงว่ามีความสูงชันมาก
ถ้าเส้นความสูงเป็นวงยาว ๆ
ซ้อนกันแสดงว่า ยอดเขาเป็นสันยาว
ถ้ายอดเขามีเส้นชั้นความสูงเป็นวงใหญ่ ๆ
และทางเชิงเขามีเส้นชั้นความสูงชิดกัน
แสดงว่าเป็นภูเขายอดตัดที่มีขอบชัน
หรือที่ เรียกกันว่า “ภู” เช่น ภูกระดึง